วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เบื้องหลังงานผีๆ : Halloween Party 2020

 





ผีไทยน่ากลัวไม่แพ้ชาติใด :TSU Eng.major Halloween Party

Event สุดท้ายของเทอม 1/63 กว่าจะจัดงานวันนี้ได้ คิดกันมาหลายอย่าง

จัดที่ลานปู่เลียบ หน้าสุสาน ดีไหม เอาสักเที่ยงคืน !
(ไม่ต้องตกใจ ตัวเลือกนี้ตัดไปเพราะเป็นช่วงหน้าฝน จัดๆ เดี๋ยวไฟช๊อต อาจกลายเป็นผีจริง:)





 




งานนี้ตรงกับการเลือกชมรมของนิสิต(ถนนกิจกรรมตอนช่วงเย็น-ค่ำ) ทำให้นิสิตต้องแต่งตัวกันตั้งแต่เย็น และไปเข้าร่วมงานแบบผีๆ เป็น talk of the town เพราะไม่มีเวลาแต่งตัวแล้ว เพื่อนๆปี 1 มีงง "จะไปไหนกัน" แต่เอกอังกฤษ(ต้องมั่นใช่ไหม) I don't care ( จริงๆแล้ว คงแอบเขิน แต่ ณ นาทีนี้ต้องไม่แพ้เพื่อนผีๆที่มาร่วมงานคนอื่น และเราบอกแล้วว่าไม่แต่งเป็นผี ไม่เปลี่ยนรูป FB profile ไม่อนุญาตให้เข้างาน (แอบโหด แต่เรารู้ว่านิสิตจะทำ เพราะ build อารมณ์กันมาเป็นเดือนๆ หลังจากเรียนเรื่อง mystery and crime scene investigator (CSI)
ตอนแรกกะว่าจะให้นิสิต run งานเอง แต่เพราะพวกเขามีการบ้าน งานเยอะในช่วงท้ายๆของเทอม เราเลยจัดเอง โดยชวนเพื่อนร่วมงานผู้ใจดี ทำกิจกรรมพัฒนานิสิตร่วมกันบ่อยๆ หากขอแรง & เวลา ไม่เคยปฏิเสธ ขอบคุณ Irish, Erika, Sterling และแขกรับเชิญครอบครัวอเมริกัน 5 คน + Martyn เพื่อนออสเตรเลีย ก็มาสร้างบรรยากาศผีเทศในงาน



พิธีกรเอกของงาน Double Golf ที่เขียนบทและมาฝึกซ้อมก่อนงานจริง ถือเป็นการซ้อมการเป็นพิธีกรแบบโปรๆไปพลางๆ
------------
จัดงานนี้ยังไม่ตื่นเต้น ใจเต้นแรง เท่ากับตอนที่ใช้นิ้วมือแสกน แล้วไม่ผ่าน ประตูเปิดไม่ได้!
Oh, No! อย่าทำอย่างนี้ ไม่ได้จะนอนในตึกน๊า...
โชคดีที่ Irish ซึ่งนั่งรออยู่ข้างนอกมาแสกนเปิดประตูให้ โล่งไป!
Such a relief.
*ฝนตกวันลอยกระทงทุกปี และปีนี้ก็เช่นกัน บรรดาผีๆเลยไม่ได้ไปลอยกระทงขัน ( องค์การนิสิตขายกระทงขัน 39 บาท เพื่อหาเงินไปทำบุญโรงเรียนส่งเสริมปัญญา ห้าแยก)
ขอบคุณภาพสวยๆจากโจ (พี่เมทสนุ๊ก) ที่มาช่วยถ่ายรูปให้อย่างงงๆ เลยโดนจับแต่งผีด้วยซะเลย


Sat. 31/10/2020

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

When friendship begins: ห้องอาหารนกนางนวล

 ห้องอาหารนกนางนวล: When friendship begins (1) 

ความสัมพันธ์ของคนเราเริ่มได้หลายที่ อาจเป็นโรงเรียนเก่า ที่ทำงาน หรือในชุมชน หรือต่างแดน

