วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Ribas & Cultural Exchange Talk


ฝนฟ้ารั่วตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแอบกังวลว่าโครงการ Small Talk ที่เราชวน Ribas หนุ่มอินโด มาพูดคุยในชั้นเรียนวิชา Academic Reading ซึ่งกำลังเรียนบทที่ 2: Local Culture ของแต่ละวัฒนธรรมทั่วโลก ฝนฟ้าอาจจะทำให้โครงการเป็นหมัน

เราเคยบอกหนูนา ซึ่งกำลังเรียนปริญญาโทที่ UUM และเป็นเพื่อนกับ Ribas เอาไว้ว่าเราอยากเชิญเพื่อนอินเตอร์ของหนูนามาเป็นแขกในชั้นเีรียนเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับนิสิตปี 3 เอกอังกฤษ
Ribas ใจดีรับปากว่าจะมาให้ น่ารักจริงๆ



แม้ฝนฟ้าไม่เป็นใจ พี่เยี่ยมและน้องอิ๊บ นศ.ปริญญาเอกและโทของ UUM เพื่อนหนูนา ซึ่งเรารู้จักกันแล้ว ก็มาด้วย โดยพี่เยี่ยมเป็นสารถีหลักในวันนี้และช่วยให้ห้องเรียนลื่นไหลไปด้วยการแชร์ประสบการณ์ของคนไทยที่ไปเรียนมาเลย์และ culture shock เมื่อไปเรียนที่นั่น

Ribas เล่าประสบการณ์ตอนออนทัวร์ไปหลายๆประเทศทั่วโลกว่ามันทำให้เค้าต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ๆของแต่ละที่

เค้าเล่าว่าเค้าชอบอาหารไทยมาก และหาโอกาสข้ามด่านชายแดนไทย-มาเลย์ มากินอาหารไทย อาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาหารโปรดของเค้าคือ "ผัดกระเพรา และแกงส้ม"



วัฒนธรรมเกี่ยวกับชื่อ

เราเพิ่งรู้ว่าวัฒนธรรมอาหรับ ชื่อทุกคนจะต้องมีความหมาย และการหัวเราะบ่อยๆถูกมองว่าไม่ดีเนื่องจากมักเป็นซาตานเท่านั้นที่หัวเราะมากๆ (เอ่อ...ช่างตรงข้ามกับคนไทยที่มักถูกใจเวลาเพื่อนหัวเราะบ่อยๆเพราะนั่นหมายถึงเราเล่าเรื่องตลกและหัวเราะบ่อยๆก็ทำให้ผ่อนคลาย เป็นเพื่อนกันเร็วขึ้น)

ชื่อมูฮัมหมัดที่เรามักเรียกนิสิตมุสลิม หากเป็นคนมาเลย์นั่นยังไม่ใช่ชื่อหลัก เพราะชื่อคนมาเลย์จะประกอบไปด้วย นามสกุล ชื่อตัวเอง ชื่อพ่อ (เรียกไม่ถูกอาจเป็นการเรียกพ่อได้นะเนี่ย)

ส่วนที่อินโดฯ นามสกุลจะเป็นตัวบอกแหล่งที่อยู่ Ribas เล่าว่าหากได้ยินนามสกุลเค้าก็จะพอเดาออกว่าเจ้าของนามสกุลนั้นๆเป็นคนที่ไหน เมื่อเค้าถามชื่อ-นามสกุลนิสิต เค้าเลยถามต่อว่านามสกุลนิสิตบอกแหล่งที่มารึเปล่า

อืม...แค่เรื่องชื่อ ก็คุยกันได้ยาว

วงการบันเทิง

เพิ่งรู้ว่า Ribas ทำงานมาหลายอย่าง นอกจากเคยเป็นนักร้องค่าย Sony Music แล้ว ก็ยังเป็น producer (singer maker) ด้วย แถมยังเคยสอนในมหาลัยและได้ทุนมาเรียนปริญญาเอกที่ UUM มาเลเซีย

เมื่อนิสิตถามว่าหากให้เลือกระหว่างการเป็นนักร้องและการเป็นคนทำงานด้านอื่น จะเลือกอะไร

