วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

Life is competition?



กำลังใจ: การทำดีอย่างง่ายๆ



 
เราพบว่าว่าการทำความดี บางทีมันก็ไม่ต้องใช้เงินมากมาย ไม่ต้องบริจาคก็ได้ เนื่องจากมันสามารถทำได้หลายอย่าง 
เช่น การให้กำลังใจคนและทำให้คนที่มีฝันได้ทำตามฝันของเค้า บางคนท้อได้ง่ายเมื่อคิดไปถึงอุปสรรคที่อยู่ข้างหน้า
หากเราเสริมแรงเค้า คอยช่วยเหลือและ(แอบ)ผลักเค้าเบาๆให้เดินไปข้างหน้า ตามหาฝัน ฝันของเค้าก็ไม่ไกลเกินไป

วัลลภา (อร)


อรเป็นเด็กขยันเรียน และตั้งใจเรียนมาก เข้าห้องเรียนตามเวลา ไม่เคยขาดเรียน และเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเรียน คุณสมบัติแค่นี้คงไม่พอหากอรไม่มีใจมุ่งมั่นที่จะทำตามฝันด้วย

เรื่องมีอยู่ว่า

เมื่อเราชวนอรและเพื่อนๆเอกอังกฤษปีสามไปฟัง Fulbright Talkshow: Read with Greed ที่หาดใหญ่
มีทุน Global Undergrad Scholarship ที่ให้ทุนนิสิตในภูมิภาคได้สอบชิงทุนไปเรียนอเมริกาเป็นระยะเวลา 5 เดือน หรือ 1 ปี
 เราเอาทุนนี้มาโพสท์บน FB ของสาขาวิชาก็มีคนมาคลิ๊ก Like แต่ไม่มีคนสมัคร (จะคลิกทำไมเนี่ย :( เราพูดในห้องเรียนอีก ก็ยังไม่มีคนสมัคร เราเลยไม่ทำอะไรต่อ เดือนถัดมาเมื่ออาจารย์นิคม หัวหน้าภาคฯบอกว่าให้ช่วยแปะทุนนี้อีกที เราก็เลยแปะอีก (ยังไม่เข็ด 55) คราวนี้โทรไปหานิสิตบางคน กล่อมให้ลองดูเผื่อได้ขึ้นมาก็จะเป็นโอกาสดีของชีวิตมาก ไม่ลองไม่รู้

อรเป็นหนึ่งคนที่ยุขึ้น ขั้นตอนของการสมัครมีเยอะมาก จนมีคนที่สมัครพร้อมๆกันถอดใจ และทำให้อรก็ถอดใจไปด้วยแต่เธอก็โทรมาแจ้งให้ทราบว่าอยากเปลี่ยนใจ เลยต้องใช้วิทยายุทธกล่อมกันใหม่อีกครั้งว่าหากไม่ลองก็จะเสียดายทีหลัง เพราะจะไม่มีโอกาสนั้นอีกแล้ว เนื่องจากโครงการนี้รับนิสิตที่ต้องเหลือการเรียนตอนกลับมาจากอเมริกา 1 เทอม ซึ่งนิสิตปีสามหากไม่สมัครเทอมนี้ ขึ้นปีสี่ก็สมัครไม่ได้ และคนที่ไม่ได้มีพ่อแม่ร่ำรวยหากอยากไปนอกก็ต้องกล้าที่จะเสี่ยง กล้าที่จะลองทำอะไรที่ไม่เคยทำ ทุกอย่างมันเป็นประสบการณ์ไปหมด พลาดคราวนี้อย่างน้อยได้รู้ขั้นตอนการสมัครทุน 1 ทุน จบปริญญาตรีแล้ว การจะสมัครทุนต้องทำเอง แต่ทุนนี้มีเราเป็นผช. และรู้แนวทางของ Fulbright เพราะฉะนั้นมันไม่ยากเกินไป คิดแง่บวกไว้หากสอบทุนไม่ได้ครั้งแรก ครั้งต่อไปอาจเป็นเรา เพราะทุนนี้เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องกล้าพาตัวเองเข้าไปสมัคร ผ่านขั้นตอนหินๆของการเขียนเรียงความ 3 เรื่อง แถมยังต้องขอ transcript จากโรงเรียนมัธยมอีกด้วย นี่เป็นเหตุให้บางคนท้อและรู้สึกว่ายุ่งยาก

