วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เมื่อเด็กๆเขียนสมุดพกให้ครูและแม่: สมุดพกคุณครู สมุดพกของแม่




พลาด ๆ ๆ พลาดไปเกือบ 20 ปี ทำไมเราเพิ่งจะคิดอ่านหนังสือวรรณกรรมเด็กดี ๆ แบบนี้นะ (ตีอกชกตัว) 
ในวัยเด็ก เราชอบอ่านวรรณกรรมเด็กมาก ไม่ว่าจะเป็น ห้าสหายผจญภัย เอมิลยอดนักสืบ โต๊ะโตะจัง ฯ 

วรรณกรรมญี่ปุ่นเรายิ่งชอบ และติดใจมากกับเรื่องราวง่ายๆ ซึ้งๆ ภาษาแปลเหมือนเด็กมาเล่าเรื่องให้ฟัง ต้องยกนิ้วให้สนพ.กะรัต และสนพ.ผีเสื้อ ซึ่งเราตั้งใจว่าต่อไปเราจะพยายามอ่านทุกเล่ม

สมุดพกคุณครู 

ที่ยืมจากหอสมุด มาในสภาพของหนังสือเก่าๆสมัยก่อนที่ห่อหุ้มปกแข็งๆ ไม่เห็นสภาพหน้าปกว่าเป็นยังไง แต่สภาพหนังสือจะทนมาก ๆ  หนังสือเรื่องนี้อยู่ในหอสมุดตั้งแต่ปี 2529 ! สมัยที่ยังมีการปั๊มตราด้านหลังว่าใครยืมไปบ้าง ซึ่งสมัยเด็กๆ เรามักจะเลือกหนังสือที่มีคนยืมเยอะๆ เราว่ามันรับประกันว่าอ่านสนุก โดยเฉพาะหากเรื่องนั้นดูไม่น่าสนใจสักเท่าไหร่ แต่หากมีร่องรอยคนยืมเยอะ เราว่ามันคงสนุกประมาณนึงเลยทีเดียว 

(เข้าเรื่อง) สมุดพกคุณครูเป็นเรื่องของดช.วัยประถม ที่ต้องการจะให้คะแนนคุณครูประจำชั้นตอนท้ายเทอม และมีประเด็นมาให้คะแนนคุณครูเรื่อยๆ เช่น เมื่อสังเกตเห็นว่าคุณครูไม่กินแครอต แต่สอนให้เด็กๆกินอาหารให้หมดจาน ทำให้ดช.อยากให้คะแนนคุณครูที่ถึงแม้จะไม่ชอบแครอต แต่ท้ายสุดก็พยายามกิน ในครั้งนี้คุณครูได้คะแนน "เกือบดี" เนื่องจากมีความพยายามกินแครอตเพิ่มขึ้น

เด็กประถมในเรื่องน่ารักมาก อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเหมือนผู้เขียน "ฮิโร มิยาคาวะ" มีความละเอียดอ่อนในการเล่าเรื่อง และสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆมาก ผู้อ่านรู้สึกร่วมไปกับเหตุการณ์ "ขายของที่โรงเรียน" "เลี้ยงไหม" ไปด้วย 

เรื่องนี้ยังแฝงเรื่องความสัมพันธ์กับผู้สูงวัยไว้แบบน่ารักๆ คุณยายเลี้ยงไหม มาช่วยสาวไหมให้เด็กๆดู และวิธีการสอนของคุณครูทำให้เด็กจดจำ เช่น การดึงไหมเพื่อดูความยาวด้วยการให้เด็กๆดึงและเดินไปเรื่อยๆจนกว่าสายไหมจะหมด แทนที่ครูจะบอกว่ามันยาวกี่เมตร ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก เด็กๆยังมีโอกาสได้ทอไหมจากหูกกันทุกคน ผ้าที่ทอออกมา ถือเป็นผลงานของทุกคน เชื่อว่าตอนโต เด็กๆก็จะยังจำเหตุการณ์นี้และผ้าผืนนี้ได้ 

เรื่อง "สมุดพกคุณครู" ยังถูกทำเอาไปเป็นหนังด้วยนะ เราพยายามหาทางยูทูบ แต่หาไม่ได้ เสียดายจัง 
ตอนแรกเห็นปกแครอต ยังคิดสงสัยว่าทำไมใช้แครอตมาขึ้นปก พออ่านไปถึงได้รู้ว่าเพราะคุณครูไม่ชอบกิน จนเกิดเป็นเรื่องราวให้ดช.เตือน และพยายามเก็บเป็นความลับให้คุณครู (น่ารักมาก) 



ต่อจาก "สมุดพกคุณครู" ก็ยังมีเรื่อง "สมุดพกของแม่" ต่อ 
อิๆ เรื่องนี้กำลังอ่านอยูน๊า ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น