ในขณะที่พวกเรามักมองอาชีพนักร้อง ดารา ว่าช่างเจิดจรัส และอยากเข้าวงการบันเทิง (อิๆ) เค้าบอกว่าชีวิตนักร้องเหนื่อยมาก แต่ละวันมักอยู่ที่สนามบิน บินไปร้องเพลง และต้องบินไปที่อื่นๆที่ถูกจ้างร้องเพลงอีก เค้าเลยถึงจุดอิ่มตัวและหันมาทำงานเบื้องหลังเป็น producer แทน

เมื่อขับรถผ่านสายถนนติณสูลานนท์ตอนฝนตก เค้าบอกว่าที่นี่น่าถ่าย Music VDO มาก ฮ่าๆ เราตาโตบอกว่าหากเค้าคิดจะถ่ายจริงจังบอกเราได้ เราอยากเป็นผู้ช่วย (ความฝันการทำงานในวงการปะทุเป็นระยะๆ) Ribas บอกว่าเราอาจจะช่วยหานางเอก MV ให้เนื่องจากเห็นนิสิตมหาลัยทักษิณสวยๆตอนที่เค้ามาร่วมงาน Thai Cultural Night เรายกมือเสนอตัวทันที ฮี่ๆ เค้าสะดุ้ง คงคิดว่าเรายกมือเล่นๆ หารู้ไม่เราหมายความตามนั้นจริงๆ (เอ๊ย ม่ายช่าย) แค่ได้มีส่วนร่วมในการผลิต MV เราก็เนื้อเต้นแล้ว อิๆ

ตอนนี้ต้องพยายามเป็นแมวมองหานิสิตหน้าตาดีซักหน่อยแล้ว

---------------

This morning the 3rd year Eng.majors from the Fac. of Humanities  had a good opportunity to meet Ribas, a former singer, producer, lecturer & PhD student from Indonesia. 

He shared his Indonesian cultures and how he adjusted to new environment when traveling to many countries around the world during his concert tour.

Most importantly, he said he loved Thailand especially Thai food that always amazes him. This's the main reason why he crossed Thai-Malaysia border twice a week just to eat Thai food.

Also, big thanks to P'Yiam, Noona & Ib from UUM, Malaysia who joined the class.

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่องเล่าจากเกาะสมุย


เรารู้จักเกดก่อนหน้าที่เกดจะมาเป็นลูกศิษย์เอกอังกฤษ เพราะไปเยี่ยมบ้านเชษฐ เพื่อนอาจารย์รุ่นน้องตอนพา Yukka ไปเที่ยวสุราษฎร์ จนเกดมาสอบสัมภาษณ์เข้ามหาลัย เราก็เป็นคนสัมภาษณ์ร่วมกับอาจารย์ Greg และสอนเกดในวิชาการเขียนเมื่อตอนเธออยู่ปี 3 

เวลาผ่านไปช่างรวดเร็ว ตอนนี้เกดไปเป็นนิสิตฝึกงานอยู่ที่สนามบินนานาชาติเกาะสมุยแล้ว พร้อมความฝันของการทำงานสายการบินของเธอ 

ได้อ่านเรื่องเล่าของเธอ ส่งตรงจากเกาะสมุย ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของคนที่เตรียมพร้อมสู่การทำงาน และความมั่นใจที่มากขึ้นของเธอ จากนิสิตที่ชอบยิ้ม เงียบๆในชั้น เกดได้ฝึกงานที่ตัวเองรักและมีความสุขกับการทำงาน

-------------------------




สวัสดีค่าอาจารย์นก หนู นางสาวสุพัตรา ฝึกงานที่สนามบินนานาชาติสมุย  ภายใต้บริษัท แบ๊กส์บริการภาคพื้น จำกัด (BAGS Ground Service Company Limited) ซึ่งหนูได้ฝึกในทีม Silk Air (MI), Firefly (FY) และ Thai Airways (TG) โดยในช่วงสองเดือนแรกตั้งแต่ 21 .56 – 20 .56 หนูจะทำในทีม Silk Air และ MI ค่ะ และวันที่ 21 .. 56 – 7 .. 57 จะฝึกในส่วนของการบินไทย Silk Air เป็นสายการบินของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Singapore Airline คะ Silk Air จะบินไปยังสนามบิน Changi ในแต่ละวันจะมีเที่ยวบิน MI 771 (ขาเข้า) และ MI 772 (ขาออก) ส่วน Firefly เป็นสายการบินของมาเลเซียค่ะ ซึ่งจะบินไปยังสนามบิน Subang และ Penang