 มีผู้กล้าจากเอกอังกฤษ 3 คน คือ แป๋ม โบ และอร มีเสียงพูดให้ได้ยินว่าเพื่อนๆที่ไม่สมัครมักจะบอกว่าหากได้ทุนนี้จะมีปัญหาเรื่องกลับมาเรียนไม่พร้อมเพื่อน รับปริญญาไม่พร้อมกัน ปัญหาจิปาถะที่เพื่อนยกมา

ในที่สุดอร แป๋ม โบ ก็มีชื่อเข้าสอบสัมภาษณ์จากจำนวน 24 คนเราไปเป็นเพื่อนสอบที่ CAT Telecom หาดใหญ่ เป็นการสอบผ่าน VDO conference จากกทม.โดยมีกรรมการ 3 คนสัมภาษณ์ มีบางช่วงที่สัญญาณขาดๆหายๆ (โอ้ว...นี่ขนาดว่าเป็นผู้นำด้าน telecommunication นะ) ใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ 10-15 นาที

อรผ่านรอบสัมภาษณ์ 10 คน และไปสอบ Paper-based TOEFL แล้วเธอก็ผ่านเข้ารอบ 6 คนสุดท้ายอย่างสวยงาม 
เย้! ตื่นเต้นเหมือนได้ทุนเอง  (นี่ถ้าเราอายุวัยมหาลัย อรมีคู่แข่งแล้วนะเนี่ย อิๆ ;) เห็นทุนนี้แม้จะรู้ว่ามันไม่ใช่ทุนสำหรับผู้ใหญ่อย่างเรา ก็ยังอดตื่นเต้นไม่ได้ว่าโอกาสอาจเป็นของลูกศิษย์เรา

เราปลอบแป๋มและโบว่าพวกเค้าเป็นคนกล้าที่เริ่มก้าวแรกไปแล้ว ดังนั้นอย่ากลัวกับการสอบครั้งต่อไปและอย่าท้อถอย เราก็เคยสอบทุนครั้งแรกไม่ได้เหมือนกัน (ทุนเรือเอเชียอาคเนย์ไปญี่ปุ่น) แต่ 4 ครั้งของการสมัครทุนหลังจากความผิดหวังเล็กๆครั้งแรก เราก็ผ่านทั้งหมด แป๋มกับโบ หากไม่ท้อก็จะเป็นอย่างนี้ได้เหมือนกัน เราเชื่อมากๆ

                                                              


เราพบว่านิสิตมหาลัยเราขาดแรงจูงใจในการสอบแข่งขันระดับประเทศมากๆ เพราะมัวแต่คิดว่าเป็นคนตัวเล็กๆ เรียนก็ปานกลาง นิสิตมหาลัยอื่นเก่งๆทั้งนั้น สอบแข่งขันกับเพื่อนไม่ได้หรอก ฟังแบบนี้แล้วเราก็คันปาก หากไม่พยายามก่อน จะรู้มั๊ยว่าตัวเองทำได้รึเปล่า หรือหากคิดว่าความสามารถยังไม่ดีพอ ทำไมไม่พยายามพัฒนาตัวเอง ไม่มีใครเก่งมาแต่อ้อนแต่ออก พรสวรรค์มีแค่ 10% แต่พรแสวงหรือความมานะ วิริยะ 90% จะทำให้ไปได้ไกล

