วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

Becoming a critical thinker in 10 weeks


Dear Diary,



It's summer now in Thailand and it's getting hot & hot. The school finished at the beginning of March & I'm delighted I've more time to do other activities, for example, getting in touch with friends 
and doing volunteer activities :)

Not sure if I told you that lately from 7 Jan. - 15 March 2013, I busily studied the Critical Thinking in Language Learning & Teaching, winter course from Univ. of Oregon, America.


I got the E-Teacher Scholarship Training last year which's particularly for Eng. teachers around the world to improve their teaching skills and get an opportunity to learn online with other teachers. In my class, there're 25 participants from 20 countries. 

Proudly, this afternoon, I got informed that I got  90 from 100 scores. Now I know how students feel when they get high score; they'd like to tell their friends. Haha... In my case, online diary is also always my choice to put a positive news each day.

I've learned to be a critical thinker and really appreciate this course as throughout 10 weeks, I read reading assignments, joined in the group discussion, did pair work, & small group work. It's such a superb invaluable experience of this year.  I'll surely implement the critical thinking to my courses and spread the knowledge & experience to co-workers & Eng. teachers.  Plus, I'd invite more co-workers to apply for the scholarship.







Mission completed: Visiting SOS Village

Even though most of my time I focused on this course, I still managed my time to do volunteer activity at the orphanage on weekend basis. For this March, I visited them twice already, on 10 & 17 March 2013. Therefore, my monthly mission was completed.



Big step of doing recent voluntary activity: Teacher Delivery Project 

 I'm going to do a big project with students who're going to help the small scale school which's going to be closed due to the small no. of students in the school. 40 students + 2 teachers + 1 principal.  We're going to ensure the students' parents that students from this school are quality and urge them not to send their kids to another school because if the school is being closed, other poor kids couldn't afford to study in another area. Therefore, on Wednesdays, we'd teach kids there to lessen the teachers' burden and will put an effort to help the school.  This morning, I attended the seminar about the future of the school and we were brainstorming of what we can do for this school. We came up with lots of ideas from Songkhla Forum and school advisors.  Gladly if I could be helpful for this project.  


                                      Teamwork allows common people to attain uncommon results. 
                                                การทำงานเป็นกลุ่้มทำให้คนธรรมดาสร้างผลงานทีไม่ธรรมดา
                                                                                                                                                               Anonymous


---------------------------

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรื่องดีๆของวัน



1. ส่งเสริมการทำดีของนิสิต
ช่วงเช้าเราเข้าไปคุยกับรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิตเรื่อง การเพิ่มภาษาอังกฤษเพื่ออาเซียน เข้าในหลักสูตรกิจกรรมนอกชั้นเรียน 100 ชม. และเล่าให้อาจารย์ฟังว่าเราเพิ่งไปดูการทำงานของค่ายสร้างโรงเพาะเห็ด รร.ตชด.บ้านบาโรย สะเดา และค่ายอาสารร.วังตะเคียน สตูล มา 

เราเล่าให้อาจารย์ฟังเรื่องที่นิสิตเอกสังคมมีโครงการ "ครูอาสา Delivery" ให้กับรร.บ้านพังเภา อ.สทิงพระ ซึ่งกำลังจะถูกยุบ เนื่องจากจำนวนนร.น้อยเกินไป มีแค่ 40 คน (ครู 2 คน ผอ.1คน) เพราะผู้ปกครองแถวนั้นอยากให้ลูกเรียนรร.ในเมืองเพื่อคุณภาพการศึกษาที่ดีกว่า นิสิตเลยเข้าไปอาสาสอนในวันพุธบ่ายเป็นเวลา 20 สัปดาห์และเข้าไปคุยกับชาวบ้านเพื่อไม่ให้ส่งลูกหลานเข้าเมืองจนรร.ต้องปิดตัว

หวีด นิสิตเอกสังคม เล่าให้เราฟังว่าหากโรงเรียนปิดตัว เด็กน้อย 40 คนก็จะไม่มีที่เรียนเนื่องจากครอบครัวยากจน ที่บ้านไม่สามารถส่งเสียให้เรียนโรงเรียนไกลๆได้ พวกเค้าเหล่านี้ก็จะต้องอยู่บ้านเฉยๆ เรียนไม่จบ

