วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรื่องดีๆของวัน



1. ส่งเสริมการทำดีของนิสิต
ช่วงเช้าเราเข้าไปคุยกับรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิตเรื่อง การเพิ่มภาษาอังกฤษเพื่ออาเซียน เข้าในหลักสูตรกิจกรรมนอกชั้นเรียน 100 ชม. และเล่าให้อาจารย์ฟังว่าเราเพิ่งไปดูการทำงานของค่ายสร้างโรงเพาะเห็ด รร.ตชด.บ้านบาโรย สะเดา และค่ายอาสารร.วังตะเคียน สตูล มา 

เราเล่าให้อาจารย์ฟังเรื่องที่นิสิตเอกสังคมมีโครงการ "ครูอาสา Delivery" ให้กับรร.บ้านพังเภา อ.สทิงพระ ซึ่งกำลังจะถูกยุบ เนื่องจากจำนวนนร.น้อยเกินไป มีแค่ 40 คน (ครู 2 คน ผอ.1คน) เพราะผู้ปกครองแถวนั้นอยากให้ลูกเรียนรร.ในเมืองเพื่อคุณภาพการศึกษาที่ดีกว่า นิสิตเลยเข้าไปอาสาสอนในวันพุธบ่ายเป็นเวลา 20 สัปดาห์และเข้าไปคุยกับชาวบ้านเพื่อไม่ให้ส่งลูกหลานเข้าเมืองจนรร.ต้องปิดตัว

หวีด นิสิตเอกสังคม เล่าให้เราฟังว่าหากโรงเรียนปิดตัว เด็กน้อย 40 คนก็จะไม่มีที่เรียนเนื่องจากครอบครัวยากจน ที่บ้านไม่สามารถส่งเสียให้เรียนโรงเรียนไกลๆได้ พวกเค้าเหล่านี้ก็จะต้องอยู่บ้านเฉยๆ เรียนไม่จบ

ชีวิตของเด็กบางคนทำไมมันน่าเศร้าแบบนี้
เราฟังแล้วรู้สึก ใจเต้นแรง เลือดพลุ่งพล่าน บอกนิสิตว่าหากนิสิตที่ไปสอนส่วนใหญ่เป็นเอกสังคมฯ เราจะไปช่วยสอนภาษาอังกฤษให้ และชักชวนนิสิตเอกอังกฤษไปช่วยๆกันได้

ดีใจที่อาจารย์น้อม รองอธิการก็เห็นความสำคัญ ท่านชวนเราขับรถไปดูรร.นี้ เราเสนอว่าพวกเราน่าจะได้คุยกับนิสิตแกนนำกลุ่มนี้เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ถูกทาง เลยโทรหาหวีด และนัดหมายให้ชวนเพื่อนๆมาคุยกับรองอธิการวันศุกร์ที่ 15 มีค. นี้ เราคาดว่าอาจารย์น้อมน่าจะมีวิธีหางบสนับสนุนให้ได้บางส่วน เย้!

นี่คือข้อดีของการทำงานกับผู้บริหารข้อหนึ่งที่เราคิดได้
เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า หากตั้งใจทำดีและปชส.มันซักหน่อย บางทีอาจจะได้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น
เรา psycho อาจารย์ว่าเรื่องนี้เราไม่ได้รู้จากนิสิตและคนในมหาลัย แต่เรารู้จากจนท.มูลนิธิสงขลาฟอรั่มซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องการสร้างพลเมืองเยาวชนสงขลาที่มีจิตอาสา เค้าสนับสนุนเงิน 20,000 บ. มันดูน่าอายเล็กๆที่คนนอกรู้ว่านิสิตมหาลัยทักษิณไปทำอะไรดีๆ แต่คนในไม่รู้เลย 
------------------
2.  ตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี
วันนี้รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิตทาบทามให้เราเป็นผู้ช่วยอธิการบดี หากการคัดเลือกสมัยหน้า(กำลังอยู่ในช่วงคัดสรร) อ.เค้าได้เป็นอีกสมัย (ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจารย์เค้าจะได้เป็นต่อค่อนข้างแน่นอน)
ดีใจที่อาจารย์เห็นความสามารถที่ซ่อนอยู่ลึก-ลึกมากของเรา ฮ่าๆ
เราปฏิเสธอาจารย์ บอกว่าปีหน้าเราอยากไปเรียนต่อแล้ว และอยากเป็นแค่อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เฉยๆมากกว่า อาจารย์บอกว่าอยากให้เราช่วยในเชิงนโยบาย หากเราไม่คิดเรียนต่อในปีหน้า 
ให้พิจารณาเรื่องการเป็นผช.นี้
เราเห็นอาจารย์อักษรประเสริฐ ซึ่งเคยเป็นผช.ฝ่ายวิเทศฯ งานเยอะมหาศาล และในเชิงนโยบายมหาลัยมันค่อนข้างเยอะแยะ วุ่นวาย เราไม่ชอบ
ผช.สอนได้แค่วิชาเดียวเอง เพราะต้องเอาเวลาไปบริหาร ประชุม ไปโน่นไปนี่กับผู้หลักผู้ใหญ่
เราอยากมีงานสอนเป็นหลักมากกว่า
ขอเก็บเรื่องนี้เป็นความภูมิใจเฉยๆ อิๆ 

ตอนที่ไปอบรมที่อเมริกา ความคาดหวังอย่างหนึ่งจากทุนก็คือผู้รับทุนนำความรู้ ความสามารถที่ได้กลับมา
เอามาพัฒนาต่อ โดยเฉพาะการมีความรับผิดชอบที่ใหญ่มากขึ้นในตำแหน่งบริหาร เพื่อจะได้ใช้ความรู้
ความสามารถได้เต็มที่ 

เราจะพยายามทำหน้าที่อาจารย์ตัวเล็กๆที่ช่วยเหลืองานพัฒนานิสิตอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องงานบริหาร ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทนต่อแรงเสียดทาน เสียงเรียกร้องจากนิสิตและอาจารย์ได้ ให้ท่านทำต่อไปเถอะ 

บางทีหากเราไปทำงานบริหาร มหาลัยอาจจะสูญเสียอาจารย์ด้านการสอนที่ดีไป 1 คนก็ได้ ฮ่าๆ ว่าไปนั่น
งานสอนมีเสน่ห์ตรงที่เห็นได้โดยตรงว่านิสิตมีพัฒนาการยังไง ส่วนเรื่องการบริหารหรือนโยบาย ไม่ได้สัมผัสนิสิตโดยตรง (ข้อดีคือสามารถช่วยเหลือแก้ไขในเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับนิสิต อืม...)

------------------------

1 ความคิดเห็น:

  1. อ่านเรื่องดีๆข้อแรกแล้ว หัวใจมันพลุ่งพล่านเหมือนกัน รู้สึกผิดกับน้องๆที่อยากเรียนแต่ขาดโอกาสที่ตัวเราไม่เคยตั้งใจเรียนเลย

    อ่านข้อดีข้อที่ 2 แล้ว ดีใจกับเพื่อนด้วย บางมุมการบริหารก็อาจทำให้ต้องสูญเสียอ.ด้านการสอนดีๆไป แต่ในบางมุมการสูยเสียนั้นก็อาจได้สร้างบุคคลากรทางการบริหารที่ดีขึ้นมาขับเคลื่อนการศึกษาทำให้การสอนของอ.มีศักยภาพเพิ่มขึ้นก็เป็นได้นะ

    ตอบลบ