วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แนวคิดเกี่ยวกับการสมัครทุนในและต่างประเทศ



มีหลายคนถามดิฉันว่าดิฉันทราบเรื่องการรับสมัครทุนหรือการสอบแข่งขันที่ต่างๆได้อย่างไร เพราะเห็นดิฉันได้รับทุนไปต่างประเทศและทำกิจกรรมกับชาวต่างชาติมากมาย เรื่องนี้ไม่ยากค่ะ ทุนส่วนใหญ่มักประกาศตามเว็บไซต์ หรือหนังสือพิมพ์ ดิฉันชอบมองหาทุนต่างประเทศและกิจกรรมที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมักตื่นเต้นไปกับกระบวนการสอบแข่งขันที่ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ และข้อสำคัญคือดิฉันได้ตรวจสอบตนเองว่ามีคุณสมบัติตามที่ทุนต่างๆรับสมัครหรือไม่
ดิฉันสมัครทุนต่างประเทศ 5 ครั้งและผ่านการคัดเลือก 4 ครั้ง เพื่อไปอบรมที่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อเมริกา ซึ่งจริงๆแล้วในการสมัครทุนครั้งแรกของดิฉันนั้น ดิฉันไม่ผ่านรอบสัมภาษณ์ หากดิฉันรู้สึกท้อแท้และสูญเสียความมั่นใจในครั้งนั้นและเลิกสอบแข่งขัน ดิฉันก็คงไม่มีวันที่จะสอบได้ทุนครั้งใหญ่คือการเป็นตัวแทน 2 คนของประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ The Hubert H. Humphrey Fellowship ณ สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกจำนวน 290 จาก 93 ประเทศ อันนำไปสู่การขยายเครือข่ายเพื่อนฝูงที่มากที่สุดเท่าที่ดิฉันเคยเข้าร่วมโครงการมา
สิ่งสำคัญของคนที่อยากสมัครทุนต่างประเทศคือผลสอบระดับสากล เช่น IELTS หรือTOEFL และการทำกิจกรรมต่างๆเช่นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรืออาสาสมัคร ทุนที่ดิฉันสมัครหลายทุนมักให้กรอกในใบสมัครเรื่องงานที่ทำนอกเหนือจากงานประจำ และดิฉันคิดว่านี่คือส่วนสำคัญที่ทำให้ใบประวัติฯของดิฉันแตกต่างจากผู้อื่นและได้รับคัดเลือกในแต่ละครั้ง

ล่าสุดกิจกรรมที่ดิฉันสมัครคือตำแหน่งผู้ประสานงานกองถ่ายต่างประเทศของโครงการ The Amazing Thailand Film Challenge 2014 ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศไทย ดิฉันมองว่านี่คือโอกาสในการเปิดโลกของตนเองให้เห็นการทำงานในอีกแวดวงหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากงานสอนของตนเอง  การรับสมัครครั้งนี้กำหนดคุณสมบัติคือ ไม่จำกัดเพศ อายุ การศึกษา และมีผลสอบภาษาอังกฤษ มีใจรักการบริการและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ดิฉันส่งเอกสารการสมัครไปและขอไม่สอบสัมภาษณ์ที่กทม.แต่ขอสอบทาง Skype แทน ซึ่งทีมงานปรึกษากันแล้วก็อนุญาตให้สอบทาง Skype ได้ เรื่องนี้สอนให้ดิฉันรู้ว่าหากสนใจอะไรก็ควรสมัครและลองต่อรองดู หากดิฉันเห็นว่างานนี้มีสอบสัมภาษณ์ที่กทม.แล้วไม่ทำอะไรต่อ ก็จะไม่ได้งานนี้ ในขณะที่ถ้าดิฉันต่อรอง มันก็ไม่มีความเสี่ยงอะไร 


ดิฉันอยากฝากถึงทุกคนว่าหากมีทุนและกิจกรรมที่น่าสนใจ ลองสมัครเลยค่ะ พุ่งเข้าใส่มันค่ะ เป็นการทดสอบตนเองและเรียนรู้กระบวนการสอบคัดเลือก  หากเราไม่ได้ในครั้งแรก ถือว่าเป็นการเตรียมตัวสำหรับครั้งหน้า ซึ่งหากตั้งใจ ครั้งหน้าต้องได้แน่นอนค่ะ ไม่มีอะไรได้มาง่าย แต่มันก็ไม่ยากหากเรามุ่งมั่น :)