 



ในตอนแรกก่อนหนูจะมาฝึกงานที่นี่ หนูก็กลัวไปต่างๆนานา กลัวว่าจะทำงานได้ไหม จะเข้ากับรุ่นพี่ได้ไหม กลัวว่าจะโดนกดดันจากเพื่อนๆร่วมงาน แต่พอได้มาทำ มันไม่ใช่อย่างที่หนูคิดเลย พี่ๆในทีมดีมาก คอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และสอนงานเป็นอย่างดี หนูก็สามารถทำได้โดยในบางครั้งอาจจะผิดพลาดบ้าง เช่น ส่งเอกสารผิดห้องบ้าง ส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ผิดคนบ้าง แต่พี่ๆก็ไม่เคยว่าอะไร จะคอยบอกว่าไม่เป็นไร หนูรู้สึกประทับใจมากคะ ในวันแรกที่หนูกับบิวไปฝึกงานก็ไม่รู้สถานที่อะไรเลย หาพี่พนักงานและออฟฟิศไม่เจอเพราะออฟฟิศอยู่ชั้นบนถ้าไม่ใช่staff ก็เข้าไปไม่ได้ แต่โชคดีมากที่เจอเพื่อนที่เค้าฝึกงานอยู่ก่อนแล้วเค้าเดินมาเจอหนูกับบิวแล้วก็ถามว่าเราเป็นเด็กฝึกงานใหม่ใช่ไหม แล้วเค้าก็พาไปออฟฟิศไปหาพี่ๆในทีม คอยสอนงานหนูแล้วก็คอยให้ความช่วยเหลือต่างๆทั้งๆที่เค้าเป็นเด็กที่เรียนธุรกิจการบินของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพ ซึ่งในความคิดของหนูในตอนแรกคือเค้าเรียนการบินมาโดยตรงแล้วเค้าจะไม่ดีกับเราไหม เค้าจะหยิ่งรึเปล่า แต่จริงๆแล้วเค้าดีกับเรามากแล้วเราก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกันค่ะ ในช่วงแรกที่มาทางบริษัทมีการอบรมให้ด้วยค่ะ เป็นการอบรมเกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับแอร์ไลน์  ช่วงสัปดาห์แรกของการทำงานยอมรับเลยว่าเหนื่อยเพราะหนูไม่ชินที่ต้องเดิน หรือยืนนานๆ แต่พอสัปดาห์ต่อมาก็สามารถปรับตัวได้คะ ไม่รู้สึกเหนื่อยกับการทำงานเลยเพราะงานสนุกมากแต่ละวันจะมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน จะสลับวนไปเรื่อยๆ หน้าที่ของหนูในแต่ละวันก็เหมือนกับพนักงานหนึ่งคนค่ะ แต่หน้าที่ที่พี่เค้ายังไม่ให้เด็กฝึกงานทำคือการเช็คอินระบบของ Silk Air เพราะระบบซับซ้อนและผู้โดยสารมีจำนวนมาก แต่พี่เค้าเคยให้หน้าที่ในการเช็คอินของ Firefly คะ เพราะผู้โดยสารไม่เยอะมาก พี่ที่assist หนูก็คอยบอกหนูคะว่าต้องกดหรือพิมพ์อะไรลงไปบ้าง หนูก็สามารถผ่านมันมาได้ด้วยดีคะ




 ผู้โดยสารส่วนใหญ่ที่เจอก็จะเป็นชาวต่างชาติ เคยเจอคนไทยแค่สองครั้ง การฝึกในทีมMI และFY ก็จะค่อนข้างได้ใช้ภาษาอังกฤษเยอะอยู่เหมือนกันเพราะเค้าจะถามคำถามต่างๆ ถ้าหนูไม่รู้หนูก็จะให้พี่ในทีมมาคุยให้ค่ะ มีอยู่ครั้งหนึ่งค่ะ หนูมีหน้าที่ไป Board ผู้โดยสารของFY ก็คือไปส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องนั่นแหละค่ะ แล้วผู้โดยสารกำลังขึ้นบันไดแล้วหันมาถามประมาณว่า อะไรเตอร์ๆ ซักอย่าง เพราะเสียงเครื่องบินก็ดังได้ยินไม่ชัด หนูกับพี่ที่เป็น TCO ก็มองหน้ากันแล้วก็งง คือหนูกับพี่เค้าได้ยินว่า water เหมือนกันคือก็งงว่าถ้าลืมน้ำไว้ในรถรางแล้วยังจะเอาอีกเหรอ แต่พอตอนหลังเค้าก็ทำท่าทาง หนูกับพี่เค้าก็เลยหัวเราะกันเลย คือเค้าถามถึง Stroller ของลูกเค้า พี่เค้าก้อเลยบอกไปว่ารถเข็นของลูกขึ้นได้โหลดข้างเครื่องไปแล้ว อย่างเคสอื่นๆที่มีก้อคือเครื่องดีเลย์ แต่ก็ไม่ได้นานมากค่ะผู้โดยสารก็ไม่ได้โวยวายอะไร หนูยังไม่เคยเจอเคสหนักๆแล้วก็ผู้โดยสารที่โวยวายนะคะ



