วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

Book Review: ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต






ผู้เขียน:  Lai Dong Jin 
ผู้แปล: วิลาวัลย์ สกุลบริรักษ์
ผู้แนะนำ: เมย์

                หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออัตชีวประวัติเล่าเรื่องราวชีวิตของเด็กชายขอทานคนหนึ่งและครอบครัวของเขาอีก       14 ชีวิตที่เขาต้องดูแลโดยการขอทานแลกอาหารเพื่อความอยู่รอด
                ก่อนอื่นฉันอยากจะเล่าถึงที่มาที่ได้รู้จักหนังสือเล่มนี้สักนิด วันนั้นมหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาและได้เชิญวิทยากรท่านหนึ่งมาบรรยาย ในขณะบรรยายท่านได้พูดถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ไล่ตงจิ้น ลูกขอทาน

ฉันเพิ่งได้ยินชื่อหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก วิทยากรเอ่ยถึงขนาดนี้คงจะเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์แน่ๆ ฉันคิดและอดไม่ได้ที่จะจดชื่อไว้ หมายมั่นว่าจะไปหาอ่านสักครั้ง จนอาจารย์ของฉันได้เอาหนังสือเล่มนี้มาให้ฉันอ่าน (ได้อ่านเร็วมากเลยค่ะ)  ตอนแรกที่ได้มาคิดว่าคงจะอ่านไม่จบแล้ว เพราะว่าเป็นคนอ่านหนังสือช้าแต่อ่านไปอ่านมาก็ใช้เวลาอ่าน 2 วันเต็มๆจนจบ (มันนานไปไหมคะ อิอิ)
                ฉันอ่านตั้งแต่หน้าปกและพลิกอ่านไปเรื่อยๆ  ทยอยอ่านไป ทีละหน้าและจินตนาการ นึกภาพชีวิตของเขา (ต้องอ่านช้าๆนิดนึงนะคะ ผู้อ่านจะสามารถนึกภาพชีวิตเขาตามได้) ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งหมด 49 ตอน และบทส่งท้าย น่าติดตามทุกตอนเลยค่ะ
                “ไล่ตงจิ้น เริ่มขอทานตั้งแต่อายุ 5 ขวบเพื่อเลี้ยงดูพ่อที่ตาบอด แม่กับน้องชายที่สติไม่ดี และพี่น้องของเขาอีก 14 คน เขากับพี่สาวของเขาเป็นหัวเรือใหญ่นำพาครอบครัวเร่ร่อนไปขอทานตามที่ต่างๆ แน่นอนว่าชีวิตของเขาต้องพบพานกับอุปสรรคมากมาย ทั้งดูแลพ่อ แม่ และน้องซึ่งก็ลำบากอยู่แล้ว ผู้คนที่เขาเที่ยวไปขอทานก็ดูถูกเขาอีก แต่จากชีวิตของเขามีอะไรหลายอย่างที่ซ่อนอยู่เป็นข้อคิดดีๆมากมาย
                ฉันอยากแบ่งปันประโยคดีๆ จากหนังสือเล่มนี้ค่ะ
 มีประโยคหนึ่งบอกว่า ความจนสอนให้เราเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยน และการปรับเปลี่ยนทำให้ผ่านอุปสรรคไปได้ และนี่คือปรัชญาของการอยู่รอด  
                มีประโยคหนึ่งที่ไล่ตงจิ้นบอกกับตัวเองไว้ว่า ผมบอกกับตัวเองว่า การตอบแทนพระคุณพ่อแม่นั้นควรจะทำให้ทันเวลา และควรทะนุถนอมสิ่งที่มีตอนนี้ให้ดีที่สุด แต่ไหนแต่ไรมาตราบจนกระทั่งวันนี้ ผมไม่เคยโกรธหรือคิดที่จะกล่าวโทษพ่อแม่เลยอาจเป็นเพราะผมได้ข้อคิดนี้ตั้งแต่อายุสี่ขวบก็เป็นได้
                “ใบประกาศเกียรติคุณแผ่นบางๆ เทียบไม่ได้กับอาหารที่เขาขอทานมาได้สักมื้อ
เกียรติยศเทียบอะไรไม่ได้กับการหาที่ซุกหัวนอน ที่พอจะใช้กันแดดบังฝนให้คนทั้งครอบครัว

 นี่เป็นเพียงประโยคจากบางบทบางตอนจากหนังสือ อ่านแล้วก็ชวนให้ฉุกคิด
                เรื่องราวของไล่ตงจิ้นอ่านแล้วได้ทั้งข้อคิด กำลังใจ ได้เห็นชีวิตแนวคิดของคนขอทาน การต่อสู่ชีวิตฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนได้ดี (ต่อมาไล่ตงจิ้นกลายบุคคลที่มีชื่อเสียงของประเทศไต้หวัน) หากใครที่รู้สึกท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจ หรืออยากอ่านเปิดมุมมองความคิดให้เห็นชีวิตของคนอีกด้านหนึ่ง  รับรองว่าหนังสือเล่มนี้มีครบทุกอย่างให้อ่านเลยค่ะ อาจกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่สร้างกำลังใจให้แก่ผู้อ่านก็ได้นะคะ (รวมถึงผู้เขียนด้วย อิอิ)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




2 ความคิดเห็น:

  1. "ความจนสอนให้เราเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยน และการปรับเปลี่ยนทำให้ผ่านอุปสรรคไปได้ และนี่คือปรัชญาของการอยู่รอด"

    จริงนะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คนจนๆมักจะเข้าใจชีวิตคนจนด้วยกันดี หลายครั้งที่คนจนดูมีน้ำใจกว่าคนรวยก็เพราะเหตุนี้ เพราะเข้าใจความจน (จำเป็นต้องเข้าใจ)

      ลบ