เรื่อง"ห้องอาหารนกนางนวล" มิตรภาพเริ่มต้นจากการเป็นคนชาติเดียวกัน มาอยู่ในที่ต่างถิ่นฟินแลนด์ ดินแดนขึ้นชื่อเรื่องการศึกษาที่ดีเยี่ยม ผู้หญิง 3 คน บินมาไกลจากญี่ปุ่น เพื่อเริ่มต้นใหม่ สร้างความมั่นใจ(ใหม่)ให้ตนเองว่าจะสามารถอยู่ด้วยตนเองได้ 

"ซาจิเอะ" เจ้าของห้องอาหารนกนางนวล มีความคิดแบบคนรุ่นเก่าว่าหากร้านอาหารดี คนจะบอกต่อและมาเอง ถึงแม้ช่วงแรกๆจะมีแต่คนท้องถิ่นมาเมียงมองแต่ไม่เข้ามาในร้าน(สักที) เธอก็อดทนรอ 

ระหว่างที่รอ มิตรภาพก็มาเยี่ยมกราย โดย"มิโดริ" สาวญี่ปุ่นอีก 1 คน ทีี่ใช้วิธีประหลาด(แต่น่าลองทำดูสักครั้ง) ด้วยการจิ้มประเทศที่อยากมาเยือน และประเทศนั้นคือ "ฟินแลนด์"! 

เมื่อยามไกลบ้าน มิตรภาพก่อตัวได้ง่าย โดยเฉพาะยามเมื่อเจอคนชาติเดียวกัน ทั้ง 2 คนมีเพื่อนไว้คลายเหงา และไว้ปรึกษาหารือ มิโดริช่วยเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ให้กับซาจิเอะ ซึ่งยังคงความคิดเดิมๆ เห็นได้จากการบอกใ ห้เพื่อนลองทำข้าวปั้นแนวใหม่ที่ใส่ความเป็นท้องถิ่นลงไปในไส้ของข้าวปั้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีแต่ปลาแซลมอน สาหร่ายคอมบุ บ๊วยดอง เท่านั้น เธอบอกว่าน่าจะลองใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่นกุ้งเครย์ฟิช ครีมมายองเนสเพราะคนฟินแลนด์ชื่นชอบครีม) 

 นี่สินะที่เรียกว่า "เพื่อนกันควรมีส่วนผสมที่แตกต่าง" เธอนิสัยอย่างนั้น ชั้นชอบอย่างนี้ แต่เราก็เป็นเพื่อนที่ดียอมรับฟังกันได้ 

ทั้งสองคนไม่รู้สึกเหงาอีกต่อไป

ตัวละครตัวสุดท้าย "มาซาโกะ" เข้ามาช่วยเพิ่มบรรยากาศของร้านนกนางนวลให้ดูคึกคักขึ้น เมื่อกระเป๋าเดินทางไม่มาพร้อมกับสายการบิน ทำให้เธอต้องมาแกร่วรออยู่ที่ร้าน และได้มีเวลาพูดคุยกับทั้ง 2 สาว จนกลายเป็นเพื่อนกัน และช่วยงานในร้าน

ความน่ารักของเรื่องนี้คือการมองคนญี่ปุ่นจากสายตาชาวฟินแลนด์ ที่คิดว่าซาจิเอะ ซึ่งตัวเล็ก น่าจะยังเป็นแค่เด็กหญิง แล้วทำไมเด็กหญิงมาอยู่คนเดียวในร้าน มันได้เหรอ พวกเขาซุบซิบและมีคำถาม ห้องอาหารเลยมีชื่อว่า "ห้องอาหารเด็กน้อย"ในช่วงต้น 

ซาจิเอะ โชว์ความเล็กพริกขี้หนู ด้วยการจัดการกับโจรที่ต้องการปล้นร้านของเธอด้วยศิลปะป้องกันตัวที่ฝึกมาตั้งแต่เยาว์วัยถึงขั้นเป็น champ! 

เรื่องราว feel good จบลงที่มาซาโกะตัดสินใจอยู่ฟินแลนด์ต่อ 3 สาวเลยมีความสุขที่มีเพื่อนให้อุ่นใจและช่วยกันทำงาน สุขใดไหนเท่ามีเพื่อนดีๆใกล้ตัว 

---------------------------

 ห้องอาหารนกนางนวล: When friendship begins (2) 

มิตรภาพของฉันและเธอก็เริ่มจากเรื่องนี้เหมือนกันนะ เธอ บ.ก.คนใหม่ (ที่สถาปนาตัวเอง) ยื่นหนังสือเรื่องนี้มาให้ บอกให้เอาไปอ่านและ review! 

