วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

หาดสวยด้วย Trash Hero

ของขวัญปีใหม่ วันแดดร้อน ลมทะเลแรง ขอบคุณน้องนนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Trash Hero Songkhla ที่ให้ของขวัญปีใหม่ เป็นกระบอกน้ำ refill น้องนนท์บอกว่าให้ในฐานะที่เป็น "แกนนำ" ดีใจจัง เลื่อนตำแหน่งแล้ว
กิจกรรมของ Trash Hero มีทุกเดือนนะ เว้นช่วงไปแค่หน้าฝน 2 เดือนที่แล้ว ปีนี้ (24 Jan. 2021) เราเข้าร่วมกิจกรรมของ Trash Hero เก็บขยะชายหาด โดยมีนิสิตปี 3 ลี่หยุ่นและแฟน มาเข้าร่วมด้วย เธอทักมาทาง msg ทันทีเมื่อเห็นเราโพสท์ใน TSUWESTERN ุถามว่าเรามาไหม ทีมจากมหาลัยทักษิณ เลยมีกัน 3 คน ครั้งนี้ Trash Hero ร่วมกับนศ.กศน.ตำบลเขารูปช้าง จำนวน 23 คน (รวมพวกเรา) มาเก็บแถวลานดนตรี
เรามาตั้งแต่ช่วงแรกๆเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และพยายามจะมาร่วมทุกครั้งที่มีโอกาส คนร่วมเก็บของเรามักเป็นนิสิตทั้งไทยและเทศ และเพื่อนๆ แม้ไม่มีใครมา ก็มาหาเพื่อนเอาข้างหน้า อิๆ
หากเข้าร่วมเก็บขยะ 3 ครั้ง ส่งรูปไปที่เพจ FB: Trash Hero Songkhla ก็จะได้เสื้อไปใส่เท่ห์ๆด้วยนะ

ของหวาน(ปาก)ยามค่ำ

ร้านขนมร้านใหม่ที่พวกเราเริ่มติดใจ เวลาจุ๋มขับรถไปส่งที่เกาะยอ มักจะใช้เส้นทางวชิรา-ถนนเตาอิฐ-ถ.ติณสูลานนท์ ทำให้พวกเรา 3 สาวผ่านร้านขายขนมไทยๆ ชิ้นละ 3 บาท เมื่อก่อนที่ตลาดวชิรา ก็เคยมีร้านขนมข้างทาง ตอนเย็นๆแบบนี้ให้เลือกขนมชิ้นเล็กๆใส่ตะกร้า ยื่นให้แม่ค้าคิดเงิน ก็จะได้ขนมมากมายกลับไปกิน อิๆ เหมือนเป็นการชิมขนมซะมากกว่า เพราะว่ามาคำเล็กๆ แต่แบบนี้ล่ะถึงจะอร่อย เพราะมันมาจำนวนน้อยๆ ทำให้อยากกินอีก ทุกครั้งที่ผ่านพวกเราเลยมักจะแวะซื้อกัน ของโปรดเราคือ ถั่วกวน (อันดับ 1) มันกวน ข้าวเหนียวแดงแบบแข็งๆ ช่วงหลังเราหันมากินขนมหวานมากขึ้น เราเลยซื้อข้าวฟ่างกินด้วย เมื่อก่อนเราไม่กินข้าวฟ่างกวนเลยนะ เราว่ามันหวานมาก เม็ดขนุนก็ด้วย แต่ตั้งแต่ปีที่แล้ว เรารู้สึกตัวเองว่าชอบกินของหวานจัง และพอไปทำงานที่สนง.วิเทศ เราว่าเรากินได้เรื่อยๆ ตอนนี้พอเช็คนน. เราหนัก 45 kg. แล้ว ซึ่งไม่เคยหนักเท่านี้มาก่อน มันจะประมาณ 43-44 มาตลอด ! Oh, No! ว่าแล้วก็กินต่อ อิๆ
ตักบาตรตอนค่ำ เราพยายามจะ go green เลยทั้งพกกระบอกน้ำเวลาไปนั่งร้านกาแฟ และหากไม่เอาไป เราจะรู้สึกผิดกับการจ่ายเงินเพื่ออุดหนุน Green Peace มาก ตอนนี้เราพ่วงการพกกล่องข้าวมาไว้สนง.เวลาไปซื้อข้าวกล่องที่โรงอาหารมหาลัย และเมื่อวานก็พกกลับบ้านด้วย เลยได้ใส่ขนมชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากรูปจะดูเหมือนตักบาตร อิๆ จุ๋มกำลังใส่บาตร ส่วนเราเปิดฝารับของที่พุทธศาสนิกชนให้