การฝึกงานของหนูตอนนี้เป็นไปอย่างราบรื่นทุกอย่าง หนูมีความสุขในทุกๆวันค่ะ หนูพยายามเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆทุกวัน ต้องทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วอยู่ตลอดเวลาคอยรับฟังคำสอนของพี่ๆตลอดเวลา สิ่งสำคัญในการฝึกงานคือการอ่อนน้อมถ่อมตน ความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน สามสิ่งนี้จะทำให้เรามีความสุขในการทำงาน สุดท้ายนี้ต้องขอบพระคุณอาจารย์นกมากนะคะ ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้หนู ถ้าไม่มีอาจารย์หนูคงไม่ได้มาฝึกงานที่นี่และได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆที่ดีแบบนี้ค่ะ

-----------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

'Maak' A Cat Story & วันแมวๆ





วันนี้ร่วมภารกิจช่วยเหลือแมวกับ Kira อีกครั้งหลังจากปีที่แล้วก็เคยพาแมวป่วย(จากโดนหมาขย้ำ)
ไปหาคลินิคสัตว์มาแล้วครั้งนึง

Kira เป็นคนรักสัตว์มาก - มากที่สุด และเมื่อเพื่อนที่เธอมีที่สงขลาคงเป็นเราที่เธอสนิทที่สุด 
เมื่อมีภารกิจช่วยชีวิตสัตว์ เธอจึงโทรหาเราเพื่อให้มาร่วมด้วยช่วยกันอยู่เสมอ

ไอ้เราก็ไม่ได้เป็นคนรักสัตว์อะไรนักหนา แต่เมื่อเห็นฝรั่งช่วยเหลือสัตว์ไทยขนาดนั้น เราจะไม่ทำอะไรเลยก็ดูเหมือนเสียชื่อ "ความมีน้ำใจอย่างไทย" ไปซักหน่อย 





ปีที่แล้วเธอโทรหาเราให้รีบไปหาที่สำนักงานด่วน เพราะเห็นแมวซึ่งอยู่ในสภาพน่าสงสารมาก อาการแย่ พวกเราสองคนเลยต้องเอาแมวใส่กล่องและพาไปหาคลินิคสัตว์ " ศรีสัตวแพทย์" ตรงถนนไทรบุรี 
เป็นครั้งแรกของเรากับการเข้าคลินิคสัตว์ คุณหมอยังไม่มา และพวกเราก็รอไม่ได้เนื่องจากเรามีสอนประมาณสามโมงเย็นเลยต้องกลับมาก่อน ด้วยการเดิน! คิร่าอยากประหยัดเงินก็ไม่เลยไม่นั่งตุ๊กๆ ไอ้เราจะปล่อยให้เค้าเดินแล้วตัวเองนั่งตุ๊กๆก็คงไม่ดี เลยเดินกันตั้งแต่คลินิคศรีสัตวแพทย์ - มหาลัย กลับมาถึงมหาลัย เหงื่อท่วมตัวเข้าห้องเรียน แฮ่กๆ

เราขอร้องให้นิสิตที่สนิทช่วยเอาแมวกลับมาไว้ที่หอพักปาริชาต 2 ให้พวกเราหน่อยและฝากเงินค่าทำแผลไปให้คุณหมอ 250 บ.


