วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564
เพื่อนแบบ FB
เพื่อนมักมีอะไรให้ประหลาดใจ หรือเพื่อนก็เป็นแบบนี้ล่ะ แต่เราอาจจะเพิ่งมารู้:)
เมื่อเพื่อนในวัยผู้ใหญ่บอกว่าเลือกเพื่อนที่จะคุยโดยดู FB อดนึกถึงหมอดูที่ดูดวงคนผ่านลายมือ ผ่านใบไม้ ผ่านโหงวเฮ้ง bla..bla..bla.. แต่เพื่อนคนนี้เลือกเพื่อนที่จจะคุย(หรือไม่คุย)กับเพื่อนผ่านการโพสท์ FB ของเพื่อน (เขียนเองเริ่มงงกับสรรพนามแล้วนะเนี่ย)
เราก็น่าจะเป็นคนหนึ่งที่ถูกเพื่อนหยิบมาจาก FB ซึ่งจริงๆแล้ว FB เราแทบไม่มีอะไรมาก เราใช้มันเป็นบันทึกเรื่องงานซะมากกว่าเรื่องอื่นๆ เพื่อให้มันเตือนอีกทีในปีถัดๆไปว่าทำอะไรบ้าง และใช้ FB ในการนึกถึงกิจกรรมที่ทำในแต่ละสัปดาห์ เดือน ปี FB ของเราเลยไม่ได้สนใจยอด like
เรายัง unfollow, unfriend คนที่มีใน FB อยู่บ่อยๆ เราว่าหากอยากเป็นเพื่อนกับใคร ก็ค่อยขอ FB กันใหม่ และหากเพื่อนจะทำแบบนั้นบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาแหละเนอะ เรา unfollow เขาได้ เขาก็ unfollow / unfriend เราได้เหมือนกัน
ตอนนี้นอกจาก FB & LINE เราก็ยังมี What's app อีกอย่าง เอาไว้ติดต่องานกับต่างประเทศ เพราะมันฮิตในบ้านเมืองเขามากกว่า เพื่อนมาเลย์เคยบอกว่านิสิตเขามอง FB ว่าเป็น Papa & Mama's era ฮ่าๆ เป็นยุคสมัยของพ่อแม่ พวกเขานิยม IG หรือใช้ What's app มากกว่า แม้แต่ที่ลาว What's app ก็ยังเป็นที่นิยม เราว่ามันยังดูใช้ยาก เพราะโชว์เบอร์โทรศัพท์มากกว่าหน้าคน ทำให้ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
เอ๊ะ ตั้งต้นเรื่องเพื่อน ตอนนี้เราไปไกลถึง What's app แล้ว
หากเปรียบเพื่อน เพื่อนหลายคนเหมือน FB ที่เราอยากเจอทั้งใน FB & Face-to-face
เพื่อนบางคนเหมือน LINE ที่เราเอาไว้ติดต่อและเก็บไว้เมื่อต้องติดต่องาน
เพื่อนบางคนคงเหมือน What's App ที่นานๆเจอกันที เห็นกันไกลๆ และเมื่อเห็นกันทีก็ร้องว่า What's up,man?