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564

Every day a good day: Movie review

เมื่อเราจะยกเลิกการใช้ Netflix หลังจากสมัครเป็นสมาชิกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 63 เดือนละ 219 B.เพราะรู้สึกว่าชักจะใช้เวลาดูหนังเยอะไปแล้ว อิๆ (ด้วยความกลัวไม่คุ้มค่าสมัครแต่ละเดือน) ก่อนวันที่ 14 Jan.2021 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการใช้ Netflix เราเลยมองหาหนังที่คิดว่าน่าจะหาจาก Youtube ดูได้ยากดูสักหน่อย เมื่อคืนเข้าไปอ่าน review หนังญี่ปุ่นเรื่อง Every day a good day (2561) และคิดไว้ในใจว่าจะดูเรื่องนี้ล่ะ เราไม่ได้ดูหนังญี่ปุ่นมานานแล้ว เพราะปันใจไปให้หนังอินเดีย และกลับมาดูซีรี่ย์เกาหลีทาง Netflix อยู่หลายเรื่อง อิๆ หนังญี่ปุ่นที่เราประทับใจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือ Jiro Dream of Sushi & the Last Recipe ซึ่งเรื่องหลังนี้ได้รางวัลออสการ์ด้วยนะ (ถ้าจำไม่ผิด) หลังจากนั้นเราก็ร้างลาหนังญี่ปุ่น จนมาดูเรื่องนี้ Every day a good day หนังตั้งชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เราว่ามันต้องเป็นหนัง feel good แน่ๆ ถึงเรื่องนี้ตัวแสดงไม่มาก (หนังญี่ปุ่นมักเป็นแบบนี้แฮะ ตัวละครน้อย และเล่นกับอารมณ์เป็นหลัก) และออกจะเป็นหนังเรียบเรื่อย แต่ก็ทิ้งอะไรให้คิดเอาไว้เยอะนะ เรื่องนี้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ พิธีชงชาไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ตัวเอก Noriko ผูกพันธ์ตั้งแต่วันแรกๆที่เข้าไปเรียนในวัย 20 ปี (ปี 3) จนเธออายุ 40 ปี ! (อะไรจะมั่นคงขนาดนั้น หากเป็นเราๆเปลี่ยนงานอดิเรกไปเป็น 10 เอ๊ย 100 แล้ว อิ ๆ ) เราเคยเรียน tea ceremony เมื่อตอนไปอบรม IATSS ที่เมือง Suzuka Prefecture ปี 2552 ทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องนี้ เพราะรู้ขั้นตอนการชงชาอยู่บ้าง ว่าการกินขนมหวานก่อนจะทำให้ดื่มชาเขียวอร่อยขึ้น ดื่มชาเขียวที่ญี่ปุ่นอยู่เกือบ 2 เดือน แบบไม่หวาน และทำให้จำเพื่อนญี่ปุ่นบอกได้ว่าเมื่อเธอดื่มที่ไทย ชาเขียวไม่เป็นชาเขียว original เหมือนเธอกำลังดื่มน้ำหวาน ! พิธีชงชาดูมีมนต์ขลังและเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ สำหรับคนที่อยากฝึกความสงบทางจิตใจ การ focus ทำกิจกรรมบางอย่างเงียบๆ ครูของ Noriko สอนให้เธอ "ใช้มือพาไป" อย่าจำว่าต้องทำอะไร ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันจะเป็นธรรมชาติไปเอง มีฉากหนึ่งซึ่งเรารู้สึกร่วมมาก คือภาพน้ำตกซึ่งแทรกมาในช่วงที่นางเอกกำลังมองตัวหนังสือคันจิ waterfall แล้วเป็นรูปปาดพู่กันเหมือนน้ำตกกำลังไหลลงมา โอ้ การตัดต่อเยี่ยมมาก เรารู้สึกตามในทันที เรื่องนี้สำหรับเรามันสอนการอยู่กับธรรมชาติอย่างสงบ ฉากธรรมชาติและการเรียนรู้การชงชาให้ความรู้สึกสงบ เราได้รู้ว่าหนังบางเรื่อง ไม่ต้องหวือหวาให้หัวใจเต้นแรง แต่แค่ใจเต้นไปช้าๆ ก็มีความสุขได้ เรื่องนี้ยังทำให้นึกถึงเพลง something good in every day ของวงนั่งเล่น ซึ่งทำให้เรารู้สึกอารมณ์ดีทุกๆครั้งที่ได้ฟัง อารมณ์บวกก็จะมาในทันใด :) Remark: เรื่องนี้มาจากหนังสือชื่อเดียวกัน และ Noriko ตัวเอกของเรื่องคือผู้เขียน ! Credit:ภาพจากthe moviedb.org/movie/537152