น่าแปลกที่ Kira โดนหมากัดตอนมาถึงไทยใหม่ๆเมื่อปีก่อนจนไม่สบายมากๆ ตัวบวม แต่เธอก็ไม่ยักจะกลัวมัน หากเป็นบางคนเค้าอาจจะติดภาพความแย่ของสัตว์และไม่อยากช่วยเหลือสัตว์อีกเลย แต่สำหรับเธอๆยังหาโอกาสช่วยเหลือทั้งหมา แมว อยู่เนืองๆ (และดึงเราเข้าไปมีส่วนร่วม)

ก่อนหน้านี้เธอก็เคยโทรหาตอนวันหยุดเพื่อให้ช่วยอธิบายกับคุณตำรวจที่ป้อมยามหน่อย ว่าเห็นหมามันติดอยู่ในคู ขึ้นไม่ได้ เธออยากให้คุณตำรวจไปช่วยมันหน่อย เราอธิบายสถานที่กันอยู่ตั้งนานเนื่องจากต้องเป็นล่ามระหว่างเธอกับคุณตร. 

ครั้งนี้แมววัย 3 อาทิตย์ขาหัก เธอเลยพามันไปส่งคลินิคแต่ว่าไม่มีเงินจ่าย เลยอยากให้เราช่วยคุยกับคุณหมอให้ 

คุณหมอเอกสุวัชร์ ใจดีมากๆ ไม่คิดเงินค่าดูแลแมว ซึ่งคิร่าเอาไปฝากไว้ที่นั่นตั้ง 3 วัน (จริงๆแล้วค่าใช้จ่ายในการดูแลตกวันละ 250 B.) และเราสังเกตเห็นป้ายอาบน้ำให้แมวก็ปาเข้าไป 200 B. 

เราขอบคุณคุณหมอแทนคิร่า คุณหมอบอกว่าไม่เป็นไร ถือว่าเป็นการทำบุญร่วมกัน

อยากตบมือให้คุณหมอดังๆกับความมีน้ำใจ และการไม่แสวงหาผลกำไรเมื่อเห็นมันเป็นลูกแมวที่ไม่มีเจ้าของ  

คิร่าบอกว่าเค้าอยากตอบแทนด้วยการมาช่วยงานที่นี่ เราเลยเสนอให้ช่วยสอนภาษาฯให้คุณหมอและทีมงาน (เพราะคนไทยส่วนใหญ่หากเจอชาวต่างชาติเค้ามักจะอยากฝึกภาษา) 

ไปคลินิควันนี้เลยเป็นวันดีที่ทำให้เห็นความมีน้ำใจของคุณหมอ พี่ๆที่คลินิค ถึงพวกเราจะเพิ่งรู้จักกันเป็นวันแรกแต่ด้วยน้ำใจดีๆทำให้บทสนทนาเป็นไปอย่างถูกคอ




เมื่อกลับมาถึงหอพักนิสิตปาริชาต 2 เราก็ติดต่อบิว นิสิตปีสามเอกอังกฤษเพื่อฝากแมวเลี้ยงไว้สัก 1 อาทิตย์ เพราะอาทิตย์หน้าเราต้องพามันไปเช็คอาการที่คลินิคอีก บิวและเบล(น้องสาว) ยินดีรับฝากแมว และพาเรากับคิร่าขึ้นชั้นสี่ไปห้องพักเพื่อดูสถานที่เลี้ยงแมว 

โอ๊ะ คิร่าเจอ"เจ้าโชคดี" แมวที่ช่วยเหลือเมื่อปีที่แล้ว และไม่รู้ว่ามันหายไปไหน เนื่องจากนิสิตหอเอาไปช่วยเลี้ยงเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ เค้าตื่นเต้นมาก นิสิตห้อง 2415 ช่วยเลี้ยงมันเอาไว้ ทั้งๆที่เมทห้องนี้สามคนหอบหืดกันทั้งนั้นแต่ก็รักแมวกันมาก แถมห้องนี้ยังมีหนู hamsters อีก 2 ตัว โอ้ว!