ชีวิตของเด็กบางคนทำไมมันน่าเศร้าแบบนี้
เราฟังแล้วรู้สึก ใจเต้นแรง เลือดพลุ่งพล่าน บอกนิสิตว่าหากนิสิตที่ไปสอนส่วนใหญ่เป็นเอกสังคมฯ เราจะไปช่วยสอนภาษาอังกฤษให้ และชักชวนนิสิตเอกอังกฤษไปช่วยๆกันได้

ดีใจที่อาจารย์น้อม รองอธิการก็เห็นความสำคัญ ท่านชวนเราขับรถไปดูรร.นี้ เราเสนอว่าพวกเราน่าจะได้คุยกับนิสิตแกนนำกลุ่มนี้เพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ถูกทาง เลยโทรหาหวีด และนัดหมายให้ชวนเพื่อนๆมาคุยกับรองอธิการวันศุกร์ที่ 15 มีค. นี้ เราคาดว่าอาจารย์น้อมน่าจะมีวิธีหางบสนับสนุนให้ได้บางส่วน เย้!

นี่คือข้อดีของการทำงานกับผู้บริหารข้อหนึ่งที่เราคิดได้
เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า หากตั้งใจทำดีและปชส.มันซักหน่อย บางทีอาจจะได้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น
เรา psycho อาจารย์ว่าเรื่องนี้เราไม่ได้รู้จากนิสิตและคนในมหาลัย แต่เรารู้จากจนท.มูลนิธิสงขลาฟอรั่มซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องการสร้างพลเมืองเยาวชนสงขลาที่มีจิตอาสา เค้าสนับสนุนเงิน 20,000 บ. มันดูน่าอายเล็กๆที่คนนอกรู้ว่านิสิตมหาลัยทักษิณไปทำอะไรดีๆ แต่คนในไม่รู้เลย 
------------------
2.  ตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี
วันนี้รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิตทาบทามให้เราเป็นผู้ช่วยอธิการบดี หากการคัดเลือกสมัยหน้า(กำลังอยู่ในช่วงคัดสรร) อ.เค้าได้เป็นอีกสมัย (ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจารย์เค้าจะได้เป็นต่อค่อนข้างแน่นอน)
ดีใจที่อาจารย์เห็นความสามารถที่ซ่อนอยู่ลึก-ลึกมากของเรา ฮ่าๆ
เราปฏิเสธอาจารย์ บอกว่าปีหน้าเราอยากไปเรียนต่อแล้ว และอยากเป็นแค่อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เฉยๆมากกว่า อาจารย์บอกว่าอยากให้เราช่วยในเชิงนโยบาย หากเราไม่คิดเรียนต่อในปีหน้า 
ให้พิจารณาเรื่องการเป็นผช.นี้
เราเห็นอาจารย์อักษรประเสริฐ ซึ่งเคยเป็นผช.ฝ่ายวิเทศฯ งานเยอะมหาศาล และในเชิงนโยบายมหาลัยมันค่อนข้างเยอะแยะ วุ่นวาย เราไม่ชอบ
ผช.สอนได้แค่วิชาเดียวเอง เพราะต้องเอาเวลาไปบริหาร ประชุม ไปโน่นไปนี่กับผู้หลักผู้ใหญ่
เราอยากมีงานสอนเป็นหลักมากกว่า
ขอเก็บเรื่องนี้เป็นความภูมิใจเฉยๆ อิๆ 

ตอนที่ไปอบรมที่อเมริกา ความคาดหวังอย่างหนึ่งจากทุนก็คือผู้รับทุนนำความรู้ ความสามารถที่ได้กลับมา
เอามาพัฒนาต่อ โดยเฉพาะการมีความรับผิดชอบที่ใหญ่มากขึ้นในตำแหน่งบริหาร เพื่อจะได้ใช้ความรู้
ความสามารถได้เต็มที่ 

เราจะพยายามทำหน้าที่อาจารย์ตัวเล็กๆที่ช่วยเหลืองานพัฒนานิสิตอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องงานบริหาร ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทนต่อแรงเสียดทาน เสียงเรียกร้องจากนิสิตและอาจารย์ได้ ให้ท่านทำต่อไปเถอะ 