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564

มิโล แมวน้อยกระโดดไม่เป็น : Book Review ( Jan. 2021)

มิโล แมวน้อยกระโดดไม่เป็น: วรรณกรรมอิตาลี เขียนโดย: Costanza Rizzacasa d'Orsogna สนพ.อ่านอิตาลี ผู้แปล: นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ (2019) เราเพิ่งจะรู้จักหนังสือเล่มนี้จากน้องตาล บรรณารักษ์หอสมุด ซึ่งรู้ว่าเราชอบอ่านหนังสือวรรรณกรรมเยาวชน เพราะเวลาที่หาหนังสือวรรณกรรมเยาวชนในหอสมุดไม่เจอ เราก็มักใช้บริการ “เพื่อนช่วยหาหนังสือ” บริการดีๆ ของหอสมุด เมื่อวานไปรับหนังสือมาแล้ว หนังสือเล่มเล็กมาก ปกแข็ง หน้าปกน่ารัก เรากะว่าน่าจะอ่านจบระหว่างนั่งรถกลับบ้านจากมหาวิทยาลัย - บ้าน สัก 2 รอบ (นั่นหมายถึง 2 วัน) เย้! จบจริงๆด้วย ด้วยความที่เป็นเรื่องอ่านเพลิน ไม่ซับซ้อน แต่ให้แง่คิดที่หลายครั้งผู้ใหญ่อย่างเราหลงลืมไป เล่าย้อนไปหน่อยนึงว่าตอนเด็กๆเรามักอ่านวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นจากสำนักพิมพ์ผีเสื้อ (โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง สมุดพกคุณครู และวรรณกรรมเยาวชนของตะวันตก (เช่น ห้าสหายผจญภัย นิทานกริมม์ ) อ๊ะ ยังรวมนิทานอีสป นิทานเวตาล นิทานพื้นบ้านไทย ๆ (ซึ่งตอนเด็กหนังจักรๆวงศ์ๆ เสาร์อาทิตย์ รู้จักดีมาก ตั้งตารอ 8.00 น. เวลาของ “แก้วหน้าม้า” “หลวิชัย คาวี” อืม...สมัยเด็ก เราไม่ค่อยเห็นวรรณกรรมเยาวชนจากประเทศอื่นๆ อาจจะเพราะไม่ค่อยมีคนแปล โตขึ้นมาอี๊ก เมื่อเรียนภาษาอังกฤษ ก็ดั๊นมีนิสัยที่ว่าเมื่อรู้ภาษาอังกฤษระดับนึง ก็จะคิดว่าคนแปลวรรณกรรม / นิยาย แปลไม่ลื่น อ่านสะดุด ภาษาไม่สวย (ซึ่งให้ตัวเองแปลก็อาจจะแย่กว่า 55) เราเลยอ่านฉบับ original และเลิกบ่นเรื่องนี้ไปพักนึง เมื่ออ่านจบแต่ละเล่มก็จะภูมิใจไป 3 วัน 8 วัน (วรรณกรรมเยาวชนที่อ่านช่วงโต เช่น Matilda, แทบทุกเรื่องที่ Roald Dahl เขียน ซึ่งยังตามล่าหาอ่านให้ครบทุกเล่มอยู่จนตอนนี้) เรื่องที่ชอบมากและพบว่าวรรณกรรมของประเทศอื่นก็น่าอ่าน แต่น แต๊น...