-------------------
ลงจุลสารขาวม่วงฉบับเดือนกพ.-เมย.57

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Paying online is just a piece of cake



อิๆ ภูมิใจกับเรื่องเล็กๆจนต้องเก็บมาเขียน หลังจากที่เคยพยายามเขียน ความสุขเล็กๆ 3 อย่างในแต่ละวัน มาระยะหนึ่ง

วันนี้วันศุกร์ 13/6/14

1.เราทำภารกิจเรื่องการเอาเช็คคืนภาษี 8,000 B. ไปฝากธนาคารกรุงเทพเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ตอนก่อนไปลาว เราเดินจะเอาไปฝากที่หน้ามหาลัย แต่ว่ามันดันเปิดตอน 10.00 น. ซึ่งทำเอาเรางงเพราะคิดว่าธนาคารเปิด 8.30 am.  (แต่จริงๆแล้วเราไม่ช่างสังเกตเอง เพราะป้ายหน้าธนาคารก็บอกอยู่ว่าเปิด 10.00 am.- 18.00 pm.)  เราเลยติดค้างเรื่องนี้เอาไว้ และแอบหวั่นๆในใจเล็กๆว่าอะไรง่ายๆไม่ยุ่งยาก น่าจะทำซะ ไม่งั้นจะประสบการณ์ซ้ำรอยเหมือนครั้งที่แล้ว ที่ทำเช็คหาย จนต้องไปแจ้งที่สรรพากรจังหวัดใหม่ รอเช็คใบใหม่

เย้ ! ปิดจ๊อบไปได้ 1 เรื่อง

2. เราเคยพยายามจะจ่ายเงินด้วยบัตรเดบิต หรือเอทีเอ็ม ธนาคารกรุงเทพมาระยะหนึ่ง ก่อนหน้านั้นคิดว่าเวลาจะชำระค่าตั๋วเครื่องบิน คงต้องทำบัตรเครดิตเอาไว้ซักใบ แต่ตอนนี้เราไม่ต้องง้อบัตรเครดิตแล้ว และเราไฮเทคขึ้นอีก 1 ขั้น หลังจากที่เรียนรู้การชำระเงินทางตู้เอทีเอ็ม (ค่าโทรศัพท์ ค่า 3BB โอนเงิน)

ตอนนี้เราสมัครบัวหลวง IBanking แล้ว ซึ่งทำให้การโอนเงินเป็นเรื่องง่ายมากและถูกกว่าวิธีโอนเงินทางตู้เอทีเอ็ม คือจ่ายแค่ 12 B.  (จากราคา 30 B.)  วันก่อนเราพยายามจะจ่ายเงินค่านกแอร์ผ่านการจ่ายด้วยบัตรเดบิต แต่เมื่อมันบอกว่าต้อง verified visa นั่นคือต้องโทรไป 1333 เพื่อขอรหัส เราลองโทรไปและก็ทำตามไม่ถูก  (ตอนอยู่ลาว)  เมื่อกลับมาสงขลา เราเลยเกิดความคิดว่าเราน่าจะไปธนาคารโดยตรงและให้น้องจนท.ช่วยทำ หากสงสัยก็จะได้ถามได้ทันที มันต้องสำเร็จแน่ๆคราวนี้

หลังจากฝากเช็คแล้ว เราเลยปรึกษาจนท.และทำตามขั้นตอนทางโทรศัพท์อยู่พักใหญ่ (น้องจนท.ก็เพิ่งทำเป็นครั้งแรก แต่ก็ช่วยเหลือเราเป็นอย่างดี)  เย้! ในที่สุดร่วมครึ่งชม.เราก็เข้าใจวิธีการขอ SMS OP

อิๆ เราเลยฝากเงินเพิ่มอีก 16,000 B. เพื่อจะได้มียอดเงินในบัญชี กลับมาบ้านเราเลยลองจองตั๋วไทยไลอ้อนแอร์ โดยเลือกการจ่ายทาง direct debit เพื่อไปเป็นอาสาสมัครค่าย art for all 9/7/14 @ 14.20 pm. (915 B.)