บางทีหากเราไปทำงานบริหาร มหาลัยอาจจะสูญเสียอาจารย์ด้านการสอนที่ดีไป 1 คนก็ได้ ฮ่าๆ ว่าไปนั่น
งานสอนมีเสน่ห์ตรงที่เห็นได้โดยตรงว่านิสิตมีพัฒนาการยังไง ส่วนเรื่องการบริหารหรือนโยบาย ไม่ได้สัมผัสนิสิตโดยตรง (ข้อดีคือสามารถช่วยเหลือแก้ไขในเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับนิสิต อืม...)

------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ค่ายรร.ตชด.บ้านบาโรย สะเดา



 Do what you can to show you care about other people, and you will make our world a better place. 
                                                                  Rosalynn Carter

เราตั้งใจเอาไว้ว่าแต่ละปีจะพยายามไปออกค่ายให้ได้ 3 ครั้ง ดังนั้นเพื่อให้ความตั้งใจเป็นจริง นิสิตสอบเสร็จวันที่ 28 กพ. รุ่งขึ้นวันที่ 1-2 มีค. เราก็หอบข้อสอบนิสิตเอาไปค่ายด้วย (ตกลงว่ามาเปลี่ยนสถานที่ตรวจข้อสอบหรือมาช่วยทำงานค่่ายเนี่ย อิๆ มีเวลาตรวจข้อสอบและทำเกรด 6 วันเลยต้องเร่งมือหน่อย ไปที่ไหนก็เอาไปด้วย)

ค่ายอาสาครั้งนี้เป็นของเอกสังคมศึกษา โดยเฉพาะปี 2 นำโดยลิฟท์ และผองเพื่อนที่เกณฑ์กันมาเพื่อมาช่วยสร้างโรงเพาะเห็ด ทาสีสำนักสงฆ์ และสร้างหลังคากันแดดให้ห้องเรียนธรรมชาติ


เราเห็นนิสิตโพสท์ทาง FB ขออาสาสมัครมาช่วยงานจำนวน 40 คน เลยชวนๆนิสิตเอกอังกฤษไปด้วยกันได้ 2 คน คือ มด กับ แก้ว

และขอเงินบริจาคเพื่อซื้อโต๊ะญี่ปุ่นให้น้องๆ จากโอ๋ & อ๋อย เพื่อสมทบทุน ทำดีร่วมกัน

พร้อมแล้ว ก็ออกค่ายได้ เย้!
1-2 มีค. 56

วันแรกพวกเราไม่ได้ช่วยงานสักเท่าไหร่ เพราะไปถึงก็ตกเย็น ในขณะที่นิสิตเอกสังคมฯมาถึงก่อนในตอนเช้าและเริ่มทาสีสำนักสงฆ์กันไปแล้ว (มีเหตุขัดข้องคือฝนตก ทำให้ทาสีไม่ติด อันนี้เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ทำให้การออกค่ายของนิสิตได้ฝึก problem-solving thinking การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ เพราะถึงแม้วางแผนกันไว้แล้ว แต่สภาพอากาศออกแบบไม่ได้ ก็ต้องปรับตัวเองหรือรอความพร้อมของอากาศกันก่อน  เราว่านี่เป็นข้อดีข้อนึงของการออกค่ายที่ฝึกนิสัยการทำงานในชีวิตจริง อุปสรรคที่เข้ามาตั้งแต่การเตรียมการ ขณะทำงาน หรือเมื่องานเสร็จ จะดูแลงานหรือส่งต่องานยังไงให้เกิดการทำงานต่อไปในพื้นที่

นิสิตเห็นเราเป็นอาจารย์เลยไม่ค่อยให้งานเราทำ ด้วยความเกรงใจ เราต้องบอกว่าเราออกค่ายมาสารพัดแล้วประมาณ 7 ปีและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมอาสาพัฒนาชนบทมา 4-5 ปี เราทำได้  ออกตัวซะขนาดนี้แล้วก็ยังไม่ค่อยมีงานอะไรให้เราทำ งั้นเราเป็นผู้ให้กำลังใจก็ได้

ว่าแล้วก็มองหางานให้ตัวเองทำดีกว่า คิดได้แล้ว!