ก็จะเป็นวรรณกรรมสเปน เรื่องหอยทาก เดินช้า และกุ๊ชโฉ่ (อย่าลืมลองไปหาอ่านกันดูนะ) คนที่หาวรรณกรรมเยาวชนดีๆอ่าน ไม่ควรพลาด เขียนมาจะ 1 หน้า วนจะทั่วโลกแล้ว ก็ยังไม่ถึง “มิโล” อิ ๆ มิโล ทำให้เรานึกถึงแมวดำที่บ้าน ความเป็นแมวดำไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่ามันน่ากลัว หรือนำโชคร้าย (ใครคิดแบบนี้เราว่าล้าหลังมาก) แต่จากเรื่องนี้ ความเป็นแมวดำ ทำให้ “มิโล” ไม่ค่อยเป็นที่ต้องการสักเท่าไหร่ จนได้เจอแม่มนุษย์ผู้ใจดีเอามาเลี้ยง และคอยดูแล เด็กๆที่อ่านเรื่องนี้จะได้เห็นมุมความรักของคนเลี้ยงและลูก(แมว)เลี้ยงด้วยนะ เราว่ามันช่วยกล่อมเกลาให้คนอ่านรักสัตว์ แม้แต่สัตว์ที่ไม่น่ารัก เช่นแมงป่อง วัว มิโลมีวิธีคิดแบบเด็กๆมองบวก มีเพื่อนไปทั่ว และพยายามช่วยเหลือสัตว์ตัวอื่นๆที่มีปัญหา ปัญหาของมิโลมีแค่เรื่องความพิการที่ทำให้มันเดินโซเซ กระโดดไม่เป็น (อย่างชื่อเรื่อง) เพื่อนแต่ละตัวของมิโล มักมาพร้อมเรื่องชวนคิด เช่น วัว ซึ่งบ่นว่าคนมักชอบกินเนื้อวัว “ที่มีความสุข” ผ่านการเลี้ยงอย่างเอาใจใส่ แต่คนเหล่านั้นไม่คิดว่าวัวเหล่านั้นไม่น่าจะมีความสุข เพราะต้องถูกเอาน้ำนมไป แทนที่มันจะได้เก็บไว้เลี้ยงลูก หรือเลี้ยงมันอย่างดี แต่ก็เอามันไปกิน (อ่านถึงตอนนี้ ก็เห็นจริงด้วย เพราะเห็นads หลายอันที่บอกว่าเลี้ยงวัวอย่างดี ให้ฟังเพลง บีบนวดเต้านมให้แม่วัวมีความสุข พูดแล้วก็อยากกินมังสะวิรัติ เพื่อลดการฆ่าสัตว์นะเนี่ย) ส่วนแมว ที่คนเอาไปเลี้ยงดูเพื่อถ่ายรูปลง Instagram แต่แมวดำมักถ่ายให้สวยยาก ซ้ำคนถ่ายยังจับแมวเปลี่ยนท่าโน้นท่านี้ ถ่ายเพื่ออวดความน่ารักสัตว์เลี้ยงของตน แมวกลายเป็นผู้ประดับบารมี (อันนี้ก็จริง คนมีสัตว์เลี้ยง มักถ่ายภาพอวด และมีการซื้อแมวพันธ์ดีๆ ทำให้แมวจรจัด หรือแมวตามบ้าน ไม่ได้รับโอกาสได้รับการดูแล และหลายคนก็ทิ้งแมวเมื่อมันไม่น่ารักแล้ว (จริงอีก ! ตามวัด เยอะแยะไปด้วยแมวและหมา) เรื่อง “มิโล” เสียดสีมนุษย์และทำให้มนุษย์ดูเป็นตัวร้ายไปเหมือนกัน เหมือนเป็นการเล่าจากสัตว์เล็กๆ ที่พูดถึงผู้เลี้ยง และมนุษย์อีกแง่มุมที่น่าคิด เป็นเรื่องอ่านเพลินๆ ที่จบอย่างไม่รู้ตัว ----------------

