วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

review: ลมฝนกับต้นกล้า ( ศาสตราชัย)





ลมฝนกับต้นกล้า 

เป็นการพูดถึงเด็กชายคนหนึ่งที่ชื่อ ห้อย ห้อยใช้ชีวิตอยู่ในชนบท และต้องช่วยพ่อของเขาทำนา 
ในเนื้อเรื่องเริ่มต้นโดยการพูดถึงการที่ห้อย ต้อง แบกจอบ กับ ถังน้ำ เพื่อไปวิดปลาในนา เรื่องราวในตอนนั้น ผู้เขียนเล่าได้อย่างน่าสนใจ อ่่านไปยิ้มไป อินกับการอ่าน นึกถึงตัวเองตอนเด็กๆ 

ในขณะที่เขากำลังวิดปลาอยู่นั้น เด็กชายคนนี้นึกถึงเรื่องราวชีวิตและความเป็นอยู่ของเขาที่ทำให้เขาต้องกลายเป็นเด็กวัด เขาจดจำเรื่องราวที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ในเรื่องจะเป็นการผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และ ความความเชื่อเรื่องภูติผี รวมถึงความเชื่อเรื่องการตกนรก 

ห้อยเป็นเด็กช่างคิด ช่างจำ ช่างสังเกตุ เขามักนึกถึงเรื่องราวในอดีตตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งในเรื่อง ลมฝนกับต้นกล้านี้ คำว่า ลมฝนในที่นี้คือ อุปสรรคต่างๆนานาที่ต้องเด็กคนนี้พบเจอกับอุปสรรคที่มาขัดขวางห้อย ที่ทำให้ห้อยไม่สามารถทำวิดปลาสำเร็จ รวมถึงเรื่องราวฝังใจของเขาที่ไม่ดีนัก 

ส่วนคำว่า ต้นกล้า ก็คือ ห้อย ที่เปรียบเหมือนต้นกล้าที่ต่อให้เจอลมฝนหนักแค่ไหนก็สามารถชูใบขึ้นมาได้เหมือนเดิม และรอคอยการเติบโตขึ้นเป็นต้นข้าวที่สวยงาม ลมฝนกับต้นกล้า จึงเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม


review ลมฝนกับต้นกล้า (มานิตา)




ลมฝนกับต้นกล้า เล่าถึงเด็กชายในชนบท มีชีวิตที่เรียบง่าย และพอเพียง เด็กชายที่ชื่อห้อยต้องออกมาทำนาหลังจากที่พ่อเปลี่ยนไป อีกทั้งยังวิดน้ำหาปลาในนาเพื่อเอามาทำกิน และอุปสรรคต่างๆนานาที่ต้องเจอ 

ห้อยเป็นเด็กที่ขยัน มีความอดทน ช่างคิด ช่างทำ สิ่งที่สนุกสนานและเป็นความสุขของเด็กในยามว่างในยุคนั้นคือ การฟังนิทานจากคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้ที่มักจะเล่นแต่เกมส์ในมือถือหรือคอมพิวเตอร์ 


ผู้เขียนดำเนินเรื่องได้ดีและเพลิดเพลิน ทำให้เห็นภาพในขณะอ่าน นึกถึงชีวิตที่ชนบทตอนไปเยี่ยมบ้านปู่ย่าตายาย อีกทั้งหนังสือยังใช้ภาษาในยุคนั้น ซึ่งทำให้เข้าถึงอารมณ์ได้อย่างดี 


ในเรื่องนี้ ลมฝน หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้ทั้งดีทั้งร้ายที่เด็กชายห้อยต้องเผชิญหน้า 


ส่วน ต้นกล้า เปรียบเสมือน เด็กชายห้อย ถึงแม้ว่ายังเด็ก เจออุปสรรคมากแค่ไหน ก็ยังยึดหลักความดี พร้อมที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ แผ่กิ่งก้านให้ความร่มรื่นร่มเย็น นับได้ว่าสะท้อนถึงวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติ วัฒนธรรมในชนบทที่เป็นเอกลักณ์ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม





วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

พลังอ่านเปลี่ยนเมือง: พลังคนรุ่นใหม่





ในที่สุดโครงการที่นิสิตและเราช่วยกันเขียนเพื่อของบสนับสนุนจากสสส.ก็ผ่านการพิจารณาซะที หลังจากรอการพิจารณาร่วม 3 สัปดาห์ พวกเราได้รับการแจ้งผลการคัดเลือกเมื่อสัปดาห์ก่อน นิสิตแกนนำทั้ง 5 อันประกอบด้วย นุ่น น้ำทิพย์ ยีนส์ ปู และมายด์ ดีใจมาก แถมจนท.สสส.ยังใจดี อนุญาตให้ทั้ง 5 คนเข้ารับการอบรมได้ทุกคน (จากที่แจ้งมาว่า อ. + นิสิต 3 คนเท่านั้นที่สามารถร่วมอบรมในวันศ. 14-16 ตค. 59)