สอนหนังสือเด็กๆ!

งานนี้คงเหมาะกับเราที่สุด เราเห็นเด็กนร.มาเดินๆในโรงเรียน เลยหลอกล่อน้องๆเข้าห้องสมุด มาอ่านหนังสือ เล่านิทาน เขียนตามคำบอก เล่นเกมส์

น้องๆนร.ให้เราเสนอเกมส์ เราเลยแนะนำให้เล่นเกมไก่ชน
กติกา -- แบ่งนร.เป็น 2 ทีม อยู่กันคนละฟาก
แข่งกันครั้งละ 2 คน โดยสมมติทั้ง 2 คนเป็นแม่ไก่ (นั่งยองๆ เอามือประสานไว้หลังขา) ขยับตัวมาชนกันที่จุดกึ่งกลาง โดยมือห้ามหลุด ชนกันจนกว่าคนใดคนหนึ่งจะล้ม หรือมือหลุดออกจากกัน

เราเล่นเป็นคนสุดท้าย เย้! เอาชนะได้ทุกคน แต่ละคนตีปีกแม่ไก่กันมาด้วยความมุ่งมั่นแต่น้องๆไม่รู้ trick ว่าหากเอนตัวมาชนคู่แข่งมากเกินไป เมื่อคู่แข่งถอยออกมานิดนึงพวกเค้าก็จะล้มได้ง่าย
ผู้ชนะอย่างเราเลยเหงื่อท่วมตัว เพราะต้องชนกับน้องๆหลายรอบ แฮ่กๆ

หลังจากที่ทำกิจกรรมกับน้องๆเพื่อให้น้องๆรักการอ่านและมาหาหนังสืออ่านกันเองในห้องสมุดได้ในภายหลัง เราก็ได้ลูกสมุนเดินตามหลังกลุ่มใหญ่ ฮ่าๆ ให้ความรู้สึกประหนึ่งเป็นนางงาม มีเด็กๆล้อมรอบ

------------------------------
พืชผักสวนครัวรั้วกินได้: โครงการอาหารกลางวัน





โรงเรียนตชด.มีชื่อเสียงเรื่องการพัฒนาเด็กๆให้รู้จักทำงานด้านเกษตร ที่รร.มีบ่อเลี้ยงปลา แปลงผัก และสวนมะพร้าว ที่แปลงผัก นอกจากมีตะไคร์ ถั่วฝักยาว ผักหวาน ผักโขม แล้วก็มีผักโขมแดงด้วย เราเคยเห็นแต่ต้นสีเขียวๆ กินผักนี้ไม่เป็นอ่ะ มันน่าจะเป็นผักเหนาะแน่ๆเลย




ที่แปลกอีกอย่างนึงคือ ต้นมะระไฟ (ดูแล้วคล้ายปลาปั๊กเป้าเลย) เอาไว้เป็นยา ใส่ในแกงส้ม แกงกะทิ ดูทีแรกเหมือนผลไม้มากๆ

เราลองกูเกิ้ลดูมันมีชื่อเยอะมาก 

แก็ก มะข้าว ผักข้าว ขี้กาเครือ ฟักข้าว 

ทั้งหมดเป็นชี่อเรียกผักชนิดนี้แตกต่างไปตามภูมิภาค

การปลูกผักกินเองน่าจะทำให้น้องๆแข็งแรง และช่วยลดต้นทุนค่าอาหารกลางวัน เนื่องจากที่เรารู้มา รัฐฯจ่ายค่าอาหารกลางวันต่อหัวเด็กแค่ 13 บ. ของกินที่ทำให้เด็กๆเลยเป็นของง่ายๆ

ขอชมเชยการทำงานของเด็กอาสาทั้งหน้าเก่าที่เราเคยไปด้วยกันตอนค่าย Art for All และนิสิตหน้าใหม่ ใจรักการช่วยเหลือ ว่าที่คุณครูทั้งหลายต้องมีทั้งใจที่พร้อมจะเป็นผู้ให้ และรักการเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากภายนอกรั้วมหาลัยแบบนี้

-----------------