วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564
Decluttering Life: ลดสะสม เน้นสะสาง
เหตุ: อ่านหนังสือไป 2 เล่ม คือ ชีวิตดีได้เมื่อทิ้ง และ หนึ่งปีที่จะไม่ซื้อของ (One Year without Purchase) เพื่อกระตุ้นให้ตัวเองไม่ซื้อของเยอะ และจัดการกับความยุ่งเหยิง หนังสือเต็มบ้าน
สิ่งที่ตามมา:
1. การจัดการหนังสือ
เราพยายามลดจำนวนหนังสือในบ้าน ด้วยการที่เมื่อเอาหนังสือมาคืนที่ห้องสมุดประชาชนกศน. สี่แยกป่าไม้ เราก็จะนำหนังสือมาบริจาคด้วย เวลาหยิบหนังสือก็จะพยายามตัดใจอย่างรวดเร็วว่ามันจะไปเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย ดีกว่านอนแช่อยู่บนชั้นหนังสือที่บ้านเรา
ตอนนี้หนังสือภาษาไทยเลยเริ่มเหลือน้อย ส่วนหนังสือภาษาอังกฤษเราจะบริจาคที่สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับนิสิตที่อ่านภาษาอังกฤษได้ มากกว่าเอาไปให้ที่ห้องสมุดประชาชน แต่จริงๆแล้วนิสิตก็ยังไม่ค่อยอ่านนิยายภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่นะ เอกอังกฤษก็มักอ่านตามสั่งในรายวิชาการอ่านซะมากกว่า
ต้องขอบคุณห้องสมุดประชาชน ที่เราส่งคืนหนังสือสายเป็นเดือน ก็ไม่ว่า 55 เราเลยได้ใจ เอ๊ย ม่ายช่าย เราเลยตอบแทนด้วยการเอาหนังสือไปบริจาคทุกครั้งจนเป็นธรรมเนียม เราพบว่าแต่ละครั้งเมื่อไปที่นั่นก็ยังมีหนังสือน่าอ่านที่เราหาได้ที่นั่นที่เดียว อย่าง 2 เล่ม ข้างต้นก็เหมือนกัน
2. การจัดการยกเลิกบัตรเอทีเอ็ม
เมื่อคิดขึ้นมาได้ว่าบัตรเอทีเอ็ม มีค่าธรรมเนียม 200 บ.ต่อปี ก็สะดุ้งเฮือก เพราะเราอุตส่าห์คิดว่าการไม่มีบัตรเอเทีเอ็มน่าจะดีไม่ต้องจ่ายเงินคล่อง รูดปื๊ด ๆ เมื่อบัตรธ.กรุงเทพ หายทั้ง 2 ใบ เราก็ใช้การโอนเข้าบช.ของพี่แทน จนโอ๋เตือนขึ้นมาครั้งนึง เราเลยคิดว่าไม่ได้ซะแล้ว ต้องรีบไปปิดบัตร
เดือนที่แล้ว เราเลยไปปิดบัตรที่ธ.กรุงเทพ สาขาหน้ามหาลัย โดยไม่ได้ขอค่าธรรมเนียมคืน
วันนี้ (4/3/64) เราไปยกเลิกอีก 1 บัตร ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา หน้าราชภัฎ ไปตั้งแต่เช้า เลยได้เป็นคิวแรกๆ รวดเร็วมาก และโดยไม่ต้องขอค่าธรรมเนียมคืน น้องจนท.ก็จัดการให้เสร็จสรรพ เลยได้เงินคืนมา 183 บาท! ดีใจจัง
ที่ช้ำใจก่อนหน้านี้คือบัตรเครดิตของเทสโก้ โลตัส เรียกเก็บเงินรายปี 600 กว่าบาท ทั้งที่ยังไม่ได้เปิดใช้ใดๆ เมื่อเราเข้าไปอ่านในกระทู้พันธ์ทิพย์ มันเป็นแบบนี้มานานแล้ว และไม่เห็นมีใครขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ ไอ้หยา!
