วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
บันทึกน้ำท่วม 53
ฝนตกหนักมาหลายวันตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 31 ต.ค.53 ยันวันจันทร์ที่ 1 พ.ย.53 วันสถาปนามหาวิทยาลัยทักษิณครบรอบ 42 ปี สงสัยมันกะเอาฤกษ์ดี D-Day ตามฤกษ์ยามของมหาลัยกะเค้าด้วย
วันจันทร์ฝนตกหนักมาก – มากที่สุด ตกทั้งวันทั้งคืน ดูข่าวตอนค่ำ ผู้รายงานข่าวประกาศว่าประมาณสามทุ่มกว่าๆ จะมีพายุดีเปรสชั่นเข้า ปิ๊ก+ ฟ้า โทรมา confirm ข่าว ปิ๊กดูจากเชียงใหม่ ฟ้าดูจากสงขลา
ไอ้เราก็ยังไม่คิดว่ามันจะรุนแรงมาก
(น้ำท่วมสงขลา-หาดใหญ่ ครั้งใหญ่สุดเมื่อปี 2543 หลังจากนั้นก็มีการเตรียมการรับภาวะน้ำท่วมตลอด )
ที่ไหนได้ เราได้ยินเสียงลมพายุชัดมาก ตั้งแต่สามทุ่มครึ่งยันเกือบห้าทุ่ม น่ากลัวจัง
ยิ่งนอนชั้น 2 ยิ่งได้ยินชัด
ไปมาเลเซียครั้งล่าสุด เราได้มีโอกาสเข้าตู้ Experience Hurricane ที่เวลาลมพายุมามันจะพัดแรงขึ้นเรื่อยๆ เข้าไปแค่ไม่กี่นาที ก็รู้สึกถึงความเย็นและความแรงของพายุ
นั่นเป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าพายุน่ากลัวจัง
มาเจอของจริงคืนวันจันทร์ที่ 1 เข้าใจลึกซึ้งขึ้นมากกก…ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฝนฟ้าคะนอง มาพร้อมกันเชียว (ใครเชิญเนี่ย)
นอนไม่ค่อยหลับ ( แฮ่ แต่ก็ตื่นซะเกือบ 7 โมง) ตื่นขึ้นมารับรู้ความแรงของพายุ ที่ทำเอาต้นชมพู่
หน้าบ้านหักครึ่งและทับขนำของเพื่อนบ้าน ทำให้เค้าต้องซ่อมขนำ
ภารกิจของเราครึ่งเช้าวันอังคารเลยเป็นการเก็บกวาดกิ่งไม้ซึ่งเยอะมาก ใส่รถเข็นเอาไปทิ้ง แฮ่กๆ กว่าจะเสร็จก็เข็นหลายรอบอยู่
เรื่องนี้มีบทเรียนว่าก่อนพายุจะมา ฝนฟ้าจะตก จะเป็นการดีถ้าได้เล็มหรือตัดกิ่งไม้ทิ้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน
หาก เมื่อเทียบความเดือดร้อนอันเล็กน้อยของเรากับชาวเกาะยอที่เลี้ยงปลากะพงแล้ว น้ำหนุนจนปลากะพงออกจากกระชังคงเทียบกันไม่ได้ ปลากะพงกว่าจะเลี้ยงให้โตและขายได้ใช้เวลาปีกว่า
ลงทุนร่วมแสน เกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้นเหมือนกับเป็นการทิ้งเงินแสนลงทะเล
ชาว บ้านที่อยู่ริมทะเลได้รับผลกระทบจากลมพายุพัดขนำเลี้ยงปลากะพงเสียหายทั้ง หลัง หลายคนสร้างขนำเหมือนสร้างบ้านเพราะมีเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นตู้เย็น ทีวี พัดลม อยู่ในนั้น ลมพัดจนบ้านพัง ทรัพย์สินก็หายไปกับสายน้ำ
โฮมสเตย์หลายหลังก็โดนลมพายุพัดไปกับน้ำอีกเช่นกัน
ร้านอาหารโกเข่ง ร้านอาหารเจ้าแรกๆของเกาะยอ ก็เสียหายเช่นกัน
เรือ ประมง เนื่องจากฝนตกหนัก เรือรับน้ำหนักน้ำที่ลงมาในเรือไม่ไหว ก็จม ชาวประมงต้องกู้เรือขึ้นมาใหม่ เครื่องจักรของเรือจมน้ำได้รับความเสียหาย
เอ่อ…ทำไมยิ่งเขียนก็ยิ่งดูเหมือนว่าเสียหายกันเยอะจัง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)