หลังจากเขียนถึงประสบการณ์แผ่นดินไหวจากทริปไต้หวัน เราก็เถลไถลเขียนเรื่องโน้นเรื่องนี้ ไม่ได้วกกลับมาเล่าเรื่องไต้หวันซักที
นั่งนึก นอนนึก ปั่นจักรยานนึก เราเก็บอะไรเป็นความทรงจำกลับมาจากไต้หวันบ้างเนี่ย
โอ๊ะโอ มี 108
ดังนั้นมาเริ่มที่เรื่องกินดีกว่า อิๆ
tea egg VS sweet stewed egg (ไข่พะโล้)
วัฒนธรรมการกินของไต้หวันและไทยบางอย่างคล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อ อาจจะเพราะคนจีนไปอยู่ที่ไหนก็เอาอาหารไปเผยแพร่ยังประเทศนั้นๆด้วย
เมื่อไกด์พาขึ้นเกาะหลังจากล่องเรือชมทะเลสาบสุริยันจันทรา ไกด์ซื้อ tea egg (ไข่รสชา)ให้กินรองท้อง ก่อนจะไปกินมื้อค่ำ
เรามองมันด้วยความพิศวง เพราะมันช่างคล้าย "ไข่พะโล้" ของไทย เหลือเกิน
ปิ๊งส์!! มันต้องเป็นพี่น้องไข่ที่พลัดพรากจากกันมาแน่เลย !!
รสชาติอร่อยดีด้วยนะ คล้ายๆกับไข่พะโล้และมีกลิ่นชาเล็กน้อย เหมาะกับกินรองท้อง หรือคนไม่มีเงินกินข้าวซื้อไข่ชากิน ก็ประทังหิวไปได้ ราคาไม่แพงลูกละประมาณ 10 บ.
หลังจากนั้นเราพยายามสอดส่า่ยสายตาหาว่ามันมีขายที่ไหนอีกบ้าง นอกจากสถานที่ท่องเที่ยว (เปรียบเทียบกับเมืองไทย ตามที่เที่ยวมักจะขายไข่ปิ้งเหยาะน้ำปลา เรายังไม่เคยเห็นที่ไหนขายไข่พะโล้ อาจจะเพราะมันไม่ใช่ของกินเล่นยอดนิยมเหมือนไต้หวันก็ได้นะ)
ที่หน้าวัดก็มีขายด้วยแน่ะ เราเห็นมันได้ทั่วไปตามท้องตลาด หรือแม้แต่ 7-11 !
คิดเล่นๆว่า 7-11 ของแต่ละประเทศก็เป็นตัวบ่งชี้การกินอยู่ของคนในชาติ (แน่ะ... ใช้ศัพท์(ทำเป็น)ทางการ ฮี่ๆ)
7-11 เมืองไทยขายขนมจีบ ซาละเปา จนคนขายมีประโยคติดปาก "รับขนมจีบ ซาละเปา เพิ่มมั๊ยคะ"
ที่ไต้หวันอาจเป็น " Would you like to buy tea egg, apart from other produces?"
พูดถึงร้านสะดวกซื้อ 7-11 คงมีแค่ที่เมืองไทยที่ต้องสอบถามลูกค้าแบบนี้ และทักทายสวัสดีเวลาลูกค้าเข้าร้าน ที่ประเทศอื่นๆเราว่าเค้าไม่ได้ทักทายนะ ไม่ว่าจะเป็นมาเลย์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อเมริกา งั้นอาจนับได้ว่าพนง.ที่นี่มารยาทดีกว่าที่อื่นๆก็คงได้ :)
ก่อนกลับจากไต้หวัน เราหาข้อมูลการทำไข่ชาจากน้องไกด์ และ google เพื่อดูวิธีการทำ ด้วยความที่อยากจะทำโชว์ (อิๆ ผีแม่ครัวสิงเป็นครั้งเป็นคราว :)
วิธีทำ*
1. เตรียมไข่ ถุงชา ซอสดำ
2. ใส่ไข่ในหม้อ เติมน้ำลงไป ต้ม 15 นาที
3. เอาไข่ขึ้น แกะเปลือกออก (เพื่อให้ชาซึมในเนื้อไข่ได้ดี)
4. ต้มต่อประมาณ 1 ชม.
หมายเหตุ: ยิ่งต้มบ่อยๆ ไข่จะยิ่งอร่อย (เหมือนที่แม่และยายบอกเลยว่าหากต้มไข่พะโล้ไว้หลายวันมันจะยิ่งอร่อยเนื่องจากน้ำพะโล้จะซึมเข้าไปในไข่)
สามารถเติมไข่เพิ่มได้เมื่อไข่หมดโดยใช้น้ำซุปเดิม
* อ้างอิงสูตรจาก http://mickyrecipes.blogspot.com/2007/01/tea-egg.html