วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ครอบครัวตึ๋งหนืด



บางครั้งได้อ่านหนังสือการ์ตูนเด็กๆซะบ้างก็ดี เราห่างหายกับมันไปนาน เพราะเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เราก็พยายามอ่านหนังสือหลากหลาย จนหลงลืมหนังสือการ์ตูนในวัยเด็ก

เราเห็นการ์ตูน "ครอบครัวตึ๋งหนืด" มาพักใหญ่ๆ เคยพลิกๆดูชื่อตอน แล้วก็รู้สึกว่าไม่เหมาะกับเรา เช่นตอน "ตะลุยขุมทรัพย์"  "ตามล่าไดโนเสาร์" (ชื่อประมาณนี้น่ะนะ)  รู้มาว่ามันเป็นการ์ตูนจากประเทศเกาหลีที่ฮิตมากๆด้วย (ทำไมเรานิ่งนอนใจไม่อ่านมันมาก่อนหน้านี้เนี่ย เสียชื่อหนอนหนังสือหมดเลย!)



ตามร้านหนังสือมีครอบครัวตึ๋งหนืดโชว์เป็นหนังสือขายดีอยู่บ่อยๆ ตามห้องสมุดมหาลัย ห้องสมุดประชาชนก็มี แต่เมื่อมันมีหนังสืออย่างอื่นให้เราอ่านเยอะมาก เราเลยไม่คิดจะยืมอย่างจริงจัง
จนเมื่อไปบ้านน้องแบม เห็นหนังสือเรื่องนี้เป็นตั้ง (รู้ตัวอีกทีมันมีถึงเล่ม 20 แล้ว!) เลยยืมแบมมาลองอ่าน 1 เล่ม แบมบอกว่าแบมชอบอ่านมากและเล่มนี้ "ที่สุดแห่งความตึ๋งหนืด" แบมอ่านแล้ว

เย้! งั้นเริ่มด้วยเล่ม 10 เล่มนี้




เมื่อไปทานข้าวด้วยกันที่ร้าน Bliss เพื่อต้อนรับโอ๋ (จริงๆแล้วหาเหตุกินข้าว check-in ร้านที่ไม่เคยกิน อิๆ) เราเลยพกไปด้วย

น้องแบมเป็นคนที่ติดการเล่นเกมจากโทรศัพท์ แต่เมื่อยื่นหนังสือให้เค้า บางช่วงเค้าก็หยิบหนังสือมาอ่าน ทำให้เราคิดว่าหากส่งเสริมน้องให้อ่านเยอะๆ น้องน่าจะเป็นนักอ่านตัวน้อยที่รักการอ่านอีกคนหนึ่ง เด็กยุคใหม่หากผู้ปกครองส่งเสริมและทำให้เห็นบ่อยๆก็จะทำตาม เราเลยมีแผนว่าอังคารหน้าจะพาแบมไปยืม "ตึ๋งหนืด" เล่มใหม่ (แต่เก่าจากห้องสมุดประชาชน) กัน เราก็จะได้อ่านด้วย ฮี่ๆ

บัตรของขวัญจากร้าน Se-ed เราก็ยังมีเหลืออีก 5 ใบ งั้นเอาไว้ไปร้านหนังสือและซื้อเป็นของขวัญให้น้องสักหนึ่งเล่มน่าจะดี



ข้อคิดจากเรื่อง "ตึ๋งหนืด" เล่ม 10 

1. การประหยัดสามารถเริ่มได้แต่วัยเยาว์ และทำได้ทุกที่ เช่นโทรุ ดช.จอมซน เมื่ออยู่รร.ก็จะขอดินสอแท่งสั้นๆที่เพื่อนๆเขียนไม่หมดเอามาใช้ต่อ 

ความคิดนี้เราเคยทำเมื่อตอนเห็นข่าวที่พระเทพ หรือในหลวงเอาดินสอมาต่อด้ามไม้ไผ่เพื่อใช้จนหมด เห็นแล้วก็เอาเป็นแบบอย่าง แฮ่...แต่ก็ไม่นานก็ทำตามตัวเองสะดวกอีกแล้ว อ่านเล่มนี้ต่อม "ตึ๋งหนืด" เลยพลุ่งพล่าน

2. คุณตา คุณยาย ในเรื่องหางานทำเพื่อให้ไม่ว่างและฟุ้งซ่าน บางคนทำว่าว บางคนทำขนมโบราณขาย ตอนแรกยังไม่ได้รับความนิยม แต่ด้วยความที่การทำว่าว หรือทำขนมโบราณ มีคนทำได้น้อย ทำให้คนรุ่นใหม่สนใจมาอุดหนุน คุณตาคุณยายเลยภูมิใจในตัวเองและรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า 

 เราว่าตอนนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัยให้มองเห็นคุณค่ากันและกัน การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยเด็ก - วัยอาวุโสได้ดี สมควรที่คนไทยจะเอามาเป็นแบบอย่างลองทำดู แต่จริงๆก็พอจะเห็นจากโครงการ ปราชญ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รร.ประถมของไทยให้นร.ได้เรียนรู้เรื่องราวละแวกบ้านของตนเองผ่านผู้สูงวัย เช่น การทอผ้า การทำนา การสานเสื่อกระจูด เป็นการเรียนรู้ร่ีวมกัน ผู้สูงวัยได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลัง ในขณะที่เด็กยุคใหม่ได้รู้เรื่องราว ภูมิหลังของตน เกิดความภูมิใจในรากเหง้าของตัวเอง win-win กันทั้งคู่

3. การท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างประหยัดที่เกาหลี มีเรื่องหนึ่งน่่าสนใจคือ การอาสาสมัครนำ
บุตรบุญธรรมไปให้ผู้อุปการะต่างแดน ก็จะได้ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ฟรี  แต่อาสาสมัครก็ต้องมีความสามารถในการดูแลเด็กได้ด้วยระดับหนึ่งนะ


โอ้ว...เราเพิ่งรู้นะเนี่ยอาสาสมัครแบบนี้ก็มีด้วย !

2 ความคิดเห็น:

  1. ครอบครัวตึ๋งหนืด หนูก็เคยเห็นบ่อยๆที่ห้องสมุดของโรงเรียนสมัยมัธยมค่ะอาจารย์ ก็มีความคิดแบบเดียวกับอาจารย์เลยว่า มันเป็นการ์ตูนแบบเด็กๆ ก็เลยละเลยสายตาไป ฮ่าๆ

    ตอบลบ
  2. อ่านแล้ว ก็กลับมาซ้ำ เพราะคอมเม้นต์ผ่านมือถือไม่ได้
    เดี๋ยวเจ้าของบล๊อคจะหาว่า ไม่มาทำหน้าที่ตามที่ได้รับ "เิงิน" ไว้

    ตอบลบ