วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ที่มาโครงการ"หนังสือเสียง"



สิ่งหนึ่งที่มักจะค้างคาใจดิฉันตามประสาคนช่างสงสัยคือ ลิ๊งค์ที่มีประโยชน์เมื่อถูกแชร์ต่อๆ จะมีกี่คนกันนะที่ลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง ที่เห็นส่วนใหญ่คือการคลิก 'like' จากสถิติลิงค์ดีๆมักได้รับการแชร์ต่อ แต่การช่วยเหลือหรือการลงมือทำยังน้อย

อืม ...แล้วทำไมดิฉันต้องเป็นกลุ่มคนนั้นๆที่ปล่อยให้โอกาสการทำดีผ่านไป ทั้งๆที่มันไม่ยาก แค่ใส่ใจและเก็บมาต่อยอดก็น่าจะทำอะไรดีๆเพื่อสังคม และถือเป็นโอกาสการให้ของขวัญปีใหม่กับคนที่อาจจะด้อยโอกาสกว่าเราได้

เมื่อเดือนพฤศจิกายน เพื่อนแชร์ลิ๊งค์เรื่อง โครงการปั้นฝันด้วยพลังเสียง: Read for the blind มาให้ดิฉันก็ยังลังเลเล็กน้อย เนื่องจากอ้างกับตัวเองว่างานล้นมือ  แต่ความรู้สึกเรื่องการอ่านหนังสือเสียงก็ยังติดอยู่ในหัว เนื่องจากเคยอ่านหนังสือเสียงเมื่อหลายปีก่อน(สมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยี smart phone มาเป็นตัวช่วย) แล้วก็พบว่าดิฉันได้เรียนรู้หลายๆอย่างจากการอ่านหนังสือเสียงทั้งเรื่องการอ่านให้ชัดเจน ความอดทนที่ต้องอ่านให้จบเล่ม และหากเสียงออกมาไม่ดีก็ต้องลบแล้วลบอีก แต่เมื่ออ่านจบ 1 เรื่องก็ภูมิใจกับผลงานมากๆมาจนถึงทุกวันนี้

ตอนนี้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การอ่านหนังสือเสียงเป็นเรื่องง่ายขึ้น ดิฉันก็มาเริ่มคิด(ใหม่)และตั้งคำถามว่าหากชวนนิสิตวิชาการอ่านเข้าร่วมโครงการ ให้ด้วยการอ่าน นิสิตจะเอาด้วยไหมนะ

ดิฉันอยากให้นิสิตใช้เทคโนโลยี smart phone อย่างสร้างสรรค์และทำอะไรดีๆด้วยจิตอาสาเพื่อสังคม และเอกอังกฤษยังไม่ค่อยทำอะไรลักษณะนี้มาก่อน น่าจะเป็นการดีหากพวกเราได้ทำความดียกแก๊ง

เอาล่ะ! พร้อมแล้ว งั้นต้องเริ่มด้วยการเข้าไป Facebook ของ read for the blind เพื่อต่อยอดและหาข้อมูลมาเล่านิสิต ที่นี่มีคลิปการอ่านหนังสือเสียงแบบง่ายๆไว้ด้วยนะ เอาไว้ให้มือใหม่ได้ศึกษา

เช้าวันรุ่งขึ้นดิฉันให้น้องปุ๊ เลขานุการสาขาภาษาตะวันตกช่วยสอนการโหลด application ให้และเมื่อเข้าห้องเรียนวิชาการอ่านทั้งสองกลุ่ม ดิฉันก็ประชาสัมพันธ์โครงการนี้กับลูกศิษย์ โดยเปิดคลิปความยาวสี่นาทีเรื่องการอ่านหนังสือเสียง และเปิดนิทาน หมูยอดกตัญญูกับหมูรัฐมนตรี ที่อดีตนิสิตทำไว้ให้เป็นตัวอย่าง

การได้ทุนไปอเมริกาก็มีผลกับความคิดในหลายๆเรื่องของดิฉันมากขึ้น เช่น เมื่อเข้าห้องสมุดของอเมริกา โดยเฉพาะตอนที่ไปห้องสมุดประชาชน Schlow Central Region Library, Penn State University ดิฉันเห็นหนังสือเสียงเยอะมาก และที่ร้านหนังสือทั่วไปของอเมริกาก็มีการขาย audio book เป็นเรื่องเป็นราว มันทำให้ดิฉันรู้สึกว่าคนตาบอดที่นี่มีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และโอกาสดีๆในชีวิตมากกว่าที่ไทย เพราะผู้คนที่นี่รวมทั้งรัฐบาลใส่ใจความเป็นอยู่ของผู้พิการทางสายตา หนังสือเสียงที่นั่นมีหลากหลาย ทุกประเภท ตอนนั้นดิฉันยังยืมมาฟังเพื่อฝึกทักษะการฟังให้ชินกับสำเนียงอเมริกัน นับว่าได้ประโยชน์ทั้งคนตาดีและพิการทางสายตา

โชคดีที่เมื่อพี่ปูนบอกว่าให้ส่งงานเขียนของนิสิตไปภายในสิ้นเดือนพย. สี่สาว (สุปรียา ปวีณ์นุช ธัญสุตา และ จุรีรัตน์) ทำหนังสือนิทานเสียงเสร็จแล้ว เราเลยรีบส่งข้อความไปให้เขียนแชร์ประสบการณ์ด่วน เพื่อเราจะได้ส่งต่อไปให้พี่ปูน

สี่สาวทำงานอย่างรวดเร็วและส่งมาให้เราภายใน 2/12/56



ข้างล่างเป็นอีเมลส่งหาฟุลไบรท์

Dear P' Fulbright,

Regarding my 'Reading for the Blind Project' that I've done recently, my 4 students were assigned to write their experience of making an audio book. Happily, they shared their fun moment of making it with friends and how they worked in a team to complete their task. Please read.  Hopefully, even the deadline for Fulbright booklet / e-booklet's over, these might be shared to inspire other Fulbrighters to do this project to help those vision-impaired & to show that we Fulbright care :).

P'Poon -- Please feel free to edit/ cut some part of the essays that might be too long. 

-------------------


1 ความคิดเห็น:

  1. ดีใจที่มีส่วนเล็กๆในการจุดประกายให้เกิดการทำดีครั้งนี้

    ตอบลบ