ทีนี้การจ่ายเงิน(ออกจากกระเป๋า) ก็จะรูดปื๊ดๆ ง่ายมากๆ ฮ่าๆ เงินไหลออกเทออกกันล่ะคราวนี้
อีกใจนึงรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่กลัวเทคโนโลยี :)

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Sleeper bus: Laos

                                                                                                         








วันนี้จะได้เดินทางไปปากเซ เมืองท่องเที่ยวทางภาคใต้ของลาวแล้ว เนื่องจากต้องเดินทางนับ 10 ชม. จากเวียงจันทน์
หากเดินทางตอนกลางวันจากเวียงจันทน์จะเสียเวลามาก วันเลยบอกว่าพวกเราจะไปรถบัสนอนกัน (sleeper bus)  เราแอบกังวลกับการเดินทางยามค่ำคืน ห่วงเรื่องอุบัติเหตุ แถมฝนยังตกทั้งวันอีกวันนี้ แย่จัง

เมื่อน้องเมย์บอกว่าเคยเห็นรถนอนไปปากเซ เป็นแบบว่านอนราบ horizontal bed เลย เราก็ยังไม่ค่อยเชื่อ เพราะยังไม่เคยเห็นที่ไหน เลยมาถามอาจารย์ google ดูรูปล่วงหน้า



ตื่นเต้นๆ มันเหมือนนั่งรถไฟนอนเวลาเรามาจากปักษ์ใต้เพื่อขึ้นกทม.เลย การเดินทางด้วยรถบัสตอนกลางคืนเวลานั่งรถปรับเอน เมื่อยสุดๆ จนไม่คิดจะนั่ง หันไปนั่งรถไฟพัดลมชั้น 2 นอน แทนและการที่รถไฟไปตามรางของมัน เลยไม่ต้องหวั่นเรื่องอุบัติเหตุมากนัก แถม การได้นอน ทำให้ไม่เมื่อย สามารถเริ่มทริปได้ทันที
ครั้งนี้จะได้โอกาสลองของใหม่แล้ว  วันจองที่นอนตรงกับหัวรถเอาไว้ เป็นที่นอนสำหรับคน 4 คน (ราคา 120000 K../ที่) แต่พวกเราใช้นอนกัน 3 คนเลยไม่คับแคบ อ.กุ๊กนอนที่พักอีกที่นึง ด้วยความที่ไม่รู้ทำให้วันจองที่นอนไว้ที่เดียว แต่ว่าที่มันสำหรับเอาไว้ขาย 2 คน อ.กุ๊กเลยต้องรอลุ้นว่าคนที่จะมานอนร่วมเตียงด้วยคืนนี้คือใคร 



ข้อดีของที่นอนแบบนี้คือ หากซื้อ 2 ที่นั่ง (120,000 X 2 = 240000 K.) ซึ่งก็จะแพงอีก 1 เท่าก็จะได้นอนเต็มอิ่ม แต่หากซื้อที่เดียวเพื่อประหยัดเงิน หรือด้วยความไม่รู้ก็จะต้องทรมานกันไป 10 ชม.  เพื่อนร่วมทางซึ่งไม่รู้ว่าคือใครก็จะต้องเกร็งๆกันไป แถมรถก็จะปิดไฟเมื่อวิ่งไปราวๆ 30 นาที มันออกจะไม่สะดวกสำหรับผู้หญิงเดินทางคนเดียว แต่ก็อย่างที่บอกว่าซื้อ 2 ที่ดีกว่า


สำหรับเรา หากได้ยืดแขนยืดขายาวๆแล้ว เราก็จะรู้สึกว่าเราสามารถหลับได้แล้ว พร้อมสำหรับวันใหม่ แค่แอบเสียวเล็กๆเวลารถเลี้ยว (การพยายามทำตัวให้หลับก็จะช่วยได้ตรงนี้ อิๆ ความกลัวจะคนละประเภทกับคนที่ต้องรอลุ้นคู่นอนในค่ำคืนนี้)

                                                                                                                                                       Fri. 6/6/14

-------------------

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ลาว: การเดินทางครั้งใหม่



กลับมาจากบางกอกได้ 4 วัน เราก็เตรียมแพ็คกระเป๋าเพื่อไปเวียงจันทน์ ลาวในทันใด หลังจากที่เราเลื่อนการไปลาวจากที่ประกาศเอาไว้ว่าจะไปเมย. ก็ขอเลื่อนเป็นพ.ค.เพื่อไปเป็น production assistant กองถ่ายหนังต่างประเทศ เราสนุกสนานกับการไปเป็นนักท่องเที่ยวไทยที่ชัยภูมิร่วมอาทิตย์  ก็ได้เวลากลับมาสู่ภาควิชาการ งานหลัก (?) อิๆ

การเตรียมตัว
เตรียมตัวไปลาวภายใน 2 วัน ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 แล้วเลยไม่ตื่นเต้นมาก แต่นับว่าครั้งนี้จะเป็นการมาลาวนานที่สุดประมาณ 1 เดือน 1 อาทิตย์ หลักๆคืออยู่ที่วิทยาลัย Soutsaka เวียงจันทน์  เราสอดส่ายสายตาหาตั๋วเครื่องบินราคาถูก มาลงตัวที่ Nok Air ในราคา 2,022 บ. (หาดใหญ่-ดอนเมือง-อุดรธานี) และก็นั่งรถจากอุดรฯโดยความอนุเคราะห์จากน้องวันอีกประมาณ 1 ชม.ก็มาถึงเวียงจันทน์ในคืนวันที่ 4/5/14  ก่อนออกจากอุดรฯแวะซื้อของกินที่ห้างเซ็นทรัล เลยได้ของกินไทยๆติดมือมาฝากเพื่อนลาว



ที่พัก
ที่พักของเราคือบ้านของวัน โดยมีเพื่อนร่วมบ้านคือ “น้องเมย์ อลิสา” ลูกสาววัยป.4 เตียงนอน นุ่มสบาย เราเปิดหน้าต่างรับลมนอน แทนการนอนในห้องแอร์ ตอนเช้าๆอากาศสบายมากๆ รู้สึกนอนเต็มอิ่ม เพราะนอนตั้งแต่สี่ทุ่มยัน 7 น.
(อิๆ อีกเหตุผลนึงคือไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตเลยมีเวลานอนเยอะ) การมีน้องเมย์ เป็นเพื่อนนับเป็นเรื่องดี เพราะจะได้ช่วยวันดูแลน้องและสอนการบ้าน รวมทั้งเล่น พูด คุย เพื่อให้น้องได้มีเพื่อนตอนกลางคืน กิจกรรมที่ทำกับน้องไปแล้ว และใหม่สำหรับเราคือการวาดรูปโดยใช้สีโปสเตอร์ แถมวาดโดยไม่ต้องใช้ดินสอ ภาษาลาวเรียกน่ารักๆว่า “การแต้มฮูป”  สีโปสเตอร์ทำให้กระดาษปอนด์ที่วาดดูสดใส และฝีมือที่เราวาดก็ประมาณเด็กอนุบาล (หรืออาจจะเป็นขั้นประถมต้น อิๆ) ตอนวาดเราไม่ค่อยมั่นใจ แต่น้องเมย์สอนว่าให้ใช้จินตนาการเป็นหลัก (น่าน เด็กสอน) นานมากๆแล้วที่เราไม่ได้วาดภาพ สงสัยตั้งแต่ตอนเรียนมัธยมปลาย แต่เราก็มีความใฝ่ฝันลึกๆว่าเราจะเรียนวาดรูป เพื่อเอาไว้ผ่อนคลายอารมณ์และแบบว่า เอ่อ...จะได้ดูติสๆ 55





เราคิดถึงขนาดจะจ้างนิสิตเพื่อมาสอนวาดภาพสีน้ำ (สำหรับเรา สีน้ำให้ความรู้สึกนิ่มนวล เบา สบาย เรายังไม่ค่อยเห็นการวาดสีน้ำที่ให้ความรู้สึกรุนแรง โดยทั่วไปสีน้ำมากับความสบายใจ ภาพธรรมชาติๆ)

ที่พักในลาว ราคาไม่แพงมาก guesthouse / เฮือนพักราคาต่อคืนจะอยู่ที่ 400-500 บ. และขนาดห้องกว้างขวางพอประมาณ หากมาเวียงจันทน์ มีที่พักมากมายไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้ใดอยากเที่ยวริมโขง ก็สามารถหาที่พักในย่านนั้นได้ เดินไม่ไกลก็จะเห็นฝั่งโขง แถมแถวริมโขงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งช๊อปปิ้ง (ตลาดมืด) และมีลานกินอาหาร/เบียร์ อีกด้วย ร้านอาหารฝรั่งก็มีให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีเงินได้นั่งกินบรรยากาศและคุยแกล้มบรรยากาศ แถมมาเดินแถมริมโขงก็สามารถโทรศัพท์กลับไทยโดยใช้ซิมเมืองไทยได้ด้วย (เหมือนโทรภายในประเทศ)


ตอนเรา backpack มากับมดครั้งแรก พวกเราก็มาหาที่พักเอาดาบหน้า ใช้วิธีว่าออกจากสนามบินปุ๊บก็บอกคนขับ taxi ให้พาไปที่พักในราคาที่พวกเราต้องการ

-------------------to be continued------------------------------------------------------------

Internationally collaborative voluntary project between Laos and Thailand




The concept of volunteerism was strongly implanted in my heart during my rewarding fellowship year at Penn State, in America. I have participated in various numbers of volunteer opportunities.  I have gone out of my way to participate in each and every volunteer opportunity that I had heard, for example, volunteering at the Discovery Space Science Museum of Central Pennsylvania and Center Crest, helping out for Beaver Stadium Recycling Program and Santa to the senior: wrapping gifts party and so forth.   I was delighted to be recognized for my work when I received “the Public Service Award” on the closing ceremony day at Washington D.C. in May 2012.

My name is DiyapornWisamitanan,  lecturer of English and assistant to the dean of the Faculty of Humanities and Social Sciences for Student’s Affairs in Thaksin University, Songkhla, Thailand.
 At present, I’m teaching a Foundation English Course, from May 5th- June 6th 2014, at Vanhkham Souligna's Soutsaka College of Management and Technology, Vientiane. As well as my teaching duties the main purpose of my role here is to help the director, Vanhkham Souligna,  develop the office of student's affairs and promote a volunteer spirit amongst the Laotian students. 

I got to know Vanhkham Souligna at Penn State University during our time studying the HHH program. We became very close friends as we are from neighboring countries and our languages are quite similar in many ways. Before leaving America, we discussed the idea of a future collaboration that might help develop our institutions, in terms of promoting volunteerism.  After returning back home, we began this collaboration with my university and her college, where she is the director, signing a MOU. We also arranged school visits and buddy programs together from 2013 onwards. 





So far, during my 1-month visit, 15 student leaders and I have done 3 weekly voluntary activities including visiting and playing with kids at SOS Children's Village and the Association for Autism, and on International Children’s Day we went to a remote school to set up booths for face painting, cloth bag painting and sand painting.  All activities were very successful.  Laughter and smiles were all around.  Happily, the kids wanted us to visit them again. More importantly, student volunteers would also like to continue doing voluntary activities.  We plan to spread this kind of activity to other students as well, by implementing a monthly program for those who are interested and available on weekends. 





I found that Laotian students loved doing voluntary work; they just needed someone to invite and lead them to do it.  Now they know that it is enriching to make a difference.  They said they would visit kids again and asked for the next program.


The expected outcomes of my work with Vanhkham’s college include strengthening the relationship between our institutions, and finding opportunities for students to learn to make a difference and gain knowledge of different cultures from neighboring countries. Most importantly, sharing my volunteer experience that I gained during the HHH program 2011-2012 and implementing voluntary programs that students can do on their own.  Both of us hope to continue in this work together on a long-term basis.

------------