เมื่อต้องมาเขียน review เรื่อง The Power of Half พลังแห่งการแบ่งครึ่ง เพื่อลงวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ เราเลยปิ๊งส์!! ขึ้นมาว่าเราน่าจะเอาสิ่งที่เราเขียนมาทำเป็นฉบับย่อให้เหลือ 1 หน้า เพื่อส่งไปลงคอลัมน์นี้ อย่างน้อยเราจะได้ชื่อว่าได้ทำสิ่งที่ตั้งใจว่าจะทำสำเร็จไป 1 อย่าง
เฮ้...เราพบว่าการเขียนย่อความเริ่มเป็นเรื่องยากสำหรับเรา ไม่รู้จะตัดตรงไหน จากความยาวที่เขียนไว้ร่วม 3 หน้า เหลือ 1 หน้า โอ้...ทำไมมันยาก (อืม...หรือเราเริ่มเป็นคนเขียนยืดเยื้อเนี่ย)
เทอมหน้าเราจะสอนวิชา Academic Reading เรากะว่าหากหาต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ เราอยากได้เรื่องนี้เป็นหนังสือนอกเวลา หรือไม่ก็อาจจะใช้เรื่อง Pay It Forward ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการให้แรงบันดาลใจในการทำความดีคล้ายๆกัน (เรื่องพลังแห่งการแบ่งครึ่งก็กล่าวถึงหนังเรื่องนี้ไว้เหมือนกัน)
เอาล่ะ นี่คือเวอร์ชั่นที่เราส่งไปขวัญเรือน เพี้ยงขอให้ได้ลงในเร็ววัน :)
----------------------
เมื่อเห็นหนังสือเล่มนี้ครั้งแรกที่ร้านหนังสือ
ดิฉันรู้สึกติดใจในชื่อเรื่อง The Power of
Half พลังแห่งการแบ่งครึ่ง เกิดคำถามกับตัวเองว่าพลังแห่งการแบ่งครึ่งคืออะไร
ผู้เขียนแบ่งครึ่งอะไร และเกิดความเปลี่ยนแปลงกับผู้ที่ได้รับการแบ่งครึ่งอย่างไรบ้าง
เมื่อได้อ่านเรื่องนี้มันเหนือความคาดหมายไปมาก
เพราะสิ่งที่ผู้เขียนเลือกที่จะแบ่งครึ่งคือ บ้าน
The Power of
Half เป็นการบันทึกประสบการณ์จริงของครอบครัวหนึ่งในอเมริกาประกอบไปด้วย
พ่อ แม่ ลูกวัยรุ่น 2 ซึ่งมีฐานะดี พ่อแม่มีอาชีพการงานที่ดี
และช่วยเหลือสังคมตามที่มีโอกาส พวกเขาดำเนินชีวิตตามแบบ American Dream ทั่วไป นั่นคือมีบ้านหลังใหญ่ มีการศึกษาดี ชีวิตดำเนินไป จนเมื่อลูกสาววัย
14 ปี
เห็นคนไร้บ้านตามสี่แยกตอนที่ครอบครัวของเธออยู่ในรถที่ติดแอร์เย็นฉ่ำ
เธอเริ่มตั้งคำถามว่าครอบครัวของเธอจะสามารถช่วยเหลืออะไรคนจนได้บ้าง
เนื่องจากครอบครัวของเธอเป็นครอบครัวประชาธิปไตย ปัญหานี้เลยถูกนำมาพูดคุยกัน
เมื่อแม่ของเธอถามว่า หากจะช่วยคนยากจนก็สามารถทำได้โดยการขายบ้านและเอาเงินครึ่งหนึ่งไปช่วยการกุศล
อย่างไม่น่าเชื่อที่ความคิดนี้ได้รับความเห็นชอบ ทุกคนเลยต้องมาหาวิธีขายบ้าน
และคิดกันว่าจะเอาเงินที่ขายบ้านได้ไปช่วยองค์กรไหนและจะช่วยเหลือประเทศอะไร
ฟังดูเหมือนจะสวยหรู แต่ว่าการขายบ้านไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในอเมริกา
รวมทั้งบ้านยังขายไม่ได้ราคาอย่างที่ตั้งใจเอาไว้
เรื่องราวต่อจากนั้นเป็นการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันของครอบครัวนี้ที่มุ่งมั่นแบ่งปันตามความเชื่อของครอบครัวตนเอง
เหตุที่ทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จับต้องได้
ไม่ไกลตัวผู้อ่านเกินไปนัก คือนอกจากเป็นการเล่าประสบการณ์โดยผ่านพ่อแล้ว
ฮันนา ลูกสาวก็เขียนร่วมในหนังสือนี้ด้วยโดยใช้มุมมองจากวัยรุ่นทั่วไปที่มุ่งมั่นในการทำตามความตั้งใจของตนให้สำเร็จ เธอแนะนำว่าความคิดเรื่องการขายบ้านของเธออาจจะดูสุดขั้วเกินไปสำหรับคนอื่นๆ ในฐานะคนทั่วไปที่ต้องการแบ่งปันก็สามารถทำได้ง่ายๆ เช่นอาจสละเวลาดูทีวี เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์จากสามชั่วโมงต่อวัน เอาเวลาครึ่งหนึ่งไปบำเพ็ญประโยชน์ ก็ถือเป็นการแบ่งครึ่งแล้ว หรือสละข้าวของที่ตนมีก็ถือเป็นการแบ่งครึ่งได้เหมือนกัน การหาซื้อข้าวของเพียงครึ่งเดียวที่อยากได้แล้วนำเงินอีกครึ่งไปมอบให้องค์กรการกุศล นั่นก็ได้อีกเหมือนกัน