เราถือใบแจ้งจ่ายเงินไปจ่ายที่ counter จ่ายเงินของเทสโก้ จ่ายไม่ได้ ต้องไปชำระที่ธนาคารชั้น 1 ด้านล่าง (น้อง cashier บอกอย่างนั้น) ปรากฎว่า 2 ธนาคาร ก็จ่ายชำระเงินให้ไม่ได้ เสียอารมณ์มากมาย แล้วจะเขียนวิธีชำระเงินไว้เยอะแยะทำไม
ท้ายสุดวันรุ่งขึ้น เราก็ไปจ่ายที่ป.ณ. ห้าแยกเกาะยอ ภายใน 5 นาที ก็เสร็จเรียบร้อย จบกันที!
-------------
30/03/64
กลับมาเขียนต่อว่า decluttering อะไรไปบ้างในรอบเดือนมีค. อิๆ
1. เราทำเรื่องค้างคาเสร็จไปอีกเรื่อง ไปจ่ายชำระภาษีที่สรรพากรจังหวัดมาแล้วเมื่อ 22/3/64 ตอนเช้าก่อนเข้ามาสนง. ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก็ดำเนินการเสร็จ คนอื่นๆมักทำเรื่องออนไลน์ แต่เรารู้สึกว่าให้จนท.ทำให้น่าจะเรียบร้อยกว่า มั่นใจได้ว่าไม่ต้องมานั่งทำหลายรอบ (ปีนี้ก็เหมือนทุกปีที่เราหักลดหย่อนภาษีจากการบริจาคเงินวันไหว้ครู 10000 บ. + หมู่บ้านเด็กโสสะ 300 บ./เดือน รายปี ซึ่งปีนี้เราไม่ได้บริจาคให้น้องป๋อ แต่บริจาคให้หมู่บ้านเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ต่อ เนื่องจากถามน้องแจ๋วแล้วว่าเด็กๆทุกคนจะมีเงินที่จัดสรรปันส่วนให้อยู่แล้ว + UNICEF 1499 บ. เพื่อกล่องข้าว อิๆ เราเห็นใบเชิญชวนให้บริจาคอยู่ใน locker เลยชวนโอร่วมบริจาคด้วย (อันนี้ถือว่าเป็นการบริจาคในปีใหม่และเดือนเกิด) ซึ่งโอใจดี บริจาคแบบเต็มจำนวนและเกินมา 1 บ. ทำให้เราไม่ต้องเติมเงินของตัวเองเข้าไป :)
2. เมื่อวานเราสะสางหน้าตู้หนังสือที่บ้าน ให้กตช่วยเก็บกระดาษใส่กระสอบไปขายของเก่า และจัดหนังสือในตู้อีกหน่อย ตัดใจทิ้งหนังสือ magazine (Japan Perspective) ซึ่งตั้งเอาไว้นานมาแล้ว แต่ก็ยังไม่เบื่ออ่านนะ แต่ตั้งไว้ก็ไม่ได้หยิบมาอ่านมาก เลยยกให้การชั่งกก.ขายซะเลย
เราจะตัดใจหนังสือเป็นระยะๆ ด้วยการเอาไปบริจาคห้องสมุดประชาชนกศน.
-----
การอ่านหนังสือ ยิ่งอ่านให้จบเร็วเท่าไหร่ เราก็จะตัดใจบริจาคได้เร็วเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่เราว่าเราก็อ่านหนังสือแค่รอบเดียว จะตั้งเอาไว้ให้เต็มตู้ทำไมเนอะ แบ่งๆให้คนอื่นๆอ่าน น่าจะได้ประโยชน์กว่า เดือนที่ผ่านมา Eng. Club และเราจัด Book Discussion เราก็ได้หนังสือจากนิสิตมาอ่านเพิ่มอีก 2 เล่ม
"สิ่งที่สำคัญในชีวิต" โดยนิ้วกลม ยืมต่อมาจากบี พิมพกานต์
และครอบครัวที่ลัก (Shoplifter) นิยายญี่ปุ่นละมุนละไม ที่เริ่มจากเราได้ยินว่าเป็นหนังญี่ปุ่นที่ดี เมื่อนิสิตวันนาเดีย ซึ่งเข้าร่วม Book Discussion เขียนว่าเธอกำลังอ่านเล่มนี้ เราเลยแลกกันอ่าน โดยเราให้ยืม "ห้องอาหารนกนางนวล" (ยืมมาจากมอนอีกที อิๆ) ตอนนี้เราก็มี "ครอบครัวที่ลัก" รออ่านอยู่อีก 1 เล่ม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น