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2564

OMG มันดีมาก

Oh My God (2012) หนังอินเดีย สำหรับคนที่ชอบหนังที่เอาไว้ถก ยกประเด็นศาสนาคุยกัน หลังจากเราดูเรื่อง PK ( ซึ่งออกฉายหลังเรื่องนี้อยู่หลายปี) และแนะนำเรื่องนี้ไปทั่ว ทั้งยังเอามาเป็นหนังให้นิสิตดูในชั้น และในกิจกรรม "เรียนรู้วัฒนธรรมผ่านแผ่นฟิล์ม" นิสิตชอบเรื่องนี้กันมาก เวลาดู จะมีเสียงหัวเราะขบขันตัวละคร PK อยู่เป็นช่วงๆ เมื่อดูเรื่อง PK แล้วกลับมาดูเรื่องนี้ Oh My God มันให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน กับการตั้งคำถามการมีอยู่ของพระเจ้า PK ตามหาพระเจ้าเพราะของสำคัญที่จะนำพาตัวเองกลับดาวดวงที่จากมาถูกขโมยไป ส่วนตัวเอกใน OMG ไม่ศรัทธาในพระเจ้า (เรียกว่าเป็น antheist) ต้องการฟ้องพระเจ้าที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว จนร้านของตนเองพังเสียหาย เพราะเมื่อไปขอเงินประกันจากบริษัทประกันๆบอกว่าไม่จ่ายในกรณีที่เกิดจาก the act of god ทำให้ตัวเอกต้องฟ้องร้องผ่านศาล ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อศาสนาต่างๆที่ถือว่าเป็น agent ของพระเจ้า ทั้งสองเรื่องนี้ บทคมมาก ดูไป ฟังไป ก็จะพยักหน้าเห็นด้วยตามเป็นระยะๆ บทสรุปของทั้ง 2 เรื่องก็ดีมาก เราว่าคนทุกศาสนาดูได้ ดูแล้วก็ไม่ได้เกิดความรู้สึกขัดแย้ง และที่สำคัญที่เราจับได้จากเรื่อง OMG คือ พระเจ้า (ของทุกศาสนา) อยู่ในใจ ไม่ต้องมองหาในสิ่งก่อสร้าง วัด สัญลักษณ์ มันอยู่ในคนด้วยซ้ำ มองหาและศรัทธาจากหัวใจ อย่างมงาย หนังสองเรื่อง (รวมทั้งหนังอินเดียส่วนใหญ่) ยาวกว่าหนังทั่วๆไป 2 hr. เป็นอย่างต่ำ แต่เพราะมันเป็นหนังดี ทำให้ดูและลุ้นไปจนจบ OMG พอเรารู้ว่าเป็นเรื่องที่คนฟ้องพระเจ้า ตอนแรกก็ไม่อยากดู คิดนำไปก่อนแล้วว่า "เว่อร์ น่าจะไร้สาระ" แต่กลับได้สาระเพียบ และเรารู้สึกว่า "อย่าตัดสินใจจากการได้ยินหรือคิดไปก่อนว่าน่าจะเป็นแนวนั้น แนวนี้" ให้ดูก่อน แล้วค่อยวิจารณ์ เพราะไม่งั้นจะเรียกตัวเองไม่ได้ว่าเป็นคน "เปิดใจ" เรียนรู้ รับรู้สิ่งใหม่ๆ อิๆ ยิ่งทึ่งเมื่อรู้ว่า OMG มี producer คือ Akshay Kumar ดาราอินเดียคนโปรดของเรา ที่เราหาหนังของเขาดูอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Pad Man, Toilet , Singh is Bling, Namaste London, Tees Ma Kan, Entertainment ----- Credit ภาพจากโปสเตอร์อย่างเป็นทางการของบริษัทหนัง

