นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่ได้เขียนสคส.หรือการ์ดสักใบ
ในช่วงใกล้ปีใหม่นี้อยากแนะนำให้ลองเขียนการ์ดขอบคุณดูค่ะ
สิ่งที่ต้องทำมีแค่กลั่นความรู้สึกของเราที่อยากบอกคนๆนั้นออกมา
เขียนด้วยลายมืออ่านง่าย อาจเพิ่มลวดลายอีกนิดให้การ์ดเน่าสนใจขึ้น ในยุคดิจิตัล
หลายคนหลงลืมการเขียนด้วยลายมือ
เหลายคนมักรู้สึกสะดวกกว่าหากให้นั่งลงตรงหน้าคอมพิวเตอร์และพิมพ์ข้อความส่งทางอีเมลและ
Facebook การได้เขียนและนึกขอบคุณคนอื่นอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สุขภาพจิตเราแข็งแรง
มันเป็นวิธีหนึ่งที่มีการแนะนำกันต่อๆว่าเป็นวิธีสร้างสุขวิธีหนึ่ง
ในบทเรียนเรื่อง Great Lives ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ นิสิตจะได้เรียนรู้ประวัติของบุคคลสำคัญระดับโลก
ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หญิงคนแรกของโลก
นักวิทยาศาสตร์ผู้ประดิษฐ์วัคซีนโปลิโอ
หรืออาจารย์ผู้สร้างตู้เย็นได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก
ในความจริงนั้นเรื่องเหล่านี้ล้วนอยู่ไกลตัวนิสิตและเป็นสิ่งที่นิสิตได้เรียนรู้และอาจลืมในเวลาไม่กีวัน
(หรือเมื่อออกจากห้อง)
ข้าพเจ้าลองให้นิสิตนึกถึงบุคคลรอบตัวในมหาวิทยาลัยที่พวกเขาอาจจะมองข้าม
คนที่ทำงานเล็กๆแต่ส่งผลต่อความสะดวกสบายของพวกเขา
โดยเลือกบุคคลนอกเหนือจากอาชีพอาจารย์
เพื่อให้พวกเขาได้มองออกไปไกลตัวและเห็นความสำคัญของอาชีพอื่นๆที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนสังคมเช่นกัน
นอกจากนี้มันจะทำให้ผู้คนที่ทำงานในอาชีพเหล่านั้น เห็นความสำคัญของตนเอง
และสร้างรอยยิ้ม สร้างความภาคภูมิใจให้พวกเค้าในการประกอบอาชีพนั้นๆด้วย
เมื่อนิสิตเลือกอาชีพได้แล้ว
นิสิตก็ใช้เวลาในคาบเรียนสุดท้าย เขียนการ์ด วาดลวดลาย
และเตรียมพร้อมปฏิบัติการไปหาบุคคลในการ์ด
นิสิตหลายคนเล่าให้ฟังว่าพวกเขาเขินในการยื่นการ์ดและขอถ่ายรูปกับพี่ป้าน้าอา
และป้าๆก็เขิน อาชีพที่นิสิตเลือกหลากหลายตั้งแต่ ลุงยาม ป้าแม่บ้าน พี่ที่ดูแลหอ
น้าที่ขายข้าว
ข้าพเจ้าเชื่อว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาที่น่ารักและเปิดการพูดคุยกับคนที่เราได้แต่เดินผ่านหน้ากันไป
ไม่เคยสร้างบทสนทนากันมาก่อน
ป้าบางคนบอกว่าขอให้นิสิตถ่ายภาพออกมาให้สวยๆ
หรือบางคนบอกว่ามันเป็นกำลังใจในการทำงานที่ดีมากของป้า นับว่ารอยยิ้มได้เกิดขึ้นแล้วทั้งผู้ให้และผู้รับ
โลกนี้จะน่าอยู่เมื่อเรารู้จักพูดคำว่า "ขอบคุณ
ขอโทษ และไม่เป็นไร" ค่ะ เริ่มด้วยการขอบคุณใครสักคนก่อนสิ้นปีกันนะคะ
http://news.gimyong.com/article/6237
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น