เพื่อนคงเห็นว่าเรางานน้อย หรือเห็นว่าเราดูเหมือนว่าง ทั้งที่เรามักเล่ากิจกรรมร้อยแปดพันเก้าที่ทำ แต่เพื่อนบ่ได้สนใจ เพิ่มงานให้ซะงั้น 

นั่นเลยเป็นที่มาของ"นกนางนอน"อย่างเราที่ต้องทำตามใจเพื่อน (เป็นเพื่อนที่ดีก็งี้:) 

5 วันเป๊ะ เราก็อ่านหนังสือเล่มนี้จบ เย้! พร้อมกับความรู้สึกว่าการเป็นเพื่อนบางทีก็คงต้องคล้อยตามกันไป (เหมือนหัวอ่อน อิๆ) 

-----------

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

โลกกว้างของนกนางนวล

 

*หลังจากอ่านไปแค่ครึ่งทาง

เมื่อเพื่อนยื่นหนังสือ "ห้องอาหารนกนางนวล" พร้อมสั่งการบ้านอดีตบ.ก.(?) อย่างเรา ซึ่งโดนลดตำแหน่งมาเป็นสามัญชนคนธรรมดาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ  เราก็เอานิยายเรื่องนี้ใส่กระเป๋าเดินทางระหว่างบ้าน-มาที่ทำงานแทบทุกวัน เป้าหมายคืออ่านให้จบภายใน 1 สัปดาห์! 




เห็นหน้าปกแล้วอดแปลกใจที่เพื่อน(ชาย) อ่านหนังสือแนวนี้ มันดูละมุนละไมแบบหนังสือที่ติ่งญี่ปุ่นวัยรุ่นผู้หญิงน่าจะอ่านกัน 

อ๊ะ...เราคงมองเพื่อนผิดไป เพราะเมื่อได้เปิดอ่าน มันกลับทำให้เรารู้สึกว่าเรื่องนี้ชวนคิด และคิดตามไปกับกรอบสังคมของผู้หญิง โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น ที่ตัวละครในเรื่องใช้ชีวิตเรียบเรืี่อยไปวันๆ ตามที่สังคมกำหนด(ว่าดี) จนเมื่อพวกเธอลุกขึ้นมาปฏิวัติตนเอง ก้าวขาออกจากประเทศ(กรอบ)ที่ตนคุ้นเคย มายังที่แปลกใหม่ เรียกว่าเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่เลยทีเดียว เพราะเธอไม่ได้ก้าวข้ามแค่ออกจากสังคมเดิม แต่ตัดสินใจมาอยู่ที่ใหม่ ที่ๆเธอต้องปรับตัวมากกว่าเดิม 

ซึ่งนั่นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำความสุขมาให้พวกเธอ 

1 คน กล้าเปิดร้านอาหารในฟินแลนด์

1 คน กล้าที่จะจิ้มประเทศบนแผนที่และตัดสินใจที่จะไปยังประเทศนั้น ! (อยากกล้าทำแบบนั้นบ้างจัง) 

ภาพปกทำให้เรานึกถึงนกที่อิสระ มีเสรีภาพ บินไปตามใจฝัน พวกเธอก็น่าจะอยากเป็นแบบนั้น เพียงแค่ได้ทำตามฝัน หนทางข้างหน้าเป็นอย่างไร ก็ดำเนินกันไป เดี๋ยวมันก็ดีเอง เหมือนเพลงโปรดของเรา Something Good (วงนั่งเล่น) 

"Every day may not be good, but there is something good in every day."