ทำอะไรดีปีใหม่ 2564

ปีใหม่ 2564 ล่วงเข้าวันที่ 2 COVID-19 ก็ยังอยู่ ครบรอบมีค.นี้ มันก็จะอยู่มาครบ 1 ปี และยังสร้างความหวาดหวั่นไปทุกวงการ โรงเรียนจำนวนมากในกท.ปิดนำไปก่อนแล้วเมื่อกลางธันวา 63 ส่วนมหาลัยเราแจ้งให้สอนวิชาภาษาอังกฤษทั่วไป ตั้งแต่ 4-17 Jan. 2021 แล้วค่อยดูสถานการณ์ต่อว่าจะสอน online / on site เราใช้เวลาวันหยุด 31 Dec. - 3 Jan. อยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ พยายามทำให้ดูเป็นช่วงปีใหม่ ด้วยการลุกขึ้นมาจัดห้อง ซักผ้า ถูบ้าน (Marie Kondo ก็มาเป็นระยะๆ อิๆ) อากาศเย็นสบายช่วงนี้ ท้องฟ้าอาจจะมืดบ้าง แต่ตากผ้า ได้ลมช่วย ทำให้ผ้าห่มแห้ง นอนหลับสบาย หนังสือนิยายรับปีใหม่ มังกรพรางรัก
เราอ่านหนังสือนิยาย "มังกรพรางรัก" ของเก้าแต้ม จบไปแล้ว นิยายสนุกมาก เป็นเชิงสืบสวน สอบสวนฆาตกรรมอำพราง (Serial killer) เราไม่ค่อยอ่านนิยายของเก้าแต้มสักเท่าไหร่ ซึ่งพบว่าเราน่าจะคิดผิดที่ตัดสินจากการอ่านปกหลัง (หลายเรื่องของเธอมักเขียนย้อนยุค ผู้ชายเป็นเจ้า ฐานะดี ซึ่งยังไม่ค่อยถูกจริตด้านการอ่านของเรา แต่ช่วงหลังมานี้เราอ่านแนวนี้ เลยยืมห้องสมุดมาอ่าน และก็ดีจริงๆ แนะนำๆ (เก้าแต้มเคยเขียน "คุณชายพุฒิพงค์" หนึ่งในคุณชายตระกูลจุฑาเทพ ที่เคยเป็นละครโด่งดังทางช่อง 3 นำแสดงโดยเจมส์ จิรายุ Short Cuts to Happiness
เรื่องนี้ดีจนต้องเลือกมาเป็นหนังสือนอกเวลาของวิชา Analytical & Critical Reading ปี 2 เทอม 2/2020 ในภาวะที่อารมณ์คนเราดำดิ่งและกังวลกับสถานการณ์โควิด -19 เราว่าคงจะดีหากเลือกเรื่องอ่านเชิงบันดาลใจให้นิสิต ให้ได้คิดไปกับมัน และไม่มองแต่เรื่องตนเอง

Don't let everyone interrupt your dream: Book review

The last book of the year 2020: อย่ายอมให้ใครเหยียบฝัน เราได้หนังสือเล่มนี้มาจากห้องสมุดประชาชน มันดีมากนะ แนะนำให้หาอ่านกันถ้าชอบแนวตัวอย่างชีวิตที่ดีได้เพราะความพยายามและความรักต่อสิ่งที่ทำ 19 เรื่องของชาวญี่ปุ่นตัวเล็กๆที่ฝ่าฟันอุปสรรคและมุ่งไปข้างหน้า ทุกเรื่องน่าประทับใจพอกัน ไม่ว่าจะเป็นคุณครูที่พยายามสอนเด็กสาวขี้เกียจคะแนนต่ำเตี้ยให้สนุกกับการเรียนรู้และสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยยากๆของญี่ปุ่นได้ ! เรื่องของหมีคุมะมง แก้มแดง ที่เราเพิ่งรู้ว่าเป็นไอเดียของแถมจากการขายดีไซน์โปรโมทจังหวัดการท่องเที่ยว จนดังไปทั่วโอซาก้า และดังต่อเนื่องในหลายประเทศ หมีอารมณ์ดีคุมะมงถูกทำออกมาถึง 3,000 แบบ และเลือกออกมาเป็นแบบเดียวที่พวกเรารู้จักกันดี (ต้องทำเยอะขนาดนี้ไหม:) คนดังญี่ปุ่นที่เรารู้จักจากหนังและเป็นคนคล้ายๆกับข้างต้นคือคุณลุงซูกิยะบาชิ จิโร่ ขายซูชิ ที่ทำซูชิทุกวันอย่างไม่รู้เบื่อ และพยายามพัฒนาซูชิให้ดีขึ้นทุกวัน จนเรื่องราวถูกถ่ายทอดออกมาเป็นหนัง (แต่เมื่อถาม Yuka เพื่อนญี่ปุ่นว่ารู้จักหนัง Jiro Dream of Sushi (2011) เรื่องนี้ไหม เธอไม่รู้จัก (อ้าว!) คุณลุงเขาดังไกลมากๆนะ เรารู้มาว่าร้านคุณลุงได้รับรางวัลมิชลิน และต้องจองคิวไปกินกันเป็นปีเลยทีเดียว