ดีที่การปฐมนิเทศ พัฒนาศักยภาพ จัดที่โรงแรมหาดใหญ่ พาราไดซ์ ไม่ไกลเกินไป ทำให้พวกเราทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ และนิสิตยังไม่ต้องขาดเรียน เพราะวันศ.เป็นวันสอบ ซึ่งพวกเขาสอบเสร็จกันแล้ว

หลังจากรับเอกสารมาแก้ และส่งให้อธิการในฐานะผู้มอบอำนาจลงนาม ซึ่งต้องส่งกลับไปในวันพ.28/9/59 พวกเราก็จะได้เริ่มคิด ปฎิบัติการ กันต่อไป

น้องๆรร.วัดท้ายยอ เปิดเรียนเทอม 2 ประมาณต้นพย.59 พวกเรากะกันว่าคงใช้สัปดาห์แรกในการไปสำรวจพท.และช่วงนี้ก็จะปชส.โครงการและหาอาสาสมัครไปพลางๆ รวมทั้งซื้ออุปกรณ์และสิ่งที่จะต้องใช้ประกอบการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นหมวกรูปสัตว์ ดินน้ำมัน หรือ bookmark จาก www.pininterest สุดกิ๊บเก๋ (เรากำลังคิดว่าพวกเราน่าจะทำแจกน้องๆ และคนเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นของที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งพวกเขาเคยได้เป็นส่วนหนึ่งของพลังการอ่าน"สร้างชาติ" ในครั้งนี้ เย้!

เราเริ่มชวนๆนิสิตที่เคยทำกิจกรรมกับเราเอาไว้บ้างแล้ว หลายคนให้ความสนใจ พวกเราจะได้แนวร่วมเยอะแน่ๆ



วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ย้อนคิดหลังอ่าน: ลมฝนกับต้นกล้า (ปาริชาติ)



สวัสดีค่ะ หนูชื่อนางสาวปาริชาติ  คณะศึกษาศาสตร์  วิชาเอกวิทยาศาสตร์  เคมี มหาวิทยาลัยทักษิณ  ได้รับการเชิญชวนโดยอาจารย์ ดรพรไทย  ให้เข้าร่วมโครงการ "อ่านล้อมเมือง Extra" ในการเข้าร่วมอ่านหนังสือ "ลมฝนกับต้นกล้า"   
เมื่อได้รับการเชิญชวนก็รู้สึกยินดีและดีใจอย่างยิ่ง และตอบตกลงเข้าร่วมโครงการโดยทันทีด้วยหลายเหตุผลและหลายประเด็น ซึ่งอาจารย์ได้บอกว่าเป็นนิสิตวิชาเอกวิทยาศาสตร์คนเดียวที่ได้รับการเชิญชวน ซึ่งได้คิดกับตนเองว่าอาจารย์ต้องเห็นอะไรบางอย่าง เช่น ประสิทธิภาพ ความสามารถ ศักยภาพในตัวของเรา จึงชักชวน และเป็นการท้าทายในชีวิตนิสิตอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกันเพราะปรกติไม่ค่อยได้อ่านหนังสือหรือวรรณกรรมทางด้านนี้มากเท่าไหร่ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือทางด้านสาขา ไม่ว่าจะเป็น  Physical Chemistry Inorganic Chemistry  และยังสนใจในเรื่อง จิตวิทยา ปรัชญา และการเมือง เป็นต้น

          "ลมฝนกับต้นกล้า"   วรรณกรรมเรื่องนี้ นับว่าเป็นหนังสือที่ไม่ต้องใส่ผงชูรสหรือผงปรุงรส ก็ได้อรรถรสในการอ่าน เรียกได้ว่า ถ้าเปรียบเหมือนหนังสือเล่มนี้ก็คงให้เป็นแกงส้ม ถึงเป็นแกงพื้นบ้านแต่ก็ขึ้นระดับภัตตาคารได้เลยทีเดียว แค่ได้เปิดอ่านแล้วก็แสดงกลิ่นอายของ อัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ภาษาที่ชัดเจนของภาคใต้ อีกทั้งการถ่ายทอดอารมณ์สิ่งแวดล้อมในแต่ละตอนได้ดีทำให้รู้สึกถึงเรื่องราวที่คุณพ่อของตัวเอง พ่อเคยเล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งอดีตให้ฟังที่เป็นลูกชาวนาธรรมดาที่อยู่อาศัยตามไร่นา ที่อำเภอควนเนียง ตำบลห้วยลึก จังหวัดสงขลา และเมื่อพูดถึงเรื่องปลาช่อนอดคิดถึงไม่ได้เลยเพราะพ่อเป็นคนชอบดัก(จับ)ปลา จับปลาเก่ง ทำให้ชวนคิดถึงเรื่องราวเมื่อครั้งก่อน อีกทั้งยังทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองเป็นคนมองดูเหตุการณ์ตรงนั้นอยู่ทุกขณะ  โดยเฉพาะในตอนท้ายของตอนที่ ผู้อ่านเองยอมรับเลยว่ากลั้นน้ำตาที่มีอยู่ไว้ไม่ได้ เพราะด้วยบทสนทานาระหว่าง(ไข่)ห้อยกับย่าหรือแม้แต่(ไข่)ห้อยกับพ่อทำให้เกิดความสงสาร และเอ็นดูความรักของครอบครัวนี้
          นอกจากนี้ผู้เขียนสามารถเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบทได้อย่างชัดเจน นับว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ด้วยเช่นกันเนื่องจาการเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นเรื่องปกติ วิสัยของสรรพสิ่งที่ไม่อาจลีกเลี่ยงได้ชุมชนในชนบทของประเทศและแต่ละจังหวัดได้รับผลกระทบไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลาเช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบรวมถึงนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใน และอื่นๆได้แก่ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในกลุ่มคนของชุมชน การปรับตัวของชุมชนต่อกระแสภายนอก รวมถึงภูมิปัญญาซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง

          อยากขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ อีกทั้งยังสอนให้ทราบว่าความสุขหาได้ไม่ยาก แค่ทำในสิ่งที่ทำได้ ที่เล็กๆง่ายๆก็สามารถมีความสุขได้
  

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

Good book for Empowerment: Malala, Nelson, Obama



หนังสือดีอาจเปลี่ยนชีวิตและความคิดเราไปชั่วกาลป์

ด้วยความที่เราเป็นคนอ่านหนังสือเยอะและเรียกตัวเอง(เอาเอง)ว่า หนอนหนังสือ เราจึงพยายามอ่านหนังสือให้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแนวท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ของสิ่งต่างๆรอบตัว หนังสือเตรียมสอบ IELTS, TOEFL  หรือนิยายชวนฝัน 

แต่หนังสือประเภทหนึ่งซึ่งเราชอบไม่แพ้ประเภทอื่นๆคือชีวประวัติของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือบุคคลที่ให้แรงบันดาลใจหรือเปลี่ยนแปลงโลก

เทอมนี้ 1/59 เมื่อสอนวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ เราเลือกหนังสือ I AM MALALA ซึ่งมีคำบรรยายต่อท้ายว่าเธอคือใคร

เธอคือ เด็กผู้หญิงชาวปากีสถานที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อการศึกษาที่เท่่าเทียมและถูกยิงเข้าที่ศีรษะ จากผู้ก่อการร้ายชาวตาลีบัน !  ( The girl who stood up for education and was shot by the Taliban)

หากพวกเราโดนมุ่งร้ายและถูกทำร้ายเช่นเธอ พวกเราจะเป็นอย่างไร เลิกสู้และอยู่กับฝันร้ายรวมถึงความหวาดกลัว  หรือเราเลือกจะสู้ ??

เราดีใจมากที่รู้ว่าหนังสือเล่มนี้มี e-book และดาวโหลดฟรี ทำให้เราได้หนังสือดีฟรีๆเพื่อมาใช้ในการอ่านวิเคราะห์ โดยที่นิสิตไม่ต้องลงทุนไปซื้อหนังสือฉบับเต็ม ซึ่งราคาแพง (ขอบคุณ Malala และสนพ.ที่ทำเรื่องนี้ให้เป็น free e-book นี่คือการเห็นแก่ประโยชน์เพื่อการศึกษาอย่างแท้จริงสินะ
( Education is free for all)

เราได้แต่อ่านและฟัง speech ของเธอที่กล่าวตอนได้รับรางวัลโนเบลไพรซ์และคำคมมากมายของเธอ
ในวัย 18-19 ปีของเธอๆทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่และส่งผลสะเทือนต่อชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมแพ้ตาลีบัน หรือการยอมให้อภัยผูู้ที่หมายเอาชีวิตเธอ 

การให้อภัยผู้ที่มุ่งร้ายหมายขวัญตนเองอย่าง Malala ทำให้เรานึกถึงหนังสืออ่านนอกเวลา Nelson Mandela ผู้ทำให้ประเทศแอฟริกาใต้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความเกลียดชังระหว่างคนผิวสี และเค้าไม่ได้โกรธแค้นผู้ที่ทำให้เค้าต้องอยู่ในคุกเกือบ 20 ปี แถมตอนอยู่ในคุกยังช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาให้กับคนคุกและผู้คุม เกิดเป็นมิตรภาพงดงามแม้ในยามตกยาก  

ทั้ง Malala & Nelson Mandela ทำให้คนอ่านและผู้ที่ได้รู้จักพวกเค้าเรียนรู้การเป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ การให้อภัย เมื่อได้ให้อภัย สิ่งที่ตามมาคือสภาพจิตใจที่เบาและว่าง การปราศจากความเกลียดชังผู้อื่น ทำให้จิตใจได้หลุดพ้นจากความทุกข์ 

หรือจริงๆแล้วนี่คือ วิธีพ้นทุกข์ที่พวกเราทุกคนควรเอาเป็นตัวอย่าง




วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

คิดก่อนอ่าน (ล้อมเมือง): TSU bookworms's sharing ideas before reading





นักอ่านแต่ละคนล้วนมีเหตุผลแตกต่างกันไปในการอ่านหนังสือ 1 เล่ม โครงการอ่านล้อมเมือง Extra ลองให้การบ้านนิสิตที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้ลองนึกว่าจากชื่อปกหนังสือ "ลมฝนกับต้นกล้า" ของ อ.ยงยุทธ์ุ ชูแว่น ทำไมพวกเขาอยากอ่านเล่มนี้ หรือทำไมอยากเข้าร่วมโครงการ "อ่านล้อมเมือง"

