บาหลีเป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งมักถูกจัดอันดับให้เป็นสถานที่หนึ่งในดวงใจที่หลายคนอยากไปให้ได้สักครั้งในชีวิต
เมื่อก่อนการไปบาหลีเป็นเรื่องของคนมีอันจะกิน เพราะค่าตั๋วเครื่องบินแพง
แต่เดี๋ยวนี้เมื่อการมีสายการบิน low cost ทำให้ราคาถูกลง ทุกอย่างเลยเป็นไปได้ การไปบาหลีไม่ใช่เรื่องจำกัดวงแต่คนมีเงินอย่างเดียวอีกต่อไป
เราจองตั๋วเครื่องบินไปบาหลีไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วเมื่อเห็นโปรโมชั่นไปกลับจากมาเลเซีย
แค่ 4,300 บ.
อ๋อยก็เคยไปแล้ว โอ๋ไม่ชอบเดินทางไกลเพราะมีภาระน้องหมาน้อย มดก็ขอเว้นวรรคเรื่องเที่ยวเพื่อเตรียมจบป.โท มหาลัยวลัยลักษณ์ แต่อีกคนที่ไม่ค่อยปฏิเสธเรื่องเที่ยวเวลาเราชวน และเที่ยวได้ทุกรูปแบบ คือ ดา อดีตนิสิตเอกอังกฤษ ซึ่งตอนนี้ไปเป็นคุณครูอยู่ที่ภูเก็ต
ดาใช้เวลาคิดไม่นาน ก็ตัดสินใจไปไหนไปกัน
ตามประสาคนเป็นครู เวลาสะดวกที่สุดคือช่วงเม.ย. เลยกำหนดฤกษ์ดีแบบไม่ต้องดูฤกษ์ยาม วันที่ 22-26 เม.ย.54
โชคดีมดเปลี่ยนใจเมื่อเดือนมีค.และตัดสินใจลากแมนไปด้วยกัน ตอนนี้ตัวหารค่ารถแท็กซี่เพิ่มขึ้นแฮะ
ดากับเรามาถึงสนามบินโดยมดกับแมนซึ่งบินตรงมาจากภูเก็ต-บาหลี มารอรับตอน 4 ทุ่ม มี Mr. Dewa คนขับแท็กซี่และไกด์จำเป็นพาพวกเราไปยังที่พักที่เมือง Ubud เมืองขึ้นชื่อเรื่องความเป็นธรรมชาติ
Brata Homestay 1, Ubud
ที่ พักตามคำแนะนำของเจ้ย เห็นครั้งแรกมดกับดาบอกว่าเหมือนวัดมาก ออกแนววังเวง แต่เราชินกับวัด และบรรยากาศเงียบๆเลยไม่รู้สึกอะไรมาก เมื่อข้ามประตูวัด เอ๊ย ไม่ใช่ ประตูhomestay เข้ามา ก็เป็นห้องพักสไตล์บ้านเป็นหลังๆเหมือนวิลล่า
ภาย ในบริเวณมีศาลาประกอบพิธี และมีสวนสไตล์บาหลีแบบที่มีรูปปั้นเทพเจ้าเต็มไปหมด ห้องพักก็กว้างขวาง จะขาดก็แต่อุปกรณ์อาบน้ำเช่น ผ้าเช็ดตัว สบู่ ยาสระผม หมวกอาบน้ำ
จ่ายค่าห้องคืนละ 150,000 Rupiah หรือประมาณ 525 บ.
อาหารเช้าของที่นี่คือ ผลไม้(แตงโม สัปปะรด มะละกอ หั่นมาในถ้วยไอติม) แซนด์วิชกล้วย ชา/กาแฟ
แซนด์วิชอร่อยดีแฮะ ไว้เราจะทำกินเองบ้าง ง่ายจัง แค่หั่นกล้วยเป็นชิ้นๆ วางบนขนมปัง แล้วเอาอีก 1 แผ่นประกบ นำไปเข้าเครื่องทำแซนด์วิช ก็เสร็จพร้อมเสิร์ฟ
กินอาหารเช้าแกล้มการทำพิธี offering ของเจ้าของบ้าน โดยเค้าจะนำของเซ่นไปวางตามจุดต่างๆ เช่นหน้าเทพเจ้า หรือหน้าบ้าน แล้วประพรมน้ำมนต์ลงแถวนั้น
สอบถามได้ความว่าคนบาหลีเชื่อว่าในทุกอย่างมีเจ้าของ ( spirit) ดังนั้นเพื่อความสุข สบายใจ ก็ต้องเซ่นไหว้เพื่อให้ท่านคุ้มครอง และทำให้ธุรกิจรุ่งเรือง
เวลาไปเดินตามร้านค้า เราสังเกตเห็นว่าเมื่อแม่ค้าว่าง พวกเค้ามักจะนั่งทำกระทง offering กัน ไกด์เล่าให้ฟังว่าคนที่นี่มีความเป็นศิลปะในตัวกันทั้งนั้น ผู้ชายมักแกะสลักได้ ส่วนผู้หญิงอย่างน้อยก็ทำเครื่อง offering เป็น
Offering เป็นกิจวัตรที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวบาหลี นอกจากตอนเช้าที่ต้องทำที่บ้านแล้ว หากที่วัดมีพิธี Offering Ceremony ก็จะเห็นภาพความสวยงามของผญ.ซึ่งเทินตะกร้า offering ไปวัด และภายในวัดผู้หญิงก็จะเล่นดนตรีพื้นบ้านขับกล่อมการทำพิธีที่ศาลา ทั้งวงเป็นนักดนตรีผญ.ในชุดย๋าหย๋าหมดเลย
การแต่งกายของเค้าช่างอนุรักษ์นิยม แต่งชุดสไตล์ย่าหย๋า(ตามคำบอกเล่าของดา การแต่งตัวของสาวภูเก็ตสมัยก่อนก็เป็นแบบนี้) ที่นี่ผญ.จะ สวมผ้าถุงและเสื้อฉลุลาย โดยสวมเสื้อทับไว้ข้างใน เราว่ามันดูบางๆ แต่เมื่อสาวบาหลีแต่งแบบนี้กันทุกคนไม่เว้นลูกเล็กเด็กแดง หรือวัยรุ่น วัยชรา มันทำให้ดูเป็นเรื่องธรรมดา
ไม่ เหมือนคนไทยที่แต่งตัวชุดไทยก็ตอนวาระสำคัญมากๆ เช่นงานแต่งงาน หรืองานพิธี โดยทั่วไปไม่มีใครใส่มาเดินท้องถนนกัน เราก็มีชุดไทยกับเค้าด้วยเหมือนกัน ตัดอย่างดีเพื่อการไปญี่ปุ่น ใส่แค่ 2 ครั้ง ไม่คุ้มค่าตัดชุด เอากลับมาสงขลาพยายามประกาศว่าหากใครสนใจยืมชุดไปใส่ มายืมได้เลย แฮ่ อยากใช้ชุดให้คุ้ม แต่หุ่นอย่างเราหาคนยืมได้ยาก ปุ๊ยืมไปใช้งานมหาลัยแค่ 1 ครั้ง (คุ้มมั๊ยเนี่ย)
The Sacred Spring Tirta Empul
ที่แรกของทริปนี้คือการไปสังเกตการณ์ชำระล้างเพื่อจิตใจที่บริสุทธิ์ที่วัดฮินดู (ชาวบาหลีส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู )
เค้าไปชำระร่างกายกันโดยไม่แยกหญิงชาย เราถามไกด์ว่าทำไมไม่แยก (ยุ่งอะไรกับเค้าอ่ะ )
Dewa อธิบายว่าเพราะมันไม่ใช่การอาบน้ำแบบ take a bath และไม่ได้ใช้แชมพู สบู่ แต่เป็นการมารับน้ำศักดิ์สิทธิ์เลยไม่จำเป็นต้องแยกหญิงชาย หลังจากลงบ่อน้ำแล้วก็จะขึ้นมาขอพรอีกครั้งหนึ่ง
ก่อน เข้าวัดที่บาหลีเป็นธรรมเนียมว่าต้องนุ่งโสร่งหากสวมกางเกงขาสั้น และใช้ผ้าคาดเอว และใช้วิธีการบริจาคกับการยืมโสร่งและผ้าคาดเอวแทน ไปที่ไหนๆก็ต้องทำแบบนี้พร้อมบริจาค บางที่ไม่บังคับว่าต้องบริจาคเท่าไหร่ แต่บางที่ก็บอกราคาตายตัว (แล้วมันจะเรียกบริจาคมั๊ยเนี่ย)
ใส่ผ้าถุงแล้วเผลอนึกว่าตัวเองหลงยุค ย้อนเวลา (ทั้งๆที่ตอนอยู่ที่บ้านใช้บ่อย อิๆ ) เดินไปเดินมาเกือบเหยียบชายผ้า หน้าคะมำ 55 สันทัดอย่างแรง
เพื่อมารยาทของนักท่องเที่ยวที่ดี เรามักจะสอบถามก่อนว่าถ่ายรูปได้มั๊ย Dewa จะเป็นคนบอกว่าได้รึเปล่า
แต่ ส่วนใหญ่ถ่ายได้หมด และเมื่อพวกเราขอถ่ายรูปกับชาวบาหลีเค้าก็อนุญาต (แฮ่ม แอบทำตัวกลมกลืนเพราะหน้าตาให้ เวลาเดินในตลาด มีแต่คนพูดภาษาบาหลีใส่ อ๊าก…หนูฟังไม่รู้เรื่องน๊า )