นับว่าเจ้า "โชคดี(มาก)" โชคดีมากๆที่เจอคนใจดีในวันนี้







------------

**รู้สึกดีใจที่คนสงขลาใจดี**

Fulbright Thailand, main supporters for volunteer work


เมื่อเราทำงานอาสาสมัครที่สามารถโยงเข้ากับงานของ Fulbright Thailand ได้ เราก็ไม่รอช้าที่จะส่งข่าวบอกพี่ทิพย์ (ผอ.) และพี่ปูน ซึ่งส่งเสริมให้ศิษย์เก่า Fulbright ทำงานช่วยเหลือสังคมอย่างสม่ำเสมอ  ในฐานะผู้ที่ได้รับทุนจากฟุลไบรท์และสำนึกในบุญคุณของการได้ทุนเพื่อพัฒนาตนเองที่อเมริกา เมื่อเราริเริ่มโครงการการอ่านเพื่อคนตาบอด ทั้งสองคนเลยเป็นคนที่เราอยากบอกข่าว

เมื่อปีก่อนตอนสอนวิชา Analytical Reading  เราทำโครงการแลกกันอ่าน และเขียนเรื่องร่วมกับนิสิตไปลงวารสาร Fulbright ปลายปีนี้เราเลยต่อยอดความคิดโดยเน้นประเด็นการอ่านเหมือนเดิม ตามประสาหนอนหนังสือตัวเบ้ง 

พี่ทั้งสองยังเป็นคนที่คอยให้กำลังใจศิษย์เก่าฟุลไบรท์ด้วยการเผยแพร่เรื่องราวดีๆ และตอบอีเมลแบบทันใดเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทำงาน เราจะจดจำนิสัยดีๆนี้เอาไว้มาเป็นนิสัยประจำตัว
--------------
21/11/13


Hi P'Tip & P'Poon,

Greetings from Nok, a former Humphrey fellow 2011-2012.
It's been raining a lot these days in Songkhla. Hope everyone at Fulbright Thailand have a pleasant week.

 I just want to update my news before New Year 2014 about my new reading project that as I'm teaching 'Academic Reading' lately, I've launched a project of reading an audio book for the blind with my 74 students from this course and happily they all agreed to voluntarily work in a group reading selected books for the blind.  We're excited of this program as it's going to be our plan to make it as a new year gift for the needy on behalf of the 3rd year Eng. majors.  I'll collect  the audio books and enclose  a new year card signed by some Eng. major students to the Educational Technology Center in BKK. before new year.

(Two years ago, I sent a story about my sharing book project to publish in Fulbright booklet and if possible, I'll ask 2-3 students to write about their experience again.)

This kind of project " โครงการปั้นฝันด้วยพลังเสียง" should be spread, I think. My suggestion is probably if Fulbright adds this news in the FB page, there might be some alumni do it, I hope.
For more details, please take a look at FB: Read for the blind โครงการ ปั้นฝันด้วยพลังเสียง


----------

Nok ka, so good to hear from you and feel the positive energy pouring
out all the time ka. So proud of you ka!

Great project for the kids to do for the blind-- practice reading
correctly too ka. I read a book once and learned a lot from that
exercise. Would love to do more if time allows particularly for
smaller kids.

Keep going na ka... Lots to do!

I'm coming to Hat Yai next year.... Sounds so far ner to give talks
about Fulbright and ASEAN. Would hope to see you ka. Will keep you
posted.

Take care and thanks again for the wonderful news that has made me so happy ka.


Ptip



-----------------------

Ajarn Nok kha,

You're always on the move! Congratulations kha! It seems your reading project has been constantly developed while your passion and energy have been absorbed by your students. I can feel their excitement, eagerness and proud about the project and about themselves.

In fact, I've just re-read the article you and your students wrote for our booklet as I was reformatting it in e-book. Would be nice to have Part II of the story na kha. If you and your students can write 1-2 pages about your new project by the end of this month, I can include it in the year-end booklet kha.

Will link your project with our Fulbright Thailand Fanclub for other alumni and our friends who share similar interest na kha.

Good job!

P'Poon


-------------------

Audio book, a new year gift for the blind


สิ่งหนึ่งที่มักจะค้างคาใจเราตามประสาคนช่างสงสัยคือ ลิงค์ที่มีประโยชน์เมื่อถูกแชร์ต่อๆ จะมีกี่คนที่ลุกขึ้นมาทำมัน ที่เห็นส่วนใหญ่คือการคลิก 'like'

จากสถิติลิงค์ดีๆมักได้รับการแชร์ต่อ แต่การช่วยเหลือหรือการลงมือทำยังน้อย

อืม ...แล้วทำไมเราต้องเป็นกลุ่มคนนั้นๆที่ปล่อยให้โอกาสการทำดีผ่านไป ทั้งๆที่มันไม่ยาก แค่ใส่ใจและเก็บมาต่อยอดก็น่าจะทำอะไรดีๆเพื่อสังคม และถือเป็นโอกาสการให้ของขวัญปีใหม่กับคนที่อาจจะด้อยโอกาสกว่าเราได้