เรามีเพื่อนคนนึง เพื่อนคนนี้ของเราเหมือนเป็น FB ในช่วงแรก แต่ จุ๊ๆ ...เพื่อนคนนี้นะมีความติสท์และโลกส่วนตัวสูง แว่บมาแว่บไป ทำให้เรางง ๆ จนเราเปลี่ยนสถานะ(ให้เอง)จาก FB เป็น What's app
เพื่อนที่คุณก็รู้ว่าใคร :)
วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564
หนังสือ - ห้องสมุด - อาชีพ
ตอนเด็ก ๆ คำถามยอดฮิตที่เด็กๆโดยถาม คือ "โตขึ้นจะเป็นอะไร" เราตอบส่งๆบ่อยๆ แล้วแต่อาชีพที่นึกออกตอนนั้น เมื่อยังเล็กมากคงตอบแค่ พยาบาล ครู และเมื่อเริ่มรู้ตัวแล้วว่ากลัวเลือด (แถมด้วยเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ D:) อาชีพนี้ก็ตกขอบไป
ให้นึกถึงตอนเด็กเมื่อไหร่ อาชีพที่เรานึกถึงจะต้องมีหนังสือหรือกระดาษเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เราเคยอยากเป็นบุรุษไปรษณีย์ เราว่าอาชีพนี้นำความสุข ความตื่นเต้นให้ผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นข่าวดี ข่าวร้าย การมีบุรุษป.ณ.มาเยือนแล้วยื่นจดหมายให้ เราว่าการรอคอยมันมีค่า
( ตอนนี้จะรวมความดีใจและตื่นเต้นที่ได้รับของจาก Kerry, Flash , Best เข้ามาด้วย :)
แต่หากตอบแบบจริงๆจังๆ เราว่าตอนนั้นเราอยากเป็น "บรรณารักษ์" ห้องสมุดคือที่แห่งความสุขของเรา สถานที่เงียบๆ มีชั้นวางหนังสือให้เดินไล่เรียง หาหนังสือที่อยากอ่าน และหลายครั้งที่หาเล่มหนึ่ง แต่กลับได้หนังสือเล่มอื่นๆที่เจอระหว่างกวาดสายตาผ่านติดมือกลับมาด้วย
เราชอบใช้เวลาอยู่ห้องสมุดมาตั้งแต่สมัยประถม-มัธยม-มหาลัย ความรู้สึกหนึ่งที่มีต่อบรรณารักษ์คือ "ความใจดี" "หน้าตายิ้มแย้ม"
สมัยเด็กครูดวงประทีป มักจะนั่งอยู่ในห้องสมุด เราว่ามันเท่ห์สุดๆกับการมี office ที่เป็นห้องสมุด มีหนังสือรายล้อม เราตระเวณอ่านหนังสือจากห้องสมุดของโรงเรียน ยาวไปถึงห้องสมุดของโรงเรียนวัดเขาบ่อ วัดแหลมพ้อ และเมื่อเรียนมัธยม ห้องสมุดของโรงเรียนก็มีหนังสือเยอะแยะให้อ่าน เราว่าหนังสือนอกเวลาของยุคประมาณ 2529-2535 นั้นเราน่าจะอ่านเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็น
-มอม
-ฉันอยู่นี่ศัตรูที่รัก
-แก้วจอมแก่น
-เอมิลยอดนักสืบ
-ห้าสหายผจญภัย (เล่มนี้เราเพิ่งเจอฉบับภาษาอังกฤษจากร้านมือสองเมื่อ 2ปีที่แล้ว ดีใจเหมือนเจอขุมทรัพย์ รู้สึกเหมือนยังผจญภัยไปกับห้าสหายได้อีก ความรู้สึกของการอ่านเล่มนี้ตอนเด็ก กับตอนโต ไม่ต่างกันมาก ขอบคุณภาษาอังกฤษที่ทำให้เราได้อ่านทั้ง 2 versions)
-ห้าใบเถา
-แวววัน
-เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก (เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้อยากเขียนเรื่องแนวนี้บ้าง หยิบเอาเรื่องที่ย่า ยาย แม่ เล่าให้ฟังมาเขียน เล่าวิถีแถวบ้านน่าจะดี)
จากความชอบหนังสือและห้องสมุด พาเรามาไกลสู่การเป็น "ครูภาษาอังกฤษ"ทิ้งอาชีพบรรณารักษ์เอาไว้ข้างหลัง ได้แค่เอามาใส่ในวิชาที่เรียน ด้วยการแนะนำหนังสือน่าอ่านให้นิสิต และพยายามปลูกฝังการอ่านให้ลูกศิษย์...และเพื่อน :)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)