นิสิตมักจะชอบฟังเวลาที่เราเล่าเรื่องการได้รับทุน การใช้ชีวิตเมืองนอก พวกเค้ามักจะตาโตและคิดว่าเราเก่ง เรามักจะบอกเสมอว่ามันไม่ใช่ความเก่ง แต่มันคือความกล้าปนบ้าบิ่นในการสมัครทุนนั้นๆแม้จะดูว่ามีการแข่งขันสูง ความกล้าและการมองโลกในแง่ดี มองทุกอย่างให้เป็นประสบการณ์หนึ่งของชีวิต ทำให้เราพร้อมที่จะสมัครทุนต่างๆเมื่อเห็นคุณสมบัติของตนเองพอจะมี (หรือหากไม่มีแต่พอใกล้เคียงก็พยายามสุดฤทธิ์ที่จะเขียนให้เข้าข่าย 55) อีกอย่างหนึ่งคือต้องทำกิจกรรมนอกชั้นเรียนโดยเฉพาะในเชิงจิตอาสา เพราะการทำงานบำเพ็ญประโยชน์มันทำให้เรามองถึงการสร้างความสุขให้ผู้อื่น ละทิ้งตัวตนรวมถึงการคิดถึงแต่ตัวตน มันทำให้ทัศนคติเวลาที่เราสอบสัมภาษณ์ออกมาดีเพราะความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำและทำให้คุณสมบัติคนทำแตกต่างจากคนที่เก่งทางวิชาการเพียงด้านเดียว

ในใบสมัครทุน Global Undergrad ก็มีให้กรอกเรื่องการทำงานอาสาสมัคร (น่าน...ไง)

เราพบว่าการแข่งขันทุนไม่ได้แข่งกับผู้อื่น มันคือการแข่งกับตัวเอง profile แต่ละคนมีคุณสมบัติหรือสิ่งที่นำเสนอต่างกัน แล้วแต่ว่าแต่ละคนเขียนถึงตัวเองในแง่ไหน แต่คุณสมบัติไหนล่ะที่จะถูกใจกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

คำกล่าวที่ว่า “ชีวิตคือการแข่งขัน” คงจะจริง แต่สำหรับเรามันจริงยิ่งกว่าในแง่ที่ว่า “ชีวิตคือการแข่งขันกับตัวเอง” แข่งเพื่อที่จะทำให้ชีวิตดีกว่าเก่า เป็นชีวิตที่มีจุดมุ่งหมาย ทำความดีเมื่อมีโอกาสและได้แบ่งปันความสุขให้คนอื่นด้วย
นี่คือสิ่งที่เราพยายามยึดเป็นหลักปฎิบัติ อายุที่มากขึ้นอีก 1 ปี ควรมีโอกาสสร้างสิ่งดีๆให้สังคม เริ่มจากสังคมเล็กๆในมหาลัย การให้กำลังนิสิต

“ทำดีได้ง่าย สบายจัง”
                                                                                          
     @23.30 pm. Wed. 2/1/2013

2 ความคิดเห็น:

  1. หนูต้องขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยนะค่ะ ที่เป็นกำลังใจและผลักดัน
    หนูให้ก้าวมาถึงขั้นนี้ได้ ถ้าไม่มีอาจารย์หนูก็ยังคงเฉื่อยๆๆ เรียนอย่างเดียวไปเรื่อยๆ ไม่ได้พัฒนาตัวเองเหมือนวันนี้ ....อีกอย่างที่หนูอยากจะบอกอาจารย์ ...หนูขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทำตามความตั้งใจที่จะให้..ให้ประสบการณ์ ให้แรงผลักดัน ให้หลายสิ่งหลายอย่าง แก่นิสิตของอาจารย์ต่อไป สู้ๆค่ะ สุดท้าย..ขออำนาจคุณพระศีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้อาจารย์ปรสบแต่ความสุข สุขภาพแข็งแรง ...my idol

    -----------(ความคิดเห็นอรจาก FB)

    ตอบลบ
  2. มาตอบให้ เค้าคลิ๊ก Like เพราะเค้าเห็นถึงประโยชน์ในสิ่งที่นกโพส หรือขอบคุณที่มาบอกกัน ถึงจะสมัครหรืไม่สมัคร มันเป็นการตอบสนองให้รับรู้ว่า เค้าได้อ่านแล้ว และเห็นค่าในสิ่งที่เราโพสไป แม้เค้าจะไม่ได้สมัครก็ตามที กรุณาอย่าเข้าใจว่า Like แปลว่า "ชอบ" อย่างเดียวตามความหมายทางภาษา แต่ Like ใน FB มันมีหลากหลายความหมายนัก เป็นได้แม้กระทั่งการให้กำลังใจแก่เจ้า่ของรูป เก็ทปะคุณครู

    ปล. เมื่อใจเราอยู่ในความดี การทำความดีไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายเลย มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ

    ตอบลบ