วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Dear Diary: My tradition of writing postcard




Dear Diary: 

Greetings from Brasov, Romania.

I've my last day in Romania after the YiA4SDGs from 30-11 July 2016. 28 Participants from ...

We 've got an opportunity to do flashmob, taking pictures with locals to promote SDGs* which I got to read more about these goals when getting back. 

This will become 1 of my unforgettable experience as it's my 1st time in Europe.  I've not expected that it'd be so productive like this. 

**
Remark:  It's my tradition to try to write a postcard to myself when traveling to new places.  Postcards in Romania are so beautiful & not expensive. Around 20 B.  I use them as a gift for English students who can answer questions from Romania that I posted on FB group: TSUWESTERN.

Q.1 :  What is this? 
Hint:   It's in front of a traditional village in Romania.
A.   :   A beehive (รังผึ้ง)

Kotchy was so clever. When I saw this, I didn't know what it was so I needed to ask a museum staff. She said it's a beehive!  So big. To me, it looked like a fish trap!




Q.2:  What are these 2 people's nationalities?
A.: Italian.




Best, the Junior student to-be answered my question correctly so I wrote a postcard to him and when I reached Suvannabhumi Airport, I went to the post office on the 4th floor to send it from BKK  on 12/7/16.  It reached him on 20/7/16. Glad that I've completed my determination to send pics to friends/students. 







** I sent 3 postcards to Jum (Songkhla), Keng (BKK), & Best (Trang).

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Codlea เมืองเงียบๆแต่น่ารัก








พวกเรา 28 คนจาก 8 ชาติ มาอบรมกันที่เมือง Codlea ซึ่งเป็นเมืองกลางภูเขา ห่างจากตัวเมืองหลวง Bucharest ประมาณ 4 ช.ม. เมืองนี้เป็นเมืองเงียบๆ เดินตามท้องถนนไม่ค่อยจะเห็นผู้คน 
Eugenia ผู้ประสานงานบอกว่าอัตราการจ้างงานของที่นี่ต่ำ คนตกงานสูงถึง 60%! 




เมืองเงียบๆแห่งนี้ไม่เห็นคนเอเซียเลย นับว่าเรากับน้องแพร์เป็นคนหัวดำจำนวนน้อยนิดที่มาเดินๆอยู่ในเมืองนี้ ที่พักของพวกเราคือ Exotic House ที่นี่เป็นที่พักเล็กๆที่มีอยู่ไม่กี่แห่งของที่นี่ ห้องพักค่อนข้างเล็ก และไม่ติดแอร์ เนื่องจากอากาศเย็นแทบทั้งปี แม้แต่ช่วงซัมเมอร์ที่พวกเรามาพัก แต่ไม่น่าเชื่อว่าเตียงนอนเล็กมากสำหรับ 2 คน เราเลยลงมานอนพื้นโดยเอาผ้าห่มมาปูนอนแทน 

ในแต่ละวันพวกเราเดินจากที่พักไปยังร้านอาหารที่มีห้องประชุม ใช้เวลาร่วม 20 นาที ทำให้ช่วงนั้นเรารู้สึกแข็งแรงมาก อิๆ จะรู้สึกหนักก็แค่บางวันที่ต้องเอาเสื้อกันหนาวติดไปด้วย (ในขณะที่เพื่อนต่างชาติร่วมถึงแพร์ จะรู้สึกกำลังสบาย ส่วนเราหนาวล่วงหน้าไปเรียบร้อยแล้ว :)

ระยะทางกว่าจะไปถึงที่อบรม พวกเราจะผ่านร้านค้าที่ขายผลไม้เมืองหนาว 












โบสถ์ และแม้แต่ร้านขาย Prezel ราคาถูก ประมาณ 10 บ. ชิ้นใหญ่มาก หากกินตอนกำลังร้อนๆ อร่อยเลยล่ะ แต่หากปล่อยไว้สักแป๊บแล้วมากิน อิๆ ก็จะแข็งได้ที่เลย (เสียรสชาติไปหน่อยนึง) 




รถราของที่นี่ให้เกียรติคนเดินถนนมาก หากมีคนกำลังรอข้ามถนน รถจะจอดทันที พวกเราไม่ต้องรอ น่ารักมากๆ ไม่เหมือนรถในเมืองไทยที่ไม่ค่อยสนใจคนข้าม มักจะเร่งเครื่องผ่านไปอย่างเร็ว ให้คนข้ามรอไปก่อน แถมเวลากำลังข้าม รถที่กำลังจะวิ่งสวนไปก็ไม่ค่อยชะลอ 




สงสัยจังว่าจะรีบไปไหน หากรีบไป น่าจะไปซะตั้งแต่เมื่อวานนะเออ 


ที่นี่เก๋กู๊ด ตรงที่ยังเห็นรถม้า ที่เรียกว่าเอาไว้ใช้งานจริงๆ ไม่ใช่เอาไว้สวยๆสำหรับนักท่องเที่ยว รถม้าของที่นี่เอาไว้ขนของ ขนไม้ และวิ่งอยู่ในเมืองด้วย ดีจัง รู้สึกราวกับว่ามาเมืองชนบทมากๆ 






ส่วนความไม่เหมือนเมืองอื่นๆที่เคยเห็นมาที่สุด คือ ที่นี่มีเกาะถนนที่เป็นสวนสาธารณะในตอนเย็นๆ มีคนมานั่งกินลมชมวิว สวนที่เคยๆเห็นมา จะมีที่ทางของมัน ไม่มีการมาอยู่กลางเมือง เอ๊ย กลางถนนขนาดนี้ ตอนเย็นๆ มีผู้ใหญ่มานั่ง และมีเด็กมาเล่นกีฬา อันนี้ไม่แน่ใจว่าพื้นที่ไม่มีสำหรับการทำสวน หรือเป็นไอเดียเก๋ๆแบบว่ายกสวนมาไว้กลางเมืองกันแน่ ข้อดี(ที่เราคิดเอาเอง)ก็คือ มันน่าจะปลอดภัยตรงที่หากไปนั่งเปลี่ยวๆก็อาจจะมีอันตรายได้ เลยมานั่งในที่รถผ่านไปมาเห็นซะเลย(แล้วกัน) แต่ข้อเสียก็คือนั่งพักผ่อนท่ามกลางฝุ่นควันจากรถ มันจะทำให้เสียสุขภาพหรือเปล่า ? 




***Credit: Pics from N'Pear, Parin






วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

YiA4SDGs, Romania : What I've learned ( Part III)









ค่ายนี้เป็นค่ายแรกของการไปไกลถึงยุโรป และโรมาเนีย ประเทศที่เคยได้ยินมาก็แต่ตำนานแดร๊กคิวล่า ไปแล้วไม่ผิดหวัง เพราะนอกจากได้ชื่นชม 1 ประเทศในยุโรปและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศผ่านการสัมผัสจริงและไกด์ท้องถิ่น รวมถึงเพื่อนโรมาเนียแล้ว

การได้เข้าค่ายร่วมกับเพื่อนต่างชาติอีก 27 คน จาก 8 ประเทศ คือ โรมาเนีย สโลวีเนีย กรีซ อิตาลี ฝรั่งเศส เวียดนาม เนปาล ไทย ทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันผ่านการทำงานเดี่ยว งานคู่ งานกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ ทุกงานต้องใช้ความสามัคคี
เพื่อให้งานผ่านไปได้ในเวลาที่กำหนด กิจกรรมมีตั้งแต่การให้ความรู้เรื่่อง Sustainable Development Goals, Fundraising, กระบวนการการทำโครงการให้สำเร็จ การแข่งขันถ่ายรูปกับคนท้องถิ่นให้ได้จำนวนมากที่สุด และการทำ Flash mob เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนสนใจเรื่อง SDGs







กิจกรรม selfie หาคนท้องถิ่นถ่ายรูปกับพวกเราให้ได้มากที่สุด เป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จและสนุกสนานมาก พวกเราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคนท้องถิ่นในสถานที่ท่องเที่ยวที่พวกเราไปกัน นั่นคือ เมือง Brasov เมืองแห่งตำนานท่านแดร๊กคิวล่า โดยกลุ่มพวกเรา (สองสาวไทย (น้องแพร์) + 1 สาวสโลเวเนีย ( Erika) พวกเราเลือกคนท้องถิ่นที่ดูเหมือนจะมีเวลา เช่นนั่งพักผ่อน ทานไอศกรีม คุยกันชิลล์ๆตามที่นั่งสาธารณะ เพราะพวกเขาดูมีเวลาเหลือพอที่จะคุยกับคนแปลกหน้าได้ ส่วนคนที่เดินผ่านมา มักจะไม่มีเวลาให้พวกเรา ที่ทำให้พวกเราประหลาดใจคือตำรวจไม่ได้ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมนี้ ไม่ยอมถ่ายรูปกับคนหน้าแปลก เอ๊ยแปลกหน้าอย่างพวกเรา และออกจะระแวดระวังว่าพวกเราทำอะไรกัน(เนี่ย)
ไม่เหมือนกับเภสัชกรในร้านที่เข้าไปอุดหนุน หรือบริกรที่ยืนอยู่หน้าร้าน ที่ใจดี ให้ความสนับสนุนและยิ้มแย้มแจ่มใสมาก กิจกรรมนี้ทำให้พวกเราได้ก้าวออกจาก comfort zone ของตนเอง กล้าเข้าหาคนในชุมชนเพราะมีภารกิจต้องทำให้สำเร็จ ทำให้พวกเราภูมิใจ (แต่ก็ไม่ได้ชนะนะคะ เพราะทีมอื่นทำได้มากกว่า) การให้ความรู้ของผู้นำค่าย มีความเป็นระบบ เข้าใจง่าย และสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมมีความสนุกสนาน มีเกมกระชับความสัมพันธ์ตั้งแต่วันแรกที่พวกเราร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน แทบทุกคนจำชื่อกันได้หมด โดยเฉพาะคนที่ชื่อสั้นๆ โดยรวม เราประทับใจค่ายนี้ เพราะได้เปิดประสบการณ์ด้านการทำงานของเยาวชน และเห็นเพื่อนๆแต่ละประเทศมีความกระตือรือล้นในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง กิจกรรมไม่เคร่งเครียดจนเกินไป มีเวลาที่จะสนุกสนานและทำความรู้จักกันหมดทุกคน ไม่มีการแบ่งอายุในค่าย

คุ้มมากๆที่ได้ไปค่ะ






วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Hi Bucharest not Budapest









Hi Bucharest not Budapest

มีโจ๊กเกี่ยวกับชื่อเมืองหลวง ฺBucharest ของโรมาเนีย เล่ากันว่าคนมักจะสับสนกับเมืองหลวงของฮังการี คือเมือง Budapest เมื่อครั้งที่ไมเคิล แจ๊คสัน มาแสดงคอนเสิร์ต เค้าทักทายคนมาดูคอนเสิร์ตว่า Hi Budapest ! ทำเอาผู้ชมอึ้งไป 10 วิฯ แถมมาดอนน่าก็ยังเอากับเขาด้วย Hi Budapest! อีกคน (ไม่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดเล๊ย ชาวเมืองแฟนคลับอาจจะหายไปเล็กน้อย) 

เรื่องโจ๊กอีกอันนึงคือ มีเครื่องบินจะบินไป Budapest แต่เมื่อผ่านเมือง Bucharest ก็หยุดจอด เพราะคิดว่าถึงเมือง Budapest ฮังการี แล้ว ( อืม...เรื่องนี้จริงไหมเนี่ย)

และแล้วพวกเราก็บินจากสนามบินตุรกี ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.ครึ่ง มาสนามบิน Henri Coanda ประเทศโรมาเนียด้วยความปลอดภัย สนามบินค่อนข้างเล็ก ทำให้ไม่มีปัญหาการหลงทางในสนามบิน แถมที่ชั้น 1 ยังมีร้าน supermarket ให้ shop เพื่อหาของกินราคาย่อมเยาอีกด้วย ทำให้พวกเราเมื่อนึกถึงของกินและไม่มีที่ไปก็จะมาปักหลักเริ่มต้นที่นี่กันเลยทีเดียว

เรามาถึงโรมาเนียก่อนวันอบรม 1 วัน ทำให้มีเวลา city tour  
หลังเข้าโรงแรมที่พักคือ Rin Airport Hotel ซึ่งอยู่ใกล้กับสนามบินมาก ที่น้องแพร์จองทางอินเตอร์เน็ตเอาไว้ มันห่างจากสนามบินแค่ประมาณ 7 นาที แถมสะดวกกับการเดินทางเพราะมีรถ shuttle bus คอยรับส่งทุกช.ม.ไป-กลับสนามบิน หากจะไปในเมืองก็แค่นั่งรถจากโรงแรมมาที่สนามบิน และต่อรถเมล์เข้าเมือง 

หมายเหตุ: ราคาที่พักที่นี่ต่อห้อง ประมาณ 1,900 บ. ซึ่งหากมีคู่พักด้วย ก็จะประหยัดไปได้หน่อยนึง แนะนำว่าหากใครคิดเที่ยวไกลๆ หาคู่หูสักคนไปด้วยเพื่อช่วยกันหารค่าเดินทาง taxi & ที่พัก เรามาถึงโรงแรมประมาณ 10 โมง แต่เวลาเข้าพักในห้องได้คือบ่ายสอง เมื่อไปสอบถามพนง.เค้าบอกว่าจะต้องจ่ายเพิ่มประมาณ 500 บ. ณ นาทีนั้นอยากเข้าห้องพัก ไปอาบน้ำแล้ว เราก็เลยตกลง ซึ่งราคาที่เพิ่มมานี้จะจ่ายเมื่อ check-out อิๆ แต่ท้ายสุดตอน check-out เค้าก็ไม่ได้คิดเงินเพิ่มนะ โชคดีมาก 

คนขับแท๊กซี่ที่นี่เป็นมิตรมาก จะไม่มีการเซ้าซี้ลูกค้า เมื่อบอกว่าจะไปรถ shuttle bus ของโรงแรม ก็ไม่เซ้าซี้ให้นักท่องเที่ยวอึดอัด หรือแข่งกันเรียกลูกค้า แถมยังชี้ทางจุดขึ้นรถของโรงแรมให้อีกด้วย (ปรบมือรัวๆกับความเป็นมิตรและหน้าตาดีของคนขับแท๊กซี่ที่นี่ เอ๊ะ อย่างหลังเกี่ยวไหม อิๆ) 

วันแรกใน Romania เรากับน้องแพร์เริ่มด้วยการนั่งรถ taxi จากโรงแรมมาลงในเมือง โดยคนขับมาส่งให้ที่ the House of Free Express พวกเราหาจุดขึ้้นรถ hop on hop off โดยการถามวัยรุ่นแถวนั้น ซึ่งเธอไม่รู้ (อันนี้ก็ไม่ว่ากันเพราะความเป็นคนท้องถิ่นอาจจะทำให้ไม่ต้องใช้บริการรถประเภทนี้สินะ) พวกเราเลยหากันเอง และได้ขึ้นรถในที่สุด โดยซื้อตั๋วที่บนรถได้เลย ในราคา 25 lei 

การขึ้นรถก็ง่ายๆ (อิๆ อันนี้พูดได้เมื่อเข้าใจภายหลังว่าสัญลักษณ์ hop on hop off จะมีทั่วไป ขึ้นจุดไหนก็ได้ ไม่ต้องหาซื้อตั๋วจาก office ให้ยุ่งยาก แถมยังใช้ได้ 24 ชม.จริงๆ หากขึ้นรถวันนี้ 4 โมงเย็น ก็สามารถมาขึ้นต่อให้ครบวันได้  

 ( ไอ้เราก็โง่มานาน เคยขึ้นที่มาเลย์ + สิงคโปร์ ก็ขึ้นในวันที่ซื้อตั๋ว และวันรุ่งขึ้นไม่ได้ใช้ คิดว่ามันหมดอายุแล้ว) 

พวกเรานั่งรถสำรวจเมือง 1 รอบ และคิดกันว่าจิ้มจุดต่างๆไว้ เพื่อครั้งหน้าจะได้กำหนดจุดเที่ยวได้ 
อากาศช่วงกค.กลางวันร้อนมาก (รู้สึกได้ทันทีว่ามีปัญหากับการจัดเสื้อผ้าอีกแล้ว เสื้อผ้าแต่ละตัวเอามาหนาๆ เพราะเจ้าหน้าที่แจ้งว่าที่พักในเมือง Codlea ซึ่งเป็นเมืองในภูเขาจะค่อนข้างหนาว  ไอ้เราก็ไม่ทันคิดว่าในเมืองหลวง ซึ่งห่างจากเมือง Codlea แค่ 3 ชม.ครึ่งจะแตกต่างกันมากขนาดนี้

การแต่งตัวของคนเมืองหลวงเลยเป็นแบบ summer กางเกงขาสั้น เสื้อบางๆ หาคนใส่กางเกงขายาวได้น้อยมาก เสื้อผ้าตามห้างก็เป็นเสื้อผ้าแนว summer แถมถูกด้วยนะ ลด 50 % เห็นได้ทั่วไป อิๆ เราเลยได้เสื้อผ้ามาหลายตัว 

---------------
สถาปัตยกรรมของเมือง Bucharest และตึกรามบ้านช่องในตัวเมือง สวยและดูขลังมาก โรมาเนียเคยปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์มาก่อน ทำให้สภาพบ้านเมืองบางที่ เวลาที่ฟังไกด์ท้องถิ่นเล่า ก็จะมีเรื่องราวเท้าความไปได้ตั้งแต่สมัยปกครองแบบคอมมิวนิสต์ 


หลายสถานที่สำหรับชาวเมืองจะเป็นทั้งแบบ 
love-hate relationship คือทั้งรักและเกลียดสถานที่นั้น เช่น House of Parliament ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับ 1 ของเมือง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อถูกสร้างมาในยุคคอมฯที่รัฐบอกให้ประชาชนประหยัด และเน้นความเท่าเทียม แต่รัฐกลับมาฟุ่มเฟือยซะเอง ด้วยการสร้างซะหรูหรา ไม่ว่าจะมีพรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ซึ่งไม่ได้ใช้วิธีผลิตเสร็จในครั้งเดียวแล้วเอามาปู แต่เอามาปูรวมกันเป็นชิ้นใหญ่ในห้องประชุมหรูหราของที่นั่น เพราะไม่สามารถขนย้ายในคราวเดียวได้ / การมีห้องจัดงานเลี้ยงขนาดใหญ่มากกก...  /โคมไฟ chandelier แบบหรูๆทุกห้อง / ผ้าม่านที่หนัก 25 กก. / ห้องที่เสียงปรบมือจะก้องกังวาน ราวกับว่ามีผู้อยู่ที่นั่นนับร้อยคน (อันนี้เพื่อ ....) 

หากไปเที่ยวภายในที่นี่ จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำกล้องถ่ายรูปเข้าไป ถ้าจะนำเข้าไปก็จ่ายเงินเพิ่ม 

ทุกห้องล้วนหรูหราอลังการ เกินกว่าที่ประชาชนตาดำๆจะรับได้ (เอาเงินพวกช้านนน...ไปทำเยี่ยงนี้เหรอ)

เมื่อคิดแบบนี้ทำให้ชาวเมืองเกลียดที่นี่ แต่ขณะเดียวกันที่นี่ก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในภายหลังที่นำรายได้เข้าประเทศ (เอิ่ม เลยจะชังก็ชังได้ไม่เต็มที่) 






วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Roaming in Romania 2016: Pre-Departure (Part I)











30 / 07 /59 - 11/08/59

เมื่อเราบอกใครๆว่าจะไปโรมาเนีย ก็มักจะได้สีหน้าปนแปลกใจปนพิศวงว่าไปทำอะไร 

แล้วทำไมไปยุโรปครั้งแรก ถึงเลือกไปที่นี่ล่ะ

บางคนยังไม่รู้พิกัดของโรมาเนียด้วยซ้ำว่าตั้งอยู่ที่ใดในโลก 

ในขณะที่บางคนรวมทั้งเรา ภาพแรกที่นึกถึงโรมาเนีย คือดินแดนตำนานท่านแดร็กคิวล่าล่าล่า.... เพิ่มเติมที่เพื่อนบอกมา (โดยที่เธอยังไม่เคยไป) ว่ามีแต่ขอทานบ้างละ ยิปซีเยอะบ้างละ เป็นประเทศยากจนบ้างละ 

ช่างสนับสนุนการเดินทางดีนักแล (กรอกตาล่าง มองบน) 


อืม...แล้วไปทำไมโรมาเนีย


เรื่องมันเริ่มเมื่อน้องเกด แห่งองค์กร Volunteer Spirit Thailand ส่งข้อความมาทาง FB ถามว่าสนใจไป training
เรื่อง Youth in Action for Sustainable Development Goals ที่ประเทศนี้มั๊ย 10 วัน เราก็ตาโตขึ้นมาทันใด เพราะเป็นประเทศที่ก็ไม่ได้อยู่ในลิสท์ที่อยากจะไปในอนาคตอันใกล้ 

แต่เมื่อมีสิ่งล่อใจคือการไปโรมาเนียครั้งนี้จ่ายแค่ราคาตั๋วเครื่องบินครึ่งราคา แถมวีซ่าเราก็ไม่ต้องบินขึ้นไปทำล่วงหน้าที่สถานทูตโรมาเนียในกทม.ให้เสียเวลาเนื่องจากเรามีพาสปอร์ตราชการเล่มสีน้ำเงินอยู่แล้ว 

 เราก็เริ่มหวั่นไหว รีบหาข้อมูลเรื่องตั๋วเครื่องบิน และทำเอกสารต่างๆอย่างรวดเร็วด้วยความช่วยเหลือและประสานงานของน้องแพร์


ฮูล่า! 

ในที่สุดก็ได้ตั๋วสายการบิน Turkish Airlines ราคาสมน้ำสมเนื้อที่พอจ่ายได้มาอยู่ในมือ ในราคาไป-กลับ 38,515 บ. น้องแพร์เตือนว่าต้องทำประกันการเดินทางด้วย 

อ่ะ...งั้นซื้อค่าประกันการเดินทางอีก 655 บ. ค่าใช้จ่ายหลักๆมีแค่นี้ 

หากไม่ไปเที่ยวล่วงหน้าก่อนวันอบรมจริง 2- 8 ก.ค.59 

มีเรื่องตื่นเต้นที่ทำให้ต้องคิดทบทวนการมาโรมาเนียในครั้งนี้ด้วยแน่ะ

เราอยู่ภาคใต้ ว่าก็พอจะชินกับข่าวระเบิดหรือการก่อการร้ายแล้วนะ 

แต่เมื่อมันเกิดในเหตุการณ์ที่เราอาจจะมีโอกาสได้สัมผัส ก็ทำให้เสียวสันหลังเหมือนกัน
29/6/59 มีการระเบิดที่สนามบินแห่งชาติของตุรกี (ซึ่งจะเป็นสนามบินที่พวกเราต้องไปต่อเครื่องหลังจากนั่งมา 10 ชม.จากสุวรรณภูมิ เพื่อจะต่อไปยังเมืองบูคาเรส โรมาเนีย อีกชม.ครึ่ง ) มีผู้บาดเจ็บและตายถึง 46 คน ! พวกเราคิดกันว่าสงสัยจะต้องเลื่อน flight ซึ่งก็แบบว่าตั๋วที่ซื้อไว้เป็นแบบ non-refundable!
OMG! ตั๋วช้านนนน...
(โม้กับชาวบ้านชาวเมืองไว้เยอะแล้วด้วยว่าจะไปลัลลาที่โรมาเนีย ฝันจะสลายเหรอเนี่ย) วันนั้นพวกเราต้องเกาะติดสถานการณ์ข่าวเพื่อดูว่าสนามบินจะบินทำการหรือไม่


อืม...โชคดีที่สนามบินไม่ได้ปิดทำการ แต่ทีนี้ก็เกิดอาการแอบหวั่นๆ มันจะตูมตามตามหลังจากบอมบ์นี่รึเปล่าเนี่ย คิดในแง่ดี เวลาโจรก่อการเลว มันไม่เลือกสถานที่เดิม เพราะความเข้มงวดของการรักษาการน่าจะมีมากขึ้่น
ปลุกปลอบใจตัวเองดังนี้แล้ว ก็จัดกระเป๋าเดินทางต่อแล้วกัน
เริ่มการผจญภัยในแดนยุโรปด้วยข่าวบอมบ์แบบนี้แล้ว จะมีอะไรรออยู่ข้างหน้ากันนะ ณ Romania ?




---------------------- 

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Wow! A geography student's life








“ภูมิศาสตร์รักเรา เรารักภูมิศาสตร์”
เป็นคำกล่าวที่นิสิตสาขาภูมิศาสตร์ต้องคำนึง เเละรักในสาขาภูมิศาสตร์
Geography ภูมิศาสตร์ หรือ Geography ซึ่ง geo หมายถึง โลก และ graphein หมายถึง การเขียน หรือ การพรรณนา

ดังนั้นภูมิศาสตร์ คือการเขียนหรือพรรณนาเกี่ยวกับโลก สรุปภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ บนพื้นผิวโลกทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น โดยแบ่งเป็นทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์ และมีวิชาเทคนิคทางภูมิศาสตร์เป็นตัวช่วยในการศึกษา
สวัสดีครับ ผม นายวรายุทธ์ วงศ์ชู จากนครศรีธรรมราช ชั้นปีที่ 3 เวลา 2 ปีที่ผ่านมาที่ผมได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ที่แห่งนี้ได้ให้ประสบการณ์ และความอบอุ่น เมื่อย้อนวันวานไปปี 1 เริ่มตั้งแต่วันสัมภาษณ์พี่ๆมาเต้นต้อนรับ และพาไปห้องสอบสัมภาษณ์ เมื่อประตูลิฟต์เปิดออกที่ชั้น 3 เป็นชั้นของวิชาเอกภูมิศาสตร์ ตามริมทางเดินเต็มไปด้วยหินมากมายแปลกตา มีพี่ๆแจกขนม มีบุคลากรมาบรรยายความรู้ต่างๆ ให้ฟัง วันนั้นการสัมภาษณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี คณาจารย์ บุคลากร และพี่ๆนิสิตภูมิศาสตร์ ให้การต้อนรับ ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ทำให้ผมมีความประทับใจเป็นอย่างมาก


วันเปิดเทอมวิชาแรกที่เป็นวิชาเอกที่นิสิตภูมิศาสตร์ต้องเรียนคือ วิชาภูมิศาสตร์กายภาพ คาบแรกที่เรียน ขอบอกว่า ให้ทุกคนนึกถึง “หุ่นขี้ผึ้ง” ผมจำได้เป็นวิชาที่เพื่อนๆ นั่งนิ่งมาก และเป็นแบบนี้ทุกคาบ เมื่อเรียนวิชาภูมิศาสตร์กายภาพก็จะทำให้รู้ได้ทันทีว่าเราชอบภูมิศาสตร์หรือไม่ชอบภูมิศาสตร์ วิชาภูมิศาสตร์กายภาพเรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของโลก ทั้งส่วนที่เป็นธรณีภาค อากาศภาค อุทกภาค และชีวภาค รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับมนุษย์ และศึกษาภาคสนาม
เมื่อพูดถึงภาคสนาม การภาคสนามถือเป็นหัวใจหลักของนักภูมิศาสตร์ เพราะห้องเรียนของนักภูมิศาสตร์ คือ โลก ดังนั้นการที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาจริงถือเป็นหัวใจหลักในการศึกษา ภาคสนามสอนอะไรหลายอย่าง อย่างเช่น การวางแผน ก่อนภาคสนามจะมีการนัดประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีตั้งแต่คนจดเข็มไมล์ คนทำบัญชีการเงิน ผู้บรรยายความรู้ คนถือกระเป๋าพยาบาล คนจัดการเอกสาร คนขนน้ำดื่ม คนเช็คชื่อ คนสั่งข้าว คนสั่งขนมเปี๊ยะ และคนทำความสะอาด


ทุกคนล้วนมีหน้าที่ เมื่อถึงวันภาคสนามทุกคนก็จะพร้อมกันริมบึงหน้าตึกคณะนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ขึ้นรถที่ประจำทุกครั้งที่ภาคสนาม เมื่อรถมาทุกคนก็ต่างทยอยขึ้นรถคนเช็คชื่อก็เช็คไป คนแจกน้ำแจกข้าวก็แจกไป ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตน พอถึงเวลา 06.00 น. รถก็เริ่มออกเดินทาง ขอบอกไว้ว่าใครมาไม่ทันก็ต้องโดนทิ้ง เมื่อรถเริ่มออกทุกคนก็ตั้งหน้าตั้งตาถ่ายภาพข้างทาง และจดทุกรายละเอียด จดตั้งแต่สิ่งที่อาจารย์บรรยาย หลักกิโลที่เท่าไร ถึงเขตอำเภอนี้ จังหวัดนั้นกี่โมง ภูมิประเทศเป็นอย่างไร ทำไมคนถึงสร้างบ้านแบบนี้ ทำไมต้องสร้างสะพาน ดินถล่มได้อย่างไร ทำไมแถวนั้นถึงไม่มีต้นไม้ขึ้น ทำไมตรงนั้นมีต้นไม้เพียงชนิดเดียว ถ้าถมดินแบบนี้จะมีผลกระทบอะไรบ้าง ทุกอย่างที่เห็นคือภูมิศาสตร์
นอกจากที่กล่าวมา ยังมีอีกมากมายที่ยังเล่าไม่หมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาคสนามในรายวิชาอื่นๆ เช่น ดูเงาะป่าซาไกในรายวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ เก็บฟอสซิลเก็บหิน ในวิชาธรณีวิทยา การลงพื้นที่ประสบภัยทางธรรมชาติในวิชาภัยธรรมชาติ การส่องกล้องในวิชาการสำรวจในสนามทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการภาคสนามใหญ่ 4 ชั้นปี การรับเสื้อช้อป เป็นต้น 


ดังนั้นภูมิศาสตร์มีอะไรให้ค้นหาอีกมากมาย ภูมิศาสตร์คือ การผจญภัย ภูมิศาสตร์ต้องลุยป่าฝ่าดงลงห้วยขึ้นเขาหนีหมาตากฝนตากแดดลุยโคลน และพักโรงแรมเฮี้ยน! เพราะพวกเราคือ ภูมิศาสตร์ ถ้าไม่อึดถ้าไม่อดทนอยู่ไม่ได้


My summer part-time job in BKK: Kay, Eng. sophomore


Kay, the Eng. sophomore, has shared his part-time job experience in BKK during summer break. Every summer, he looks for an opportunity to work part-time and practice his Eng. He realizes that he's not good at English so the more he practices, the more he enhance English skills.


-------------------
ผม เค เอกอังกฤษ ปี 2 ครับ
การทำงาน Part-time นั้นให้อะไรเรามากมาย เริ่มแรกจากการฝึกงานของผม ผมคิดล่วงหน้าไว้ว่า งานที่จะไปทำนั้นมันต้องให้ประโยชน์เรากลับมา โดยเฉพาะทางด้านภาษา ซึ่งเป็นด้านของการศึกษาของผมอยู่แล้วด้วย ครั้งแรกนั้นผมตัดสินใจไปในทางด้านงานของการโรงแรม แต่ผมคิดว่าผมน่าจะลองหาอะไรใหม่ทำดูบ้าง เพื่อที่จะเป็นประโยชน์เมื่อถึงวันที่เราจะงานว่าเราได้เคยลองทำงานมาหลายแบบ หลายสายงาน และงานประเภทไหนเราชอบ และเหมาะสมสำหรับเรามากที่สุด
โดยปิดเทอมใหญ่ 2559 นี้ผมได้เลือกไปยังงานที่ผมไม่เคยได้ทำ นั้นคืองานที่ห้างเอ็มควอเทียร์ กทม. ผมอยู่ประจำ Lacoste บริษัทICC ซึ่งผมภูมิใจมากเพราะนี่คือศูนย์Lacosteที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเมื่อหน่วยงานจากฝรั่งเศสมาก็จะมาลงที่นี่ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้สัมผัสกับการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานกับฝรั่งโดยตรง ซึ่งหน่วยงานส่วนใหญ่นั้นเป็นชาวฝรั่งเศส เพราะนี่คือแบรนของฝรั่งเศส
ซึ่งผมอยู่ที่นี่ผมได้ทำงานในหลายๆอย่าง ทั้งงานเอกสาร งานขาย พรีเซ้นงาน เข้าบริษัท และอื่นๆอีกบางส่วนที่บางครั้งผมนั้นมีโอกาสได้ทำ และการได้ทำงานในห้างนี่ยังโชคดีอีกอย่างคือห้างแห่งนี้เป็นห้างที่ใหญ่มีชื่อเสียงและมีความนิยมสำหรับดารา นักแสดง คนที่มีชื่อเสียงมากมาย และที่มากตามที่ผมต้องการคือ ชาวต่างชาติ ซึ่งที่นี่ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติจากหลากหลายๆชาติ
การไปทำงานครั้งนี้สิ่งที่ได้มาอย่างเด่นชัดนั้นคือ ความเป็นผู้นำในหลายๆครั้ง ความกล้า กล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำสิ่งต่างๆ และที่แน่นอนคือเราได้ฝึกภาษา ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าที่นี่มีชาวต่างชาติจากหลายชาติ ดังนั้นเราต้องพร้อมที่จะฟังสำเนียงของภาษาอังกฤษของแต่ละประเทศ ที่ต่างกันออกไป และนอกจากฟังแล้วที่สำคัญคือเราต้องพูดให้เขาเขาใจที่เราพูดด้วย เพราะเราก็ไม่ใช่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเหมือนกัน (เราแปลกสำเนียงเขา อย่าลืมว่าเขาก็แปลสำเนียงเราเหมือนกัน) นี่ก็เป็นแนวคิดอีกแนวคิดนึงที่ทำให้ผมกล้าพูดกับชาวต่างชาติจากๆหลายๆชาติ และงานครั้งนี้ก็ทำให้ผมได้ฝึกภาษาในทุกๆวัน ซึงผมทำงานอยู่ที่นี่เป็นเวลา2เดือน ในระยะเวลา2เดือนนั้นผมแทบจะไม่หยุดงานเลย หากมันไม่เป็นจริงๆ เพราะอยู่ที่นี่แต่ละวันผมได้รับอะไรที่ท่าทายไม่ซ้ำกันแต่ละวัน สิ่งที่ท่าทายมากๆอย่างหนึ่งคือ แต่ละวันผมต้องตอนรับลูกค้าในหลายๆแบบ หลายๆอารมณ์ของลูกค้าผมต้องรับได้หมด เพราะลูกค้าแต่ละคนนั้นต่างมา ต่างหลายอารมณ์ ต่างนิสัย บางคนก็นิสัยดี คุยกับเราแบบดีๆ แต่บางคนก็สร้างความลำบากให้ผมมากมาย
หากพูดกันตรงๆคือ ลูกค้าบางคนนั้นดูถูกเราบ้าง ใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับเราบ้าง หลายๆครั้งมันทำให้ผมรู้สึกท้อแท้ และหงุดหงิดกับอารมณ์ของพวกเขา แต่นี่คือสิ่งหนึ่งที่ทดสอบได้ว่าเรามีความอดทนแค่ไหนในการทำงานในอนาคตที่บางครั้งมันอาจพบเจออะไรหนักกว่านี้
ความลำบากอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อถึงวันที่หน่วยงานลงพื้นที่ด้วยความที่ภาษาอังกฤษเราไม่แข็งแรงทำให้บางครั้งอาจสื่อสารกันไม่เข้าใจบ้างในช่วงแรกๆ บางครั้งก็ใช้ภาษามือกันไปบ่อยๆครั้ง ทำให้ผมเครียดมาก เพราะผมคิดว่าผมเรียนเอกภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยผมต้องพูดได้ แต่หลังๆก็โอเคมากขึ้นเพราะเราจำเป็นต้องพูดให้เขาเข้าใจ โดยครั้งหลังๆนั้นได้คุยกับหน่วยงานฝรั่งได้ครั้งละนานๆ ต่างจากที่ไปแรกๆที่ไม่กล้าเข้าไปคุยกับเขามาก เขาไม่ถามผมก็ไม่คุย แต่ระยะหลังเค้าไม่คุยผมก็อยากที่จะคุยกับเขา เพราะผมรู้สึกว่าผมได้อะไรใหม่ๆมาและภาษามันพัฒนาเร็วมากในการได้คุยกับพวกเขาในแต่ละครั้ง
หลังจากทำงานนี่เสร็จผมได้คำตอบสำหรับงานนี้ว่า นี่คืองานที่ดี ได้เงินเดือนค่อนข้างดี โดยครั้งนี้ผมได้เงินเดือน14,000บาท/เดือน และงานก็ไม่ได้เหนื่อยมาก อยู่ในเกณฑ์สบาย นี่คืองานที่ผมรู้ตัวเองว่ามันน่าจะไม่ใช่งานสำหรับผม อาจเป็นเพราะมันไม่ใช่งานที่ผมชอบมาตั้งแต่ต้นแล้ว
แต่ก็ถือว่างานที่นี่สอนอะไรผมอีกมาก งานที่นี่สอนให้รู้ว่า งานมันