วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

หนังสือ - ห้องสมุด - อาชีพ

ตอนเด็ก ๆ คำถามยอดฮิตที่เด็กๆโดยถาม คือ "โตขึ้นจะเป็นอะไร" เราตอบส่งๆบ่อยๆ แล้วแต่อาชีพที่นึกออกตอนนั้น เมื่อยังเล็กมากคงตอบแค่ พยาบาล ครู และเมื่อเริ่มรู้ตัวแล้วว่ากลัวเลือด (แถมด้วยเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ D:) อาชีพนี้ก็ตกขอบไป ให้นึกถึงตอนเด็กเมื่อไหร่ อาชีพที่เรานึกถึงจะต้องมีหนังสือหรือกระดาษเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เราเคยอยากเป็นบุรุษไปรษณีย์ เราว่าอาชีพนี้นำความสุข ความตื่นเต้นให้ผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นข่าวดี ข่าวร้าย การมีบุรุษป.ณ.มาเยือนแล้วยื่นจดหมายให้ เราว่าการรอคอยมันมีค่า ( ตอนนี้จะรวมความดีใจและตื่นเต้นที่ได้รับของจาก Kerry, Flash , Best เข้ามาด้วย :) แต่หากตอบแบบจริงๆจังๆ เราว่าตอนนั้นเราอยากเป็น "บรรณารักษ์" ห้องสมุดคือที่แห่งความสุขของเรา สถานที่เงียบๆ มีชั้นวางหนังสือให้เดินไล่เรียง หาหนังสือที่อยากอ่าน และหลายครั้งที่หาเล่มหนึ่ง แต่กลับได้หนังสือเล่มอื่นๆที่เจอระหว่างกวาดสายตาผ่านติดมือกลับมาด้วย เราชอบใช้เวลาอยู่ห้องสมุดมาตั้งแต่สมัยประถม-มัธยม-มหาลัย ความรู้สึกหนึ่งที่มีต่อบรรณารักษ์คือ "ความใจดี" "หน้าตายิ้มแย้ม" สมัยเด็กครูดวงประทีป มักจะนั่งอยู่ในห้องสมุด เราว่ามันเท่ห์สุดๆกับการมี office ที่เป็นห้องสมุด มีหนังสือรายล้อม เราตระเวณอ่านหนังสือจากห้องสมุดของโรงเรียน ยาวไปถึงห้องสมุดของโรงเรียนวัดเขาบ่อ วัดแหลมพ้อ และเมื่อเรียนมัธยม ห้องสมุดของโรงเรียนก็มีหนังสือเยอะแยะให้อ่าน เราว่าหนังสือนอกเวลาของยุคประมาณ 2529-2535 นั้นเราน่าจะอ่านเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็น -มอม -ฉันอยู่นี่ศัตรูที่รัก -แก้วจอมแก่น -เอมิลยอดนักสืบ -ห้าสหายผจญภัย (เล่มนี้เราเพิ่งเจอฉบับภาษาอังกฤษจากร้านมือสองเมื่อ 2ปีที่แล้ว ดีใจเหมือนเจอขุมทรัพย์ รู้สึกเหมือนยังผจญภัยไปกับห้าสหายได้อีก ความรู้สึกของการอ่านเล่มนี้ตอนเด็ก กับตอนโต ไม่ต่างกันมาก ขอบคุณภาษาอังกฤษที่ทำให้เราได้อ่านทั้ง 2 versions) -ห้าใบเถา -แวววัน -เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก (เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้อยากเขียนเรื่องแนวนี้บ้าง หยิบเอาเรื่องที่ย่า ยาย แม่ เล่าให้ฟังมาเขียน เล่าวิถีแถวบ้านน่าจะดี) จากความชอบหนังสือและห้องสมุด พาเรามาไกลสู่การเป็น "ครูภาษาอังกฤษ"ทิ้งอาชีพบรรณารักษ์เอาไว้ข้างหลัง ได้แค่เอามาใส่ในวิชาที่เรียน ด้วยการแนะนำหนังสือน่าอ่านให้นิสิต และพยายามปลูกฝังการอ่านให้ลูกศิษย์...และเพื่อน :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น