วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

ลมฝนกับต้นกล้า: ความหลังครั้งยังเยาว์




Reading alone would be boring. Would it be great to read and meet the writer, then discuss about the book with ones who love reading.
Make your reading more pleasant by joining the อ่านล้อมเมือง program on Wed.26 Oct 2016
Get 1 book for free and spend 1 month to read it.
Rules: Message me via FB inbox before 25 Oct 2016 why you want to join this program. Then get the book right away. It's now waiting for bookworms in my office, R.13310.

-----------------

ประกาศกันมาหลายรอบ สำหรับโครงการ "อ่านล้อมเมือง Extra" เพื่อหานิสิตที่มีจิตรักการอ่านมาเข้าร่วมอ่านหนังสือ "ลมฝนกับต้นกล้า" ด้วยกัน

ตอนนี้ได้ผู้สนใจเข้าร่วมหลายคนแล้วจากหลายๆเอก อาทิ กิ๊ก+บาส+อัสลีน (เอกอังกฤษ ปี 2) กมลชนก+แป้ง (เอกอังกฤษ ปี 4) ดวงกมล (เศรษฐศาสตร์ ปี 4) เพลง (ภูมิศาสตร์ ปี 3) คุ่ม (เอกไทย ปี 4) 
นิ (เอกพัฒน์ ปี 3) มาน่า+สูดีน่า (มลายู ปี 3) 


---------------------------------

เราอ่านหนังสือเล่มนี้เกือบจบแล้ว ถือไปถือมาเพื่ออ่านระหว่างนั่งรถสองแถว อิๆ กะจะใช้เวลาให้คุ้มทุกนาที หนังสือใช้กระดาษถนอมสายตา สีนวลตาด้วยนะ ทำให้น่าอ่าน และตัวหนังสือใช้ font สมัยเก่า ย้อนยุค เหมือนกับเรื่องที่ผู้เขียนตั้งใจจะพาย้อนวัยไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว 

สมัยที่เด็กชนบทยังไปวิดห้วยหนองคลองบึงเพื่อจับปลา ความสุขของเด็กสมัยนั้นช่างเรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน และวิถีชีวิตก็เป็นไปตามสิ่งที่มี ไม่ว่าจะเป็นการอาศัยกินข้าววัด การพึ่งพาวัดของคนในละแวกชายวัด การไปวัดเป็นเรื่องปกติของเด็กสมัยนั้น ไม่ว่าจะไปดูหนังกลางแปลงหรือไปดูโนราห์ หรือแม้แต่การชิงเปรต!
( อิๆ อันหลังๆนี่เป็นประสบการณ์ตัวเอง)

สมัยที่เด็กๆยังไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่ายังไม่มีไฟฟ้าใช้เสียด้วยซ้ำ ความสุขของพวกเขาเลยเป็นการฟังนิทาน เรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ (ช่วงเวลาแบบนี้แทบจะหาไม่ได้ในยุคนี้ ความห่างเหินอันเกิดจากความทันสมัยของเครื่องมือสื่อสารที่เรียกว่า Smart Phone และ Pogemon Go ( อันหลังเกี่ยวไหม อิๆ) ทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรือเพื่อนฝูงจืดจางไปด้วย 

รื่องนี้ทำให้เราย้อนคำนึงถึงชีวิตวัยเด็กที่ตำบลเกาะยอเมื่อ 30 ปีก่อน
ก่อนหน้านั้นสะพานติณสูลานนท์ยังไม่มี (มันสร้างเสร็จเมื่อปี 2529) การติดต่อกับโลกภายนอกของคนในเกาะก็จะเป็นทางเรือ เรามักจะนั่งเรือยนต์จากท่าเรือวัดท้ายยอมาที่ท่าเรือหลังไปรษณีย์ ตลาดทรัพย์สิน เมื่อย่ามาซื้อของจากตลาดหราง (หราง = ตะราง ในภาษาใต้) ไปขาย การนั่งเรือใช้เวลาร่วมชม. ทำให้เราได้มีเวลานั่งเงียบๆ คิดโน่นนี่ อยู่กับความสงบจนกว่าเรือจะถึงอีกฝั่ง  

เราว่านี่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราชอบอยู่กับความเงียบ และมีหนังสือเป็นเพื่อน โดยที่ไม่รู้สึกเหงา เพราะคนเกาะยอสมัยนั้น พอค่ำก็ปิดบ้านกันแล้ว ไม่มีรถราวิ่งผ่านสักเท่าไหร่ในหมู่บ้าน ตอนเราเล็กๆสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การหุงหาอาหารใช้ไม้ฟืน เรายังได้มีโอกาสตามย่าไปหาไม้ฟืนในสวนยางเพื่อเก็บมาเป็นเชื้อเพลิง หรือหาขี้ยาง เพื่อมาใช้ร่วมกับไม้ฟืน 

เวลาเรียน นร.สมัยนั้นจะเดินผ่านทุ่งนาบ้าง ตามทางเดินที่ร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สองข้างทาง (ก่อนต้นไม้จะถูกตัดเพื่อแทนที่ด้วยเสาไฟฟ้าในระยะต่อมา)  การเดินไปรร.เป็นเรื่องปกติในสมัยนั้น 

สมัยนี้น่ะเหรอ ไม่มีเด็กคนไหนเดินไปรร.กันแล้ว พ่อแม่มักขี่มอเตอร์ไซค์ไปส่ง มีบ้างที่เด็กๆปั่นจักรยานไปกันเอง

สมัยเราเด็กๆ ครูจะให้เด็กๆแต่ละหมู่บ้านเดินกลับบ้านกันเองโดยมีรุ่นพี่ถือธงเดินนำ (หน้าที่นี้จะทรงเกียรติมากสำหรับเด็กสมัยนั้น เหมือนกับการที่ได้ถือพานวันไหว้ครู การนำสวดมนต์ หรือนำ
ร้องเพลงชาติ ประมาณนั้นเลย

เมื่อก่อนเกาะยอมีต้นมะพร้าวกับตาลโตนดเยอะมาก ขนาดหมู่บ้านที่เราอยู่ยังใช้ชื่อว่า "บ้านป่าโหนด" เรามีโอกาสได้กินน้ำส้มสายชูจากตาลโตนดและเห็นการทำจากเพื่อนบ้านด้วยล่ะ 
ตอนนี้หากอยากกินน้ำตาลโตนดสด ต้องไปหากินถึงตลาดแถวสิงหนครโน่นแน่ะ

----------------------------------------------------(ต่อ)----------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น