วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

Tuesday with Morrie VS The Last Lecture




เย้!! ในที่สุดเราก็อ่านหนังสือ Tuesday with Morrie จบซะที ใช้เวลายาวนานมาก ประมาณ 3 ปี เราซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬา ตอนไปกับโอ๋ จำไม่ได้ว่าตอนนั้นไปศูนย์หนังสือฯทำไม เป็นหนังสือที่ภูมิใจมากที่ตอนซื้อมามันลดราคาเหลือ 180.

เรา ค่อยๆละเลียดเรื่องนี้อ่านเรื่อยๆ จนอ่านจบเมื่อวานนี้เนื่องจากตั้งใจไว้ว่าปิดเทอมนี้จะต้องกวาดหนังสือที่ อ่านเอาไว้ครึ่งเล่มหรือเกือบจบให้จบซักที

เรื่องต่อไปของเราคือ The Last Lecture ตอนนี้มาได้ครึ่งทางแล้ว หนังสือความยาว 206 หน้า เราอ่านถึงหน้า 147 แล้ว

จริงๆทั้ง 2 เรื่องอ่านแล้วก็ติดนะ วางไม่ลง ( แฮ่ แต่พอวางทีไหนก็เผลอไปหยิบเล่มอื่นๆมาพลิกๆ สุดท้ายก็อ่านไม่ถึงไหนซักที)


Theme ของทั้ง 2 เรื่อง เป็นเรื่องคนที่รู้ตัวว่าจะตายจากโรคภัยไข้เจ็บและมีวิธีรับมือกับความตาย ที่จะมาถึงได้อย่างสงบและยังสามารถสอนคนอื่นให้ปลงและไม่เศร้ากับการตายของ ตน


ช่างน่าบังเอิญที่ทั้ง Morrie จากเรื่อง Tuesday with Morrie และ Randy จาก The Last Lecture เป็นอาจารย์ทั้ง 2 คน


Tuesday with Morrie เป็นเรื่องของลูกศิษย์คือ Mitch ซึ่งจะมาเยี่ยมอาจารย์ของตนทุกวันอังคาร เลยเกิดเป็นชื่อเรื่องนี้ มาแต่ละครั้งกลายเป็นว่าแทนที่ Mitch จะเป็นคนปลอบอาจารย์ กลายเป็นอาจารย์ที่คอยสอนแง่คิดชีวิตให้เค้า จากที่เค้าตั้งใจมาให้ กลายเป็นเค้ามารับจากอาจารย์


หาก ใครมีเรื่องเศร้าเกี่ยวกับความตายของคนใกล้ตัว แนะนำเรื่องนี้ให้อ่าน มันจะทำให้เห็นว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่หากเรายอมรับได้ก็จะใจสงบ เค้าสอนว่าหากเรารู้แน่ว่าวันไหนที่จะต้องตาย มันจะทำให้เค้าเตรียมตัวไว้ก่อนและใช้ชีวิตในปัจจุบันอย่างมีสติและอย่าง คุ้มค่า


เราชอบที่ Morrie คิดจะให้แกะหินฝังศพ*ตัวเองว่า Teacher to the Last ( ครูจนวันสุดท้าย) ช่างเหมาะกับตัวเค้าที่สอนลูกศิษย์จนแม้เมื่อวาละสุดท้ายของชีวิตมาถึง (ธรรมเนียมตะวันตกเมื่อมีผู้เสียชีวิตก็จะมีการแกะสลักหินเพื่อบรรยายถึงผู้ ตาย*)






The Last Lecture ชื่อเรื่องมาจากธรรมเนียมของหลายๆมหาลัยในอเมริกาที่เปิด forum ให้อาจารย์ที่ได้รับเชิญมา lecture โดยมีแนวคิดว่าหากต้องให้เลคเชอร์เป็นครั้งสุดท้ายจะหยิบประเด็นสำคัญอะไรมาพูด โดยนิสิตจะเข้าหรือไม่เข้าก็ได้ เป็นความสมัครใจที่จะฟัง อาจารย์คนใดที่ลูกศิษย์ชอบก็จะมีคนมาฟังเต็ม hall


เมื่อ Randy ป่วย และรู้ว่าตัวเองต้องตาย เค้าก็เลยเขียนเรื่องราวการเล็คเชอร์ของเค้าเอาไว้ทั้งเรื่องความสนุกสนานใน ชีวิต การเห็นคุณค่าของชีวิต การผจญภัยและบทเรียนที่ได้ รวมทั้งการใช้ชีวิต


หนังสือ ของเค้าน่าอ่านเพราะแบ่งเป็นตอนๆ ไม่ทำให้ผู้อ่านเบื่อและสามารถทิ้งค้างเอาไว้แล้วกลับมาอ่านใหม่อีกทีได้โดย ไม่สับสนเพราะจบในตอน (อิๆ ผู้อ่านอย่างเราเลยวางตั้งๆ)


ลองดูปรัชญาเรื่องการบ่นของ Randy


Don’t complain, just work harder.
Too many people go through life complaining about their problems.  I’ve always believed that if you took one tenth the energy you put into complaining and
applied it to solving the problem, you’d be surprised by how well things can work out.

(คนส่วนมากใช้เวลาไปกับการบ่นเรื่องปัญหาต่างๆ ผมเชื่อว่าหากคุณใช้พลังแค่ 1ใน 10 ของคุณจากการบ่นไปแก้ไขปัญหา คุณจะต้องประหลาดใจที่สามารถใช้พลังนั้นแก้ปัญหาได้ดีเพียงใด ( ทั้งที่ใช้พลังเพียงแค่ 1ใน 10)
ย้อนไปเมื่อช่วงสอบปลายเดือนกพ.นิสิตปี 3 เอกภูมิศาสตร์เสียชีวิตพร้อมกัน 3 คนจากอุบัติเหตุ เป็นอีกวันหนึ่งที่ทำให้เราคิดเรื่องความตาย


ตอนเด็กๆเคยตั้งอายุตัวเองเอาไว้ที่ 70 กว่าปี แต่เมื่อโตขึ้นเรื่อยๆเห็นโลกมากขึ้น (ตามอายุและอาการขี้ลืมที่มากขึ้น แฮ่ม) ก็เริ่มรู้ว่าเราไม่มีทางรู้ว่าอายุขัยของตัวเองเท่าไหร่กันแน่

เสียดายบางคนที่ต้องตายทั้งที่ยังไม่ถึงวัยอันควร บางคนเป็นความหวังของครอบครัว

การใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทคงเป็นเรื่องดีที่สุด เพราะสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือความไม่แน่นอน

การอ่านหนังสือ 2 เล่มนี้ในเวลาไล่เลี่ยกันทำให้เราได้ฉุกคิดเรื่องนี้
นี่คงเป็นอย่างที่ว่า หนังสือส่งผลต่อชีวิตคนอ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากคนอ่านนำไปคิดต่อ






เพิ่งรู้ว่าเรื่อง Tuesday with Morrie เป็นหนังด้วย ไว้จะต้องหามาดู แต่น่าจะหายากแฮะเพราะมันไม่ใช่หนังตามกระแส

ชอบที่โปสเตอร์หนังโปรยไว้ว่า "When you know how to die, you know how to live"
เมื่อคุณรู้ว่าจะตายอย่างไร คูณก็จะรู้วิธีที่จะใช้ชีวิต(ที่เหลือ)

*********************************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น