เราว่าพวกเธอมีทัศนคติการมองโลกแบบนั้น 

ใครที่ได้อ่านเรื่องนี้จนจบ เราว่าน่าจะอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากชีวิตน่าเบื่อ น่าจะเกิดแรงบันดาลใจยุบยิบในใจ เผลอๆ อาจจะมีคนคว้ากระเป๋าออกเดินทางกันเลยทีเดียว :) 

                                                                                                                        23 Oct.2020

 


วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ดวงดาวของฉันและเพื่อน





พุธนี้มีสอน 1 วิชา Basic Eng. for Daily Life และช่วงเย็นจัดงานปาร์ตี้เพื่อให้อาจารย์และนิสิตต่างชาติ*ในมหาลัยได้ทำความรู้จัก คุ้นหน้าคุ้นตากันไว้ งานอีกอย่างหนึ่งของเรานอกจากจะต้องหากิจกรรม ความร่วมมือกับต่างชาติ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ/ วัฒนธรรมนานาชาติให้นิสิตแล้ว ก็ยังบวกรวมกับการดูแลอาจารย์/นิสิตต่างชาติ เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าอยู่ในมหาลัยได้อย่างมีความสุข ไม่ติดขัด

เป็นอีก 1 พุธ ที่งานยาว และมีเราเป็นหลัก ... 

ถึงเราชอบงานแบบนี้ รวมทั้งการจัด event มาก แต่การได้อยู่นิ่ง ๆ เป็นบางช่วง และไปตามที่เพื่อนแนะ ในที่ ๆ อยากไป ก็น่าจะทำให้ชีวิตมีอีกด้าน (ไหม) 

ว่าแล้วก็ต้องกิจกรรมนี้...

ดูดาว ...กิจกรรมที่ถ้ามีความรู้เรื่องดาวมาก่อนสักหน่อย จะดูเพลินมาก ไปดูดาวครั้งนี้ 14 Oct. 2020 รู้สึกเลยว่าความรู้อาจมีน้อยกว่าเด็กประถมๆ ที่ดูดาวรอบเดียวกัน ตอบได้มากกว่าอี๊ก...(ไม่ยอม) 

จำได้ว่าสมัยเรียนประถม มีการสอนเรื่องดาวต่างๆในวิชาสังคมศึกษา เวลาดูดาวตอนกลางคืนวัยเด็ก ทำให้พยายามมองหาดาวต่างๆและพยายามนึกว่ามันคือดาวอะไร "ดาวลูกไก่" "ดาวประจำเมือง" ... ช่วงที่ได้ดูดาวมากๆ น่าจะเป็นตอนเด็กที่ดูหนังกลางแปลง  

จนเมื่อโตมา เรื่องราวในชีวิต กิจกรรมมากมาย ทำให้ลืมว่าเคยชอบดูดาว เวลาดูดาว ตอนเดินเล่นค่ำ ๆ ก็แค่รู้สึกว่ามันสวยดี แต่ตอบไม่ได้เลยว่าดาวดวงนั้น ดวงโน้น คือดาวอะไร (ความรู้เท่าหางอึ่ง อย่างแท้ true) 

ตื่นเต้นๆ เมื่อเพื่อนชวนดูดาว รีบรับคำโดยพลัน และคาดหวังมากว่าจะเห็นดาวเต็มฟ้า หันไปทางไหน ก็ชี้บอกเพื่อนได้ว่ามันชื่ออะไร (กะ  show off อิ ๆ) 

เก้าอี้ดูดาวในหอดูดาว ของสงขลา ต่างกับกทม. ที่ท้องฟ้าจำลอง ที่เคยไปดูเมื่อ 9 ปีก่อน (ก่อนไปอเมริกา) เราว่าเก้าอี้ที่นี่เป็นแบบเอนนอน ในขณะที่ ๆ กทม. น่าจะไม่ต้องเอนนอนขนาดนี้ 55 แต่ว่าเก้าอี้ที่กรุงเทพ ขนาดว่าไม่เอนนอน ก็ทำเอาเราเกือบหลับคาห้องดูดาว (เราในตอนนั้นทั้งที่ควรจะมีความรู้มากแล้ว เมื่อฟังชื่อดาวต่าง ๆ เรารู้สึกว่ามันไม่เข้าหัว ชื่อดาวแปลกๆ ทั้งนั้น จำไม่ได้เลย ) 

ครั้งนี้เราจำได้มากขึ้นนะ อิๆ ถามเพื่อนบ้างไรบ้าง ก็ทำให้พอมีความรู้ติดหัวกลับบ้าน 
ขอบคุณเพื่อนที่ช่วยรื้อฟื้นความทรงจำ และทำให้การดูดาวสนุกขึ้นเมื่อมีอีกคนให้ถาม :) 


Credit: ภาพจาก FB:  NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์