ตอนแรกเราออกแนวลังเลเล็กน้อย เพราะรู้สึกว่าตั้งแต่ตค.-พย.56 เราทำกิจกรรมค่อนข้างเยอะแล้ว อาจจะเท่ากับที่คนบางคนสามารถทำได้ทั้งปี ถ้าเค้าจะทำ

ไม่ว่าจะเป็น
1.  การพานิสิตไปแสดงงาน Cultural Night, UUM ก็ต้องเตรียมนิสิตก่อนล่วงหน้า  (25-26/10/13)

2.เตรียมนิสิตโครงการ Cultural Exchange between TSU & Nagoya University

3. เตรียมนิสิตเพื่อเข้าร่วมงาน IMT-GT Carnival ของมหาลัยแถบภาคใต้ร่วมกับมหาลัยอินโดฯและมาเลเซีย (22-27/11/56)

4. ที่กำลังจะทำคือเป็นที่ปรึกษาพานิสิตเอกอังกฤษเข้าร่วมแข่งขัน Singha English Challenge
วันที่ 30 พย.56


เมื่อโอ๋แชร์ลิงค์เรื่อง "โครงการปั้นฝันด้วยพลังเสียง Read for the blind" มาให้เราพักนึงแล้ว แต่เมื่อมันต้องใช้ smart phone เราก็นิ่งๆไปเนื่องจากไม่มี

จนเมื่อฟ้าส่งนิทานเสียงมาให้และให้เราช่วยบริจาคต่อให้น้องๆโสสะ เราก็มาเริ่มคิดและตั้งคำถามว่าหากเราชวนนิสิตวิชาการอ่านเข้าร่วมโครงการ "ให้ด้วยการอ่าน" นิสิตจะเอาด้วยมั๊ยนะ

เราอยากให้นิสิตใช้เทคโนโลยี smart phone อย่างสร้างสรรค์และทำอะไรดีๆด้วยจิตอาสาเพื่อสังคม และเอกอังกฤษยังไม่เคยทำอะไรลักษณะนี้มาก่อน น่าจะเป็นการดีหากพวกเราได้ทำความดียกแก๊งค์ และยกเครดิตให้นิสิตเอกอังกฤษ

เอาล่ะ  เราพร้อมแล้ว เราเริ่มด้วยการเข้าไป FB: read for the blind เพื่อต่อยอดและหาข้อมูลมาเล่านิสิต ที่นี่มีคลิปการอ่านหนังสือเสียงแบบง่ายๆไว้ด้วย เอาไว้ให้มือใหม่ได้ศึกษา

------------
รุ่งเช้าเราให้น้องปุ๊ช่วยสอนการโหลด app ให้และเมื่อเข้าห้องเรียนวิชาการอ่านทั้งสองกลุ่ม เราก็ปชส.โครงการนี้กับลูกศิษย์ เปิดคลิปความยาวสี่นาทีเรื่องการอ่านหนังสือเสียง และเปิดนิทาน "หมูยอดกตัญญูกับหมูรัฐมนตรี" ที่ฟ้าอ่านเอาไว้ให้นิสิตฟัง นิสิตฟังแล้วก็เคลิ้มไปกับเรื่องของฟ้า อยากฟังต่อเมื่อเราเปิดให้ฟังแค่ 3 นาที (นิทานของฟ้ามี sound effect ยังกะการ์ตูนมาเอง ทำให้เนื้อเรื่องมันน่าสนใจมากขึ้น ฟ้าบอกว่าแฟนเป็นคนหาเสียงมาใส่ให้ และนิทานทั้ง 7 เรื่องที่ฟ้าส่งมาให้เป็นนิทานที่ออกอากาศทางสวท.ตะกั่วป่าแล้ว นับว่านิทานของฟ้าแพร่หลายไปไกล)

---------------

ตกเย็นเราส่งอีเมลไปหาพี่ปูนกับพี่ทิพย์ แห่ง Fulbright Thailand เพื่อเล่าโครงการการอ่านนี้ให้ฟัง พี่ทั้งสองยังเป็นผู้เสริมแรงที่ดีดังเดิม เพราะอีเมลตอบกลับมาเร็วมากว่า ดีใจที่เรายัง active ในการทำการทำกิจกรรมอาสาสมัครเสมอต้นเสมอปลาย