ฮันนา ลูกสาวก็เขียนร่วมในหนังสือนี้ด้วยโดยใช้มุมมองจากวัยรุ่นทั่วไปที่มุ่งมั่นในการทำตามความตั้งใจของตนให้สำเร็จ เธอแนะนำว่าความคิดเรื่องการขายบ้านของเธออาจจะดูสุดขั้วเกินไปสำหรับคนอื่นๆ ในฐานะคนทั่วไปที่ต้องการแบ่งปันก็สามารถทำได้ง่ายๆ เช่นอาจสละเวลาดูทีวี เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์จากสามชั่วโมงต่อวัน เอาเวลาครึ่งหนึ่งไปบำเพ็ญประโยชน์ ก็ถือเป็นการแบ่งครึ่งแล้ว หรือสละข้าวของที่ตนมีก็ถือเป็นการแบ่งครึ่งได้เหมือนกัน การหาซื้อข้าวของเพียงครึ่งเดียวที่อยากได้แล้วนำเงินอีกครึ่งไปมอบให้องค์กรการกุศล นั่นก็ได้อีกเหมือนกัน
ฮันนาได้ให้ความคิดเห็นดีๆไว้ว่าในการขอบคุณคนที่ทำให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลง
เราก็จะเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เพราะการที่เราคิดถึงพวกเขาในแง่บวก
ก็ทำให้จิตใจเรามิพลังและรู้จักพลังแห่งการให้ นั่นคือการให้กำลังใจ เรื่องนี้ทำให้ดิฉันนึกถึง The Staff’s Appreciation Week
ที่มหาวิทยาลัย Pennsylvania State University อเมริกา
โดยในสัปดาห์นี้ที่ตึกกิจการนิสิตจะมีการตั้งโต๊ะพร้อมการ์ดเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เขียนขอบคุณบุคลากรหรืออาจารย์
หากเขียนครบ 5 ใบก็จะได้รับของที่ระลึกเล็กๆน้อยๆ
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะจัดส่งการ์ดขอบคุณไปให้บุคคลที่ถูกเขียนถึง
ดิฉันได้ร่วมโครงการนี้ด้วยและพบว่าหลังจากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์บุคคลที่ดิฉันเขียนถึงได้ส่งอีเมลมาเพื่อขอบคุณและบอกว่าพวกเขารู้สึกประหลาดใจเพียงใดที่การกระทำเพียงเล็กน้อยของพวกเขามีคนที่ชื่นชมการทำงาน
มันทำให้พวกเขาทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้นและทำให้วันที่ได้รับการ์ดพวกเขามีความสุขมาก
ดิฉันคิดว่าเมื่อได้เขียนขอบคุณใครบางคน
มันทำให้เรามองบุคคลอื่นในแง่บวกและพยายามหาข้อดีของคนนั้นมาเขียน เป็นการเปิดทัศนคติแง่บวกของเรา
ในขณะที่ผู้รับซึ่งไม่ได้คิดว่าจะมีคนคิดถึงการกระทำดีเล็กๆน้อยของเขาก็ดีใจและภูมิใจในตัวเองที่มีคนเห็นสิ่งที่พวกเขาทำ
หากใครกำลังมองหาแรงบันดาลใจในการทำดี
หรือทำสิ่งที่ตนเองมุ่งมั่นแนะนำว่าต้องอ่านเรื่องนี้เลยค่ะ
-------
มาช่วยลุ้นอีกคน
ตอบลบSirikwan --หนังสือน่าอ่านจังเลยค่ะครูนก ครูนกมาแชร์ประสบการณ์หารอ่านหนังสือดีๆ แบบนี้บ่อยๆน่ะค่ะ พอขวัญอ่านโพสต์นี้จบก็อยากอ่านหนังสือเล่มนี้เลยค่ะ ความสุขที่มาในรูปของการแบ่งปัน น่ารักจังค่ะ บางข้อความอ่านแล้วก็รู้สึกทึ่งค่ะ เราไม่เคยคิดอะไรแบบนี้มาก่อนเลย เราอ่านสิ่งดีๆก็เหมือนกับเราได้รับสิ่งดีๆ เช่นกันน่ะค่ะครูนก
ตอบลบ13 ธันวาคม เวลา 15:17 น. · ถูกใจ · 1
Diyaporn Wisamitanan -- Sirikwan Patthanasiri -- มายืมไปอ่านได้ที่สนง.ครูค่ะ ขวัญอ่านแล้วก็เอามาเขียนแชร์บ้างนะคะ ว่าแต่อ่านหนังสือเสียงไปถึงไหนแล้วคะ
Sirikwan Patthanasiri ขอบคุณค่ะครูนก เรื่องหนังสื่อเสียงขวัญยังไม่ได้เริ่มเลยค่ะเพราะหาอุปกรณ์บรรทึกไม่ได้ แต่คิดว่าช่วงปีใหม่น่าจะได้เริ่มทำค่ะ ขวัญว่าจะกลับบ้านช่วงปีใหม่ค่ะ แล้วก็พี่ขวัญเขามีที่บรรทึกเสียง ขวัญคงจะขอใช้ของเขาก่อนน่ะค่ะครูนก
Oh Bee คำว่า "ขอบคุณ" เมื่อให้กับคนที่เห็นคุณค่า มันมีความหมายมากมายยิ่งใหญ่กว่านั้น
หมายเหตุ: เอาความเห็นจากผู้อ่านทาง FB มาแปะไว้ที่นี่