วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Pad Man, Pad Me ผ้าอนามัยซักได้





ดู Pad Man หนังอินเดียเรื่องโปรดตอนนั่งเครื่องไปบัลกาเรียปีที่แล้ว ยังทิ้งสิ่งที่ทำให้เราคิดได้หลายเรื่อง เรื่องนึงคือการใช้ผ้าอนามัย (เน้นคำว่าผ้า ทำไมพวกเราเรียก "ผ้า" มาตั้งแต่รู้จักคำนี้ แต่ว่ามันไม่ใช้ "ผ้า" ไม่ได้ให้เนื้อสัมผัสแบบ "ผ้า" (ย้ำๆ)

เรื่อง Pad Man ผู้หญิงในชนบทยากจนไม่มีเงินซื้อผ้าอนามัยสำเร็จรูป เลยมักใช้ผ้าเก่าๆมารองรับ"ประจำเดือน" และซักเอา ตอนที่ดู เราก็คิดนะว่าจริงๆมันก็ใช้ได้นี่นา ถ้าเมนส์มาไม่เยอะ และก็ดูแนวรักษ์โลกดี ไม่ทิ้งผ้าอนามัยให้เป็นขยะ ช่วยสิ่งแวดล้อม เพราะจำนวนผู้หญิงบนโลกนี้เยอะ แต่ละเดือนก็จะมีขยะจากผ้าอนามัยทิ้งจำนวนมากทั่วโลก หากเราเปลี่ยนมาใช้ "ผ้าอนามัยซักได้" ก็จะช่วยประหยัด ไม่เพิ่มขยะ

ราคาผ้าอนามัยจะว่าไปแพงมาก โดยเฉพาะแบบกลางคืน และแพงตามความยาวของผ้าอนามัย
ตอนมัธยม เราแทบไม่ใช้ยี่ห้อ Whisper เลย ทั้งที่เห็น ads ในทีวีบ่อยมาก ราคาแพ๊งแพง และโชคดีที่เมื่อใช้ เรารู้สึกว่ามันเสียดสี ไม่สบายตัว เลยไม่ชอบยี่ห้อนี้

สมัยมัธยม สิ่งที่จำได้เกี่ยวกับผ้าอนามัยคือ หน้าโรงเรียนมักจะมีผ้าอนามัยแจกฟรี เพื่อให้นร.หญิง ได้ลองใช้ ขนาดที่แจกจะเป็นแบบ 1-2 ชิ้น แต่เราก็จะตื่นเต้นที่จะได้รับ และอยากได้อีก (อิๆ)

หากเมนส์มาที่โรงเรียน สถานที่ๆจะซื้อได้ ก็คือห้องพยาบาล ชิ้นละ 2-3 บ. เดี๋ยวนี้เราเห็นหน้าห้องน้ำผู้หญิงตามโรงเรียน ตามห้าง ก็มีแบบหยอดเหรียญแล้วด้วยนะ 

"ราคาประหยัดไหม "

ผ้าอนามัยซักได้ ราคาค่อนข้างสูง เพราะเย็บมือ ราคาของร้าน sunny cotton ( ซื้อทางออนไลน์) จะอยู่ที่ขนาด M ราคา 210 B.
ขนาด L 250 B.
และขายผ้าซับอนามัย ชิ้น 40-50 B.

รวมแล้วลงทุนซื้อครั้งแรก ก็อาจจะราคาสูงหน่อย แต่ในระยะยาวเราว่าคุ้ม และคุ้มทางใจด้วย ที่ได้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ดูเป็นคน green grean

จุ๋ม ซึ่งมีฝีมือตัดเย็บ หากว่าง เธอก็จะลองนั่งทำดูด้วย เราว่าดี ยุซะเลย เพราะทาง youtube ก็มีสอนนะ และเจ้าของ sunny cotton (ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่) ก็เคยมี workshop สอนทำผ้าอนามัยซักได้

คุณหนูดี วนิษา เรซ ก็เคยเอาเรื่องผ้าอนามัยซักได้มาพูด เธอเป็นคนหัวคิดสมัยใหม่ และรักษ์สิ่งแวดล้อม น่าเอาอย่างนะ

นอกจากผ้าอนามัยซักได้ เดี๋ยวนี้มันมี "กรวยอนามัย" แล้วด้วย ! ซึ่งอันนี้เป็นขั้น advanced เกินไป เราไม่กล้าเอาใส่ในส่วนนั้น (เราใช้คำว่า เดี๋ยวนี้ แต่จริงๆ กระแสกรวยอนามัย สาวๆที่รักษ์สิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ เค้าก็เริ่มมาพักใหญ่ๆแล้ว เคยอ่านคนที่รีวิวการใช้ ว่าทำให้เค้าได้รู้จักร่างกายตัวเองดีขึ้น เพราะต้องคลำๆก่อนใส่ เราว่าสาวฝรั่งเค้าเปิดเผยร่างกาย และเรื่องทาง sex ทำให้การใช้กรวยของเค้า ไม่น่าจะเขินมากเหมือนสาวไทยที่กระมิดกระเมี้ยนกับเรื่องพวกนี้

เรามีข้อสังเกตที่เห็นในห้างที่อเมริกาว่า tampon ผ้าอนามัยแบบสอด (ลักษณะเดียวกับการใช้กรวย) ที่อเมริกามีขาย แบบ ให้เลือกเยอะมากพอๆกับผ้าอนามัย แต่หากเป็นเมืองไทย หากหา tampon เราว่ามันจะตั้งแอบมุม หาไม่ค่อยเจอ (นี่ก็นึกภาพ Tesco สงขลา เราก็ยังนึกไม่ออกว่ามันตั้งอยู่ตรงไหน)

Period.

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563


Death ends a life, not relationship*

                                                 
                                                                                              *quote from 'Tuesdays with Morrie'
9 ปีพอดีที่เราเขียนไว้ใน blog review หนังสือเรื่องนี้ มีความตกใจเมื่อท้ายของ blog เราบอกว่าจะต้องหาเวลาดูหนังเรื่องนี้

ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก นาฬิกาเดินเร็ว จนเราลืมเรื่องนี้
เราคุยกับเก่งเมื่อวันศุกร์เรื่องนี้ เพราะเก่งบอกว่าเพิ่งอ่านจบและชอบเรื่องนี้ เราบอกเก่งว่ามันมีหนังด้วยนะ พอพูดก็นึกได้ว่าเราก็ยังไม่ดู (แฮ่ม)

ไหนๆช่วง COVID 19 ก็มีเวลาแล้ว ดูเลยดีกว่า
ก่อนดู เรามีความคิดว่าเราอยากเปรียบเทียบ 2 เรื่อง คือ Tuesdays with Morrie & the Last Lecture ซึ่งเป็นเรื่องราวทำนองคล้ายๆกัน ใน blog เมื่อ 9 ปีก่อนเราก็เคยพูดถึงสองเรื่องนี้ไว้ใน blog เดียวกัน
นี่ถ้าเขียนบทความวิชาการ ( Academic paper) เรื่องนี้สำเร็จ นั่นหมายถึงว่า
1. เราจะประสบความสำเร็จสองอย่าง คือทำเรื่องที่เคยทำเมื่อ 9 ปีก่อนเสร็จ มีการเอามาต่อยอด
2. เราจะเขียนบทความเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 2 ของปีนี้ หลังจากที่ส่งบทความวิชาการเรื่องแรกไปที่ ม.หาดใหญ่ 20 Apr. เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งที่ 11 ( 17 July 2020)

เมื่อคิดว่าจะเขียนถึงเรื่องนี้ การดูของเราเลยย๊าวๆ เพราะ pause ไป จดไป (เป็นการดูหนังแบบมีสาระมาก อิๆ) เราจดคำดีๆออกมาได้เยอะมาก และอย่างเคยเรื่องแนวนี้ทำเราเสียน้ำตา (นี่เป็นเหตุผลว่าหนังบางเรื่องต้องดูตอนมีเวลา และอยู่ในอารมณ์ดิ่งๆได้)

จากหนัง เรื่องที่คนรู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดถึง ก็จะมี
death / dying

aging / the fear of aging
C:  Aging isn't just decay, you know?  It's growth.
M:  So how come nobody ever says 'Gee, I wish I were old'?
C: Because this culture worship youth.  Me, I don't buy it.

เรื่องนี้กระตุกใจก็ตรงเรื่องการให้ความสำคัญกับการเป็นหนุ่มสาว ในขณะที่ Morrie รู้สึกว่าการแก่ไปตามวัยก็คือการเติบโตอย่างหนึ่ง (น่าจะเพราะวัยมากับประสบการณ์นะเราว่า)

Death talk 
เมื่อความตายเขยิบเข้ามาใกล้ แต่ M รู้สึกไม่สบายใจและหลบเลี่ยงที่จะพูดเรื่องนี้ ครูสอนว่าการไม่พูดถึง ไม่ได้เป็นการรักษาความรู้สึกคนนะ เขาไม่เข้าใจเลยว่าเราจะรักษาความรู้สึกคนทั้งหลายโดยการปฏิเสธ(ไม่พูดถึง)มันได้อย่างไร
Mitch: There is a reason why people don't talk about these things*.  (death*)
Morrie/couch: To spare people's feeling? I never have understand that. How can you spare people's feelings by denying them?
----
If we accept the fact that we can die at any time, we'd lead our lives differently.


วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

China Rich Girlfriend



หลังจากนิยาย Crazy Rich Asians ดังมากจนถูกดัดแปลงเป็นหนัง ซึ่งก็ดังมากอีกเช่นกัน แต่ในหนังอาจขัดใจคนอ่านนิยาย เพราะไม่ค่อยเหลือเรื่องราวให้ลุ้นสักเท่าไหร่ จบแบบ happy ending ไแล้ว ส่วนนิยายยังมีปมหลายปมที่เอาไปเขียนต่อได้อีกหลายเรื่อง

เลยเป็นที่มาของ sequel เรื่องที่สอง China Rich Girlfriend ซึ่งเรากำลังอ่าน และเรื่องที่ 3 Rich People Problem

ต้องขอบคุณ www.z-lib.org ที่ให้ free ebook เยอะแยะมาก ๆ ใส่ชื่อหนังสืออะไรลงไป ก็มีหมด เย้ๆ ดีใจสุดๆ ช่วง COVID ก็จะมีอะไรเพลิน ๆ เวลาอ่านหนังสือแทบจะไม่พอ ตอนนี้โหลดไว้หลายเรื่อง

อาทิ

- China Rich Girlfriend
- May I have your attention, please?  (James Corden)
- Chicken Soup for the Soul: Teacher's Tale
-Chicken Soup for the Soul: College Life
- I've got a point (Ellen Degeneres)
- A Mango Shaped Space

อ่านนิยายของนักเขียน KEVIN KWAN แล้วชื่นชมเขามากที่ทั้งเขียนได้อย่างจิกกัด และแสดงให้เห็นนิสัย ความคิดของคนสิงคโปร์ แถมยังมีภาษาจีนปนๆ และให้ความหมายของคำไว้ ทำให้ได้บรรยากาศของการเขียนเรื่องคนจีน (สิงคโปร์ จีน) ทั้งยังมีเรื่องขนมที่ทำให้เราคิดถึง เช่น Kueh Lapis


เราเก็บศัพท์สำนวนได้เยอะจากเรื่องนี้

ศัพท์เพิ่งรู้
vertigo attack อาการวิ่งเวียน เนื่องจากการหมุนของระบบภายในร่างกาย น่าจะคล้ายๆกับ อาการบ้านหมุน (?)
vertigo = turning

"Alamak, I got the fright of my life! I thought I was getting a vertigo attack when the floor started to turn" แม่พระเอกรู้สึกตกใจเมื่อรถยนต์ถูกยกด้วย lift เพื่อขึ้นมาชั้นสอง เธอไม่รู้ว่ารถจอดอยู่ในลิฟท์

High Society มากๆ บ้านยุคใหม่อย่างแท้ทรู อำนวยความสะดวกกับคนแก่ หรือคนที่เดินขึ้นข้างบนไม่ได้ (จากเรื่อง Calton พี่ชายนางเอกนั่งรถเข็น)

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เมื่อเด็กๆเขียนสมุดพกให้ครูและแม่: สมุดพกคุณครู สมุดพกของแม่




พลาด ๆ ๆ พลาดไปเกือบ 20 ปี ทำไมเราเพิ่งจะคิดอ่านหนังสือวรรณกรรมเด็กดี ๆ แบบนี้นะ (ตีอกชกตัว) 
ในวัยเด็ก เราชอบอ่านวรรณกรรมเด็กมาก ไม่ว่าจะเป็น ห้าสหายผจญภัย เอมิลยอดนักสืบ โต๊ะโตะจัง ฯ 

วรรณกรรมญี่ปุ่นเรายิ่งชอบ และติดใจมากกับเรื่องราวง่ายๆ ซึ้งๆ ภาษาแปลเหมือนเด็กมาเล่าเรื่องให้ฟัง ต้องยกนิ้วให้สนพ.กะรัต และสนพ.ผีเสื้อ ซึ่งเราตั้งใจว่าต่อไปเราจะพยายามอ่านทุกเล่ม

สมุดพกคุณครู 

ที่ยืมจากหอสมุด มาในสภาพของหนังสือเก่าๆสมัยก่อนที่ห่อหุ้มปกแข็งๆ ไม่เห็นสภาพหน้าปกว่าเป็นยังไง แต่สภาพหนังสือจะทนมาก ๆ  หนังสือเรื่องนี้อยู่ในหอสมุดตั้งแต่ปี 2529 ! สมัยที่ยังมีการปั๊มตราด้านหลังว่าใครยืมไปบ้าง ซึ่งสมัยเด็กๆ เรามักจะเลือกหนังสือที่มีคนยืมเยอะๆ เราว่ามันรับประกันว่าอ่านสนุก โดยเฉพาะหากเรื่องนั้นดูไม่น่าสนใจสักเท่าไหร่ แต่หากมีร่องรอยคนยืมเยอะ เราว่ามันคงสนุกประมาณนึงเลยทีเดียว 

(เข้าเรื่อง) สมุดพกคุณครูเป็นเรื่องของดช.วัยประถม ที่ต้องการจะให้คะแนนคุณครูประจำชั้นตอนท้ายเทอม และมีประเด็นมาให้คะแนนคุณครูเรื่อยๆ เช่น เมื่อสังเกตเห็นว่าคุณครูไม่กินแครอต แต่สอนให้เด็กๆกินอาหารให้หมดจาน ทำให้ดช.อยากให้คะแนนคุณครูที่ถึงแม้จะไม่ชอบแครอต แต่ท้ายสุดก็พยายามกิน ในครั้งนี้คุณครูได้คะแนน "เกือบดี" เนื่องจากมีความพยายามกินแครอตเพิ่มขึ้น

เด็กประถมในเรื่องน่ารักมาก อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเหมือนผู้เขียน "ฮิโร มิยาคาวะ" มีความละเอียดอ่อนในการเล่าเรื่อง และสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆมาก ผู้อ่านรู้สึกร่วมไปกับเหตุการณ์ "ขายของที่โรงเรียน" "เลี้ยงไหม" ไปด้วย 

เรื่องนี้ยังแฝงเรื่องความสัมพันธ์กับผู้สูงวัยไว้แบบน่ารักๆ คุณยายเลี้ยงไหม มาช่วยสาวไหมให้เด็กๆดู และวิธีการสอนของคุณครูทำให้เด็กจดจำ เช่น การดึงไหมเพื่อดูความยาวด้วยการให้เด็กๆดึงและเดินไปเรื่อยๆจนกว่าสายไหมจะหมด แทนที่ครูจะบอกว่ามันยาวกี่เมตร ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก เด็กๆยังมีโอกาสได้ทอไหมจากหูกกันทุกคน ผ้าที่ทอออกมา ถือเป็นผลงานของทุกคน เชื่อว่าตอนโต เด็กๆก็จะยังจำเหตุการณ์นี้และผ้าผืนนี้ได้ 

เรื่อง "สมุดพกคุณครู" ยังถูกทำเอาไปเป็นหนังด้วยนะ เราพยายามหาทางยูทูบ แต่หาไม่ได้ เสียดายจัง 
ตอนแรกเห็นปกแครอต ยังคิดสงสัยว่าทำไมใช้แครอตมาขึ้นปก พออ่านไปถึงได้รู้ว่าเพราะคุณครูไม่ชอบกิน จนเกิดเป็นเรื่องราวให้ดช.เตือน และพยายามเก็บเป็นความลับให้คุณครู (น่ารักมาก) 



ต่อจาก "สมุดพกคุณครู" ก็ยังมีเรื่อง "สมุดพกของแม่" ต่อ 
อิๆ เรื่องนี้กำลังอ่านอยูน๊า ...

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Books during COVID 19 lock down: Kill & I Take This Man




เราใช้เวลาช่วง Work from Home (WFH) จัดบ้าน จัดหนังสือ เลี้ยงแมว และอ่านนิยายภาษาอังกฤษจบไป 2 เรื่อง (หลังจากอ่าน Crazy Rich Asians ภูมิใจกับเรื่องนี้มาก เพราะหนามากๆ โชคดีที่พอช่วง COVID หอสมุดขยายการคืนหนังสือออกไปถึงมิย. ทำให้เราอ่านทุกคืน จนจบ หากคืนไปก่อน เราว่าเราคงไม่รู้ว่ามันยิ่งสนุก ตอนท้ายๆ )

1. Kill Alex Cross แนวสืบสวนสอบสวน แต่งโดย James Patterson เราชอบนักเขียนคนนี้มาก เล่มแรกที่อ่านของเค้า คือ Postcard บทสั้นๆ ทิ้งท้ายเรื่องให้คิดต่อ และต้องอ่านบทต่อไปทันที สไตล์การเขียนแบบนี้ชวนลุ้นมากๆ
เค้ามีนิยายออกมาหลายเรื่องมากๆ เรื่องของเค้า มักมีนักเขียนคนอื่นร่วมด้วย แต่เรื่อง Kill เค้าแต่งคนเดียว เมื่อเราเปรียบเทียบ เราว่าการเขียนคนเดียวของเค้า ชวนติดตามมากกว่าเขียนร่วมกับคนอื่น เราคิดว่ามันน่าจะเป็นความท้าทายของผู้เขียน เพราะเขียนเองย่อมง่ายกว่าอยู่แล้ว ไม่ต้องเถียง หรือต่อเรื่องกับใคร

แต่หากเขียนร่วมกับคนอื่น และเขียนให้สนุกด้วยนี่สิ มันอาศัย team work และการทำให้เรื่อง smooth
เค้าได้ชื่อว่าเป็น international best-seller writer ที่นักเขียนคนอื่นน่าจะอยากร่วมมือด้วยมาก เพราะแต่ละเล่ม มักจะมีนักเขียนร่วมไม่ซ้ำชื่อ

และแม้แต่อดีตปธน. Bill Clinton ของอเมริกา ก็ยังเขียนร่วมกับเค้าด้วย The President's Missing! เราเห็นแล้ว wow เลย

เรื่อง Kill เป็นเรื่องของการจับตัวลูกปธน.ไปขังไว้ เหตุการณ์เกิดพร้อมๆไปกับขบวนการก่อการร้ายป่วนเมือง ที่ตัวเอก Alex Cross ต้องแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน อ่านเรื่องนี้เหมือนกำลังดูหนังทางจินตนาการ อิๆ

เราชวนให้หลายคนอ่านเรื่องนี้ แต่ยังไม่มีคนรับไม้ต่อ เลยกะว่าจะบริจาคให้หอสมุดมหาลัย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

2. I Take This Man ( สนพ. The Little Black Dress) เห็นหน้าปกเป็นรูปเจ้าสาว เราคิดว่าไม่ใช่แนวเราแน่ๆ นี่ล่ะที่เค้าเรียกว่า "อย่าตัดสินหนังสือจากปกของจริง " Don't judge a book by its cover" และอย่าคิดไปก่อนว่ามันจะไม่เหมาะ นี่ถ้าไม่ได้อ่าน มีเสียใจที่พลาดเรื่องขำๆไป 1 เรื่องนะเนี่ย

ตอนแรกคิดว่าเป็นความรักแบบหนุ่มสาว แต่เมื่อได้อ่าน มันแบ่งเป็น 2 วัย คือ ความรักรุ่นลูก (23 ปี) และแม่ (45 ปี วัยเราเลย! เป็นแม่ซะแล้ว) plot สนุกดี เมื่อเจ้าบ่าวหนีแต่งงาน เกิด cold feet รู้สึกว่าเจ้าสาวไม่ใช่ ทั้งๆที่รักกัน เมื่อแม่เจ้าสาวรู้เรื่อง เลยตามตัวเจ้าบ่าว และบันดาลโทสะ ตีหัวเจ้าบ่าวจนสลบ และลักพาตัวมาแอบไว้ที่ห้องใต้หลังคา ที่บ้าน ! ... 

เรื่องนี้เราได้มาจากเจ้ย ซึ่งโละหนังสือนิยายภาษาอังกฤษเป็นครั้งคราวให้เราๆได้เมื่อปีที่แล้ว ถ้าไม่เพราะ COVID 19 คงไม่ได้อ่าน

                                                                                                                Fri. 1 May 2020