การได้ทุนไปอเมริกาก็มีผลกับความคิดในหลายๆเรื่องของเรามากขึ้น เช่น เมื่อเข้าห้องสมุดของอเมริกา โดยเฉพาะตอนที่เราไปห้องสมุดประชาชน Schlow  Library, Penn State University, เราเห็นหนังสือเสียงเยอะมาก และที่ร้านหนังสือทั่วไปของอเมริกาก็มีการขาย audio book เป็นเรื่องเป็นราว มันทำให้เรารู้สึกว่าคนตาบอดที่นี่มีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และโอกาสดีๆในชีวิตมากกว่าที่ไทย เพราะเค้ามีประชากรที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของผู้พิการทางสายตา หนังสือเสียงที่นั่นมีหลากหลาย ทุกประเภท จนเราคิดว่าคนตาบอดที่นั่นคงไม่เหงาเท่าไหร่

----------


วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Sanskrit & Jenga ( Wooden block game)



Heard that to keep mentally active, one should learn new things frequently, so my frequent New Year resolution is looking around and check what I could do to sharpen my brain.

Hurah! 2 challenges are found!




1. Studying Sanskrit with the 3rd - year Thai major students. Assoc. Prof. Anan who's teaching this subject's very kind to allow me to sit-in his class. 






2. Jenga, the game that can help me concentrate on what I do at that moment. A player has to carefully take 1 piece of wooden block each time without causing it to fall down. If so, he/she has to start a game again.

ดีใจจังมีภาษาใหม่ให้เรียนแล้ว หลังจากเรียนภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน อาทิ ฝรั่งเศส เกาหลี ญี่ปุ่น จีน มลายู เยอรมัน อังกฤษ  ขอย้อนเวลากลับไปเรียนภาษาสันสกฤต


เราสงสัยมาตั้งแต่ตอนเด็กว่าทำไมหนังสือทางพุทธศาสนาต้องใช้ภาษานี้ คำสวดต่างๆก็มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ได้เวลาหาคำตอบแล้ว รศ.อนันต์ อารีพงศ์ใจดีมาก เมื่อโทรศัพท์ไปขออนุญาตนั่งเรียนร่วมกับนิสิตเอกไทยปี 3 ท่านตกลงทันที ไม่มีลังเล เย้!!

เปลี่ยนบทบาทจากยืนหน้าห้อง มาเป็นผู้(นั่ง)เรียนบ้าง สนุกแน่ๆ เริ่มเรียนวันจันทร์ที่ 11/11/56 นี้แล้ว เรากะว่าจะไปหาหนังสือห้องสมุดมาอ่านพลางๆช่วงเสาร์-อาทิตย์นี้ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน อิๆ พยายามทำตัวเป็นนักเรียนชั้นดี :)

เพื่อให้สมองเฉียบคมเตรียมเรียนภาษาสันสกฤต เราซื้อ *เกมไม้จังก้า หรือเกมตึกถล่มมาเล่น กะว่าเป็นการฝึกสมาธิและฝึกทำอะไรช้าๆบ้าง เคยยืมของน้ำมาเล่นแล้วติดใจ จนเมื่อเอาไปออกค่ายที่สตูล ลืมไว้ที่รร. เลยไม่ได้เล่นอีกเลย จนเมื่อวานซืนเราไปห้องสมุดเพื่อร่วม workshop: Teaching in the 21st Century ที่หอสมุด 


ตอนเที่ยงออกมาเดินดูหนังสือที่ขายด้านหน้า เห็นมันอีกครั้ง เข้าไปสืบราคา อยู่ที่ 350 บ. เลยตัดใจซื้อเพื่อเอามาฝึกการทำอะไรช้าๆ (เป็นคนทำอะไรช้าๆไม่เป็น) และฝึกสมาธิให้จิตนิ่ง โอม.....

-------------
หมายเหตุ: เกมตึกถล่ม เล่นง่ายๆโดยการพยายามดึงไม้ออกทีละอัน ดึงไปเรื่อยๆ ไม่ให้บล๊อคล้ม ต้องดึงอย่างเบามือมากๆเลยล่ะ เพื่อรักษาฐานของมันไม่ให้ล้ม