คำตอบมีหลากหลาย ตามภูมิหลังของแต่ละคน ดังนี้


เหตุผลการเข้าร่วมกิจกรรมอ่านล้อมเมือง

n   -- ผมคิดว่าชนบทมีวิถีชีวิตเรียบง่าย มีความเป็นธรรมชาติมากที่ทำให้ใครหลายคนเข้าไปสัมผัสเพื่อการผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานและปัญหามากมาย. I think rural areas have a way of like it's easy, natural, The people want to natural for relax from work and many problems.                                                                                                                                                              ภารัช เอกภูมิศาสตร์ ปี 5





n   --  Teacher, I want to join อ่านล้อมเมือง because I like to read books and I saw this book is very interesting and this activity will give a chance to me to lean new knowledge from this book. Moreover, I will learn new experience to discuss and share about this book.   
                                                                                                            กมลชนก เอกอังกฤษ ปี 4



 
n   -  Hello, I would like to be a part of reading group because I haven’t read a wide range of genres of books for long. I want to expose myself to variety and share ideas with people which can bring me to a whole new perspective. By joining this group, I’m certain that I will be able to push myself to pick up books out of my comfort zone. The more I read, the more I realize how much I love reading.                                                                                                                     มานิตา เอกอังกฤษ ปี 2



n   -- Good afternoon teacher, I am Nantida Meekaew. I am the Fourth year student in English Major. I would like to join with อ่านล้อมเมือง because I am interested in reading since I studied at high school. I like to read the new thing for learning the new experience from each books. Moreover, I think discussion is the good method after we have read. we will listen and receive the different opinions from other. we can practise to analyze, present an idea, and take free time for develop our ability to be better. So, this is the reasons that I would like to give me a chance to join with this activity. Thank you very much    

                                                                                                                                             นันทิดา เอกอังกฤษ ปี 4






-          "ลมฝนกับต้นกล้า"   ดูจากชื่อในหน้าปกหนังสือ ดูน่าสนใจทีเดียวค่ะ  พอได้เห็นชื่อหนังสือเล่มนี้ ด้วยความอยากรู้ว่าเรื่องนี้เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับอะไร จึงลองเซิร์ท google ดู ก็พบว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่พูดถึงการใช้ชีวิตในชนบท กลับมามองดูตัวเอง เราก็เติบโตมาในชีวิตชนบทเช่นกั  ความคิดตอนนั้นคงคิดว่า คงจะดีไม่น้อย ถ้าได้เรียนรู้วิถีชีวิตของใครสักคนผ่านตัวอักษร โดยการผ่านหนังสือเล่มนี้ จึงได้เลือกเข้าโครงการอ่านล้อมเมือง  เผื่อว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้และการเข้าร่วมเสวนา จะได้อะไรดีๆ กลับมาต่อยอดในการใช้ชีวิตค่ะ    
                                                                                           นพรัตน์ เอกไทย ปี 3





-          บาสลองไปหาเนื้อเรื่องคร่าวๆของหนังสือมาแล้ว บาสชอบการที่เค้าพูดถึงชนบท พูดถึงชีวิตชาวใต้ มันทำให้บาสรู้สึกได้ว่า หนังสือเล่มนี้คงต้องบรรยายถึงชีวิตในท้องทุ่ง ชีวิตชนบท บาสคิดว่า การอ่านหนังสือเล่มนี้จะทำให้เรารุ้สึกอินไปกีบชีวิตชนบท ที่เรียบง่าย และบาสต้องได้ความรู้มากมายจากหนังสือเล่มนี้ อีกอย่างคือ การอ่านก็คือการเพิ่มความรู้ให้กับเรา บาสจึงอยากเข้าร่วมกิจกรรมนี้เพิ่มเสริมสร้างการเรียนรู้ครับ                                                                  
                                                                                        ศาสตราชัย เอกอังกฤษ ปี 2

-          



            เหตุที่ได้มีการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมนี้แรกเริ่มได้รับข้อมูลกิจกรรมการจัดมาจากท่านอาจารย์ ดร.พรไทย  ที่ได้ให้ข้อมูลว่ามีกิจกรรมดีๆเช่นนี้ ผนวกกับผมเป็นคนที่รักในศาสตร์ของการฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งโครงการนี้ผมจะได้มีโอกาสฝึกในด้านการอ่านและการพูดซึ่งคือสิ่งที่ผมชื่นชอบและสนใจผมจึงไม่พลาดโอกาสที่จะได้มาเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งในตอนแรกผมก็มีความกังวลอยู่ไม่น้อยเหมือนกันว่าผมจะสามารถเข้าใจในตัวหนังสือที่จะนำมาอ่านได้หรือไม่ หนังสือที่จะนำมาอ่านจะยากเกินไปหรือเปล่า เนื้อหาในตัวหนังสือจะมีความสนุกหรือภาษาเข้าใจยากมากน้อยแค่ไหน แต่เมื่อรู้ว่าเป็นหนังสือ ลมฝนกับต้นกล้ามันก็ทำให้ผมรู้สึกสนใจและผมก็อยากจะเข้าใจว่า หนังสือเรื่องนี้มันแฝงด้วยแง่คิดหรือให้มุมมองอะไร เพราะเหตุใดจึงได้มีการนำหนังสือเรื่องนี้มานั่งพูดคุยกัน และต่อมาการที่ผมต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ผมได้มีโอกาสรับฟังแง่คิดความรู้จากนิสิตต่างคณะที่รักในการอ่านเหมือนกันและได้ฟังความรู้ใหม่ๆจากคณาจารย์หลากหลายท่านที่จะเข้าร่วมงานครั้งนี้ซึ่งผมหวังว่าผมจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากกิจกรรมครั้งนี้ไปพัฒนาตนเองเพื่อการก้าวเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป                      
                                                                              วีรยุทธ์ เอกสังคมศึกษา ปี 3





-     ดิฉันมีความเชื่อที่ว่า การอ่านย่อมทำให้คนสามารถรู้ลึก สามารถมีความคิดได้อย่างกว้างขวาง คิดได้หลากหลายแง่มุม เป็นการเปิดมุมมอง เปิดทัศนะคติของตนเองให้กว้างขึ้น จากที่ตนเองเป็นคนที่เปรียบได้กับ สนลู่ลมที่คิดและมองสิ่งต่างๆแต่เพียงผิวเผิน ไร้ซึ่งความหมาย ไร้ซึ่งทัศนะ ความเป็นตัวตนของตนเอง ที่กล้าจะคิด กล้าพูด กล้าที่จะต่อสู้ทางความคิด กล้าวิพากษณ์กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีเพียงแต่ความคิดที่โน้มเอียงคล้อยตามไปกับภาวะต่างๆ แต่การที่ดิฉันได้เป็นตัวแทนในการเข้าร่วม อ่านล้อมเมืองได้เป็นเสมือนแรงผลักดันให้ตนเองมีความตื่นตัวที่จะเสนอมุมมองความคิดของตนเองอย่างเต็มเปี่ยม กล้าวิพากษณ์ และได้มองทุกอย่างให้ลึกซึ้งถึงนัยที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ตัวหนังสือ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนิสิต อาจารย์ และผู้เขียน ที่ล้วนแล้วแต่มีความคิดที่เป็นเหตุและผลอย่างถ่องแท้ ที่ทำให้นัยของตัวอักษรที่ผู้เขียนได้พรรณนาผ่านตัวหนังสือได้ถูกให้ความหมายอย่างลึกซึ้ง จนเกิดเป็นตัวองค์ความรู้แบบใหม่ให้แก่ตนเอง ซึ่งทำให้ตนเองสามารถที่จะนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการร่วมวิพากษณ์ในครั้งนี้ ไปเป็นต้นทุนในชีวิตในการสร้างตนเองให้เป็นบุคคลที่ อ่านหนังสือเป็นที่กล้าคิดต่าง คิดแปลกแยกจากเนื้อความในหนังสือ รู้จักต่อยอดความรู้ แต่ต้องควบคู่ไปกับหลักของเหตุและผล ตามที่ว่าคนเราหากอ่านหนังสือมาก แต่ไม่สามารถคิดตาม คล้อยตามเนื้อความในหนังสือเท่านั้น ก็สู้คนที่อ่านน้อยแต่รู้จักคิดตามเสียดีกว่า

                                                                                                   สุดารัตน์ เอกสังคมศึกษา ปี 3

ดิฉันมีความสนใจในการอ่านนวนิยาย ลมฝนกับต้นกล้า ด้วยเหตุที่ว่า เป็นนวนิยายที่เหมาะแก่เยาวชน มีการเรียบเรียงภาษาที่สละสลวย เป็นการอ่านที่อ่านได้เรื่อยๆ ไม่เครียด เพราะเป็นการบรรยายคำจนสามารถก่อเกิดเป็นจินตนาการขึ้นภายในหัวได้  อีกทั้งนวนิยายเล่มนี้จากการที่ดิฉันได้อ่านเกริ่นนำไปบ้างแล้วก็ได้เห็นถึงการสะท้านถึงวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท   ตัวดิฉันเองก็ได้เกิดเป็นคนชนบทแต่ในบางเรื่อง อาทิ การจับปลานั้น ดิฉันก็ไม่สามารถรู้ถึงขั้นตอนในกระบวนการในการจับปลาได้   นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นการดีที่จักช่วยส่งเสริมให้เยาวชนยุคใหม่ ได้หวนกลับความเป็นชนบท ชีวิตที่แห่งความเรียบง่าย เหลียวมองความเป็นอยู่ท้องถิ่น เข้าใจถึงชีวิตบ้านๆอย่างลึกซึ้งมากขึ้น และนวนิยายเล่มนี้ อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงแง่คิดดีๆที่ได้จากการอ่านผ่านนวนิยายเล่มนี้ได้เช่นกัน
                                                                                           ไปรยา เอกสังคมศึกษา ปี 3

ตามที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการอ่านล้อมเมือง ซึ่งนวนิยายเรื่องลมฝนต้นกล้าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก อ่านแล้วรู้สึกเหมือนได้ย้อนไปยังวัยเด็ก ได้กลิ่นอายความเป็นเด็กเมืองลุง บ้านเกิดของข้าพเจ้า และยังได้สัมผัสถึงชีวิต ความเป็นอยู่ ความฝัน ความหวัง ความไร้เดียงสาของไข่ห้อย ตัวละครเอกในเรื่องที่จะมุ่งหวังผลักดันให้ตนเองไปสู่ความสำเร็จ มีครอบครัวที่อบอุ่น และยังสะท้อนปัญหาสังคม ท่ามกลางการไหล่บ่าของกระแสทุนนิยม ที่เข้ามาสู่ท้องถิ่น ทำให้คนมีค่านิยมความเป็นเมืองมากกว่าชนบท ข้าพเจ้าจึงสนใจโครงการดังกล่าวเพราะจะได้นำความรู้ ทัศนคติ ความคิดเห็นต่างๆของตนเองมาแลกเปลี่ยนกันในวันจัดกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมอ่านล้อมเมืองนี้ได้มุ่งหวังและส่งเสริมให้นิสิตรักการอ่าน คิด วิเคราะห์ และร่วมแสดงความคิดเห็น ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจมากที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้การสนับสนุน ข้าพเจ้าจะตั้งใจอ่านและร่วมกิจกรรมอย่างดีที่สุด
                                                                                           ( วรรณิษา เอกสังคมศึกษษ ปี 3 )


วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

ลมฝนกับต้นกล้า: ความหลังครั้งยังเยาว์




Reading alone would be boring. Would it be great to read and meet the writer, then discuss about the book with ones who love reading.
Make your reading more pleasant by joining the อ่านล้อมเมือง program on Wed.26 Oct 2016
Get 1 book for free and spend 1 month to read it.
Rules: Message me via FB inbox before 25 Oct 2016 why you want to join this program. Then get the book right away. It's now waiting for bookworms in my office, R.13310.

-----------------

ประกาศกันมาหลายรอบ สำหรับโครงการ "อ่านล้อมเมือง Extra" เพื่อหานิสิตที่มีจิตรักการอ่านมาเข้าร่วมอ่านหนังสือ "ลมฝนกับต้นกล้า" ด้วยกัน

ตอนนี้ได้ผู้สนใจเข้าร่วมหลายคนแล้วจากหลายๆเอก อาทิ กิ๊ก+บาส+อัสลีน (เอกอังกฤษ ปี 2) กมลชนก+แป้ง (เอกอังกฤษ ปี 4) ดวงกมล (เศรษฐศาสตร์ ปี 4) เพลง (ภูมิศาสตร์ ปี 3) คุ่ม (เอกไทย ปี 4) 
นิ (เอกพัฒน์ ปี 3) มาน่า+สูดีน่า (มลายู ปี 3) 


---------------------------------

เราอ่านหนังสือเล่มนี้เกือบจบแล้ว ถือไปถือมาเพื่ออ่านระหว่างนั่งรถสองแถว อิๆ กะจะใช้เวลาให้คุ้มทุกนาที หนังสือใช้กระดาษถนอมสายตา สีนวลตาด้วยนะ ทำให้น่าอ่าน และตัวหนังสือใช้ font สมัยเก่า ย้อนยุค เหมือนกับเรื่องที่ผู้เขียนตั้งใจจะพาย้อนวัยไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว 

สมัยที่เด็กชนบทยังไปวิดห้วยหนองคลองบึงเพื่อจับปลา ความสุขของเด็กสมัยนั้นช่างเรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน และวิถีชีวิตก็เป็นไปตามสิ่งที่มี ไม่ว่าจะเป็นการอาศัยกินข้าววัด การพึ่งพาวัดของคนในละแวกชายวัด การไปวัดเป็นเรื่องปกติของเด็กสมัยนั้น ไม่ว่าจะไปดูหนังกลางแปลงหรือไปดูโนราห์ หรือแม้แต่การชิงเปรต!
( อิๆ อันหลังๆนี่เป็นประสบการณ์ตัวเอง)

สมัยที่เด็กๆยังไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่ายังไม่มีไฟฟ้าใช้เสียด้วยซ้ำ ความสุขของพวกเขาเลยเป็นการฟังนิทาน เรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ (ช่วงเวลาแบบนี้แทบจะหาไม่ได้ในยุคนี้ ความห่างเหินอันเกิดจากความทันสมัยของเครื่องมือสื่อสารที่เรียกว่า Smart Phone และ Pogemon Go ( อันหลังเกี่ยวไหม อิๆ) ทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือเพื่อนฝูงจืดจางไปด้วย 

รื่องนี้ทำให้เราย้อนคำนึงถึงชีวิตวัยเด็กที่ตำบลเกาะยอเมื่อ 30 ปีก่อน
ก่อนหน้านั้นสะพานติณสูลานนท์ยังไม่มี (มันสร้างเสร็จเมื่อปี 2529) การติดต่อกับโลกภายนอกของคนในเกาะก็จะเป็นทางเรือ เรามักจะนั่งเรือยนต์จากท่าเรือวัดท้ายยอมาที่ท่าเรือหลังไปรษณีย์ ตลาดทรัพย์สิน เมื่อย่ามาซื้อของจากตลาดหราง (หราง = ตะราง ในภาษาใต้) ไปขาย การนั่งเรือใช้เวลาร่วมชม. ทำให้เราได้มีเวลานั่งเงียบๆ คิดโน่นนี่ อยู่กับความสงบจนกว่าเรือจะถึงอีกฝั่ง  

เราว่านี่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราชอบอยู่กับความเงียบ และมีหนังสือเป็นเพื่อน โดยที่ไม่รู้สึกเหงา เพราะคนเกาะยอสมัยนั้น พอค่ำก็ปิดบ้านกันแล้ว ไม่มีรถราวิ่งผ่านสักเท่าไหร่ในหมู่บ้าน ตอนเราเล็กๆสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การหุงหาอาหารใช้ไม้ฟืน เรายังได้มีโอกาสตามย่าไปหาไม้ฟืนในสวนยางเพื่อเก็บมาเป็นเชื้อเพลิง หรือหาขี้ยาง เพื่อมาใช้ร่วมกับไม้ฟืน 

เวลาเรียน นร.สมัยนั้นจะเดินผ่านทุ่งนาบ้าง ตามทางเดินที่ร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สองข้างทาง (ก่อนต้นไม้จะถูกตัดเพื่อแทนที่ด้วยเสาไฟฟ้าในระยะต่อมา)  การเดินไปรร.เป็นเรื่องปกติในสมัยนั้น 

สมัยนี้น่ะเหรอ ไม่มีเด็กคนไหนเดินไปรร.กันแล้ว พ่อแม่มักขี่มอเตอร์ไซค์ไปส่ง มีบ้างที่เด็กๆปั่นจักรยานไปกันเอง

สมัยเราเด็กๆ ครูจะให้เด็กๆแต่ละหมู่บ้านเดินกลับบ้านกันเองโดยมีรุ่นพี่ถือธงเดินนำ (หน้าที่นี้จะทรงเกียรติมากสำหรับเด็กสมัยนั้น เหมือนกับการที่ได้ถือพานวันไหว้ครู การนำสวดมนต์ หรือนำ
ร้องเพลงชาติ ประมาณนั้นเลย

เมื่อก่อนเกาะยอมีต้นมะพร้าวกับตาลโตนดเยอะมาก ขนาดหมู่บ้านที่เราอยู่ยังใช้ชื่อว่า "บ้านป่าโหนด" เรามีโอกาสได้กินน้ำส้มสายชูจากตาลโตนดและเห็นการทำจากเพื่อนบ้านด้วยล่ะ 
ตอนนี้หากอยากกินน้ำตาลโตนดสด ต้องไปหากินถึงตลาดแถวสิงหนครโน่นแน่ะ

----------------------------------------------------(ต่อ)----------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

Children of Heaven: Review






หลังจากที่ได้ดูหนังเรื่อง Children of Heaven (1997) แล้ว ก็รู้สึกว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรที่แตกต่างไปจากเดิมอีกแง่มุมหนึ่ง 
มันเป็นหนังที่ทำออกมาได้ดีทีเดียว สะท้อนเรื่องราวชีวิตของคนในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากเรา ได้เห็นภาพของความลำบากที่แท้จริง และสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นของคนในครอบครัว 

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวที่ยากจนครอบครัวหนึ่งในประเทศอิหร่าน มีตัวดำเนินเรื่องหลัก คือ พี่ชายชื่ออาลี(Ali)และน้องสาวของเขา ซึ่งทั้งสองก็เป็นเพียงแค่เด็กชั้นประถม ในตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ก็คิดอยู่ในใจว่าอยากจะตั้งชื่อเรื่องว่า The shoes ให้จริงๆ เพราะประเด็นจุดเริ่มเรื่องมันคือ รองเท้าและก็ดำเนินเรื่องด้วยรองเท้า



 เหตุเกิดจากอาลีนั้นได้ทำรองเท้าของน้องสาวเขาหายไปตอนที่เอามันไปซ่อม และก็เป็นเรื่องขึ้นมาจริงๆ เพราะถ้าไม่มีรองเท้าเก่าๆขาดๆคู่นั้น น้องสาวของเขาก็ไปโรงเรียนไม่ได้ อีกทั้งครอบครัวในตอนนั้นก็ลำบากสุดๆ เพราะว่าแม่ล้มป่วย และยังมีน้องทารกตัวน้อยที่ต้องดูแลอีกด้วย จึงมีเพียงพ่อที่ต้องแบบรับภาระทั้งหมดไว้คนเดียว อาลีรู้ดีถึงสิ่งนี้ และรู้ว่าพ่อของเขาจะไม่มีทางได้เงินจนกว่าจะสิ้นเดือน จึงตกลงกับน้องว่าต้องไม่ให้พ่อและแม่รู้เรื่องรองเท้าหาย ดั้งนั้นเวลาไปโรงเรียนสองพี่น้องจึงต้องผลัดกันใส่รองเท้าผ้าใบเก่าๆของอาลีที่มีอยู่เพียงคู่เดียว และตอนนี้เองก็เพิ่งรู้ว่าโรงเรียนที่นั่นเขาแบ่งกันเรียนเป็นสองช่วง ช่วงเช้าสำหรับผู้หญิง ช่วงบ่ายสำหรับผู้ชาย อาจจะด้วยเหตุผลว่าเป็นโรงเรียนเล็กๆในชนบท จึงมีพื้นที่ไม่พอให้เด็กนักเรียนทั้งหมดมาเรียนพร้อมกัน เมื่อเป็นอย่างนี้เมื่อน้องสาวเลิกเรียนจึงต้องรีบวิ่งสุดชิวิติเพื่อเอาร้องเท้าผ้าใบมาเปลี่ยนให้อาลีใส่ หลังจากนั้นอาลีก็ต้องรีบวิ่งสุดชิวิติเหมือนกันเพื่อที่จะไปเรียนให้ทัน แต่มันก็ทำให้เขาไปเรียนสายติดๆกันหลายครั้ง มันเป็นอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆวัน จึงรู้สึกขอบคุณรองเท้าทุกคู่ที่ตัวเองมีจริงๆ อาลีนั้นเป็นต้นแบบของพี่ชายที่สุดยอดจริงๆ เขาเรียนดีมีความรับผิดชอบ และพร้อมจะเป็นผู้เสียสละทุกๆอย่างให้กับน้องสาวของเขา 

และมาถึงตรงนี้ก็อยากจะขอยกตัวอย่างฉากที่ประทับใจบางฉาก 

ฉากแรกคือตอนที่อาลีเข้าเมืองไปกับพ่อของเขาเพื่อจะไปสมัครเป็นคนสวนของบ้านที่มีฐานะดีในย่านนั้น พวกเข้าต้องใช้จักรยานเดินทางตลอดระยะทางที่ยาวไกล และต้องไปตามบ้านต่างๆหลายหลังมากกว่าจะได้งาน ต้องเจอกับอุปสรรคทั้งหมาไล่เห่า และเจ้าของบ้านไม่เป็นมิตร จนได้มาเจอกันตาหลานคู่หนึ่งซึ่งเป็นคนรวยจ้างให้ไปทำสวนที่บ้าน เอาจริงๆมันก็เป็นเพราะหลานชายของคุณตาคนนั้นเหงาจึงอยากจะเล่นกับอาลี ตรงนี้มันสะท้อนให้เห็นว่าถึงจะเกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวย ก็ใช่ว่าจะมีพร้อมไปทุกอย่าง มันก็ยังคงมีบางส่วนที่ขาดหายไปอยู่ดี ซึ่งบ่อยครั้งที่มันเป็นเรื่องของความรู้สึกทางใจ

 อีกฉากหนึ่งมันเป็นตอนที่อาลีลงแข่งวิ่งมาราธอน ในความเป็นจริงทุกการแข่งขันทุกๆคนล้วนอยากจะเป็นที่หนึ่ง แต่ในมุมของอาลีมันไม่ใช่อย่างนั้น เขาอยากจะได้รางวัลที่สามซึ่งเป็นรองเท้าผ้าใบคู่ใหม่ เพื่อที่ว่าถ้าได้มาแล้วก็จะเอามันไปเปลี่ยนเป็นรองเท้าผู้หญิงเพื่อมอบให้กับน้องสาวของเขา และตลอดระยะทางที่วิ่งในหัวเขาก็มีแต่ภาพเหตุการณ์เกี่ยวกับน้องสาวของเขา ทุกเสียงที่ผุดขึ้นมาให้หัวก็คือคำสัญญาที่เขาจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ สิ่งเหล่านี้มันเป็นพลังให้เขาก้าวไปข้างหน้า  

แง่คิดที่สะท้อนผ่านออกมาจากหนังเรื่องนี้ ชีวิตมันมีแต่เรื่องที่คาดไม่ถึง และเรื่องราวของชิวิตคนแต่ละคนมันก็มีรูปแบบและรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป บางทีการที่เราจะรู้สึกเป็นทุกข์กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากน้อยเพียงใด มันก็ขึ้นอยู่กับนิยามที่เรากำหนดให้มันเป็น 

ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆก็คือว่า ชีวิตของคนบางคนมันหนักหนาสาหัสกว่าเรามากมาย แต่ทำไมดูๆไปแล้วพวกเขาเหล่านั้นก็ดูเหมือนจะมีความสุขมากกว่าเราเสียอีก ถึงแม้ว่าจะเกิดมาด้วยความไม่พร้อมแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่ควรไปนิยามมันว่าเป็นอุปสรรค์ที่หนักหนาเกินกว่าจะข้ามผ่าน..."อย่างน้อยเราก็ยังมีรองเท้าให้ใส่"  

                                                               ---จิราพร รหัส 58 นิสิตปี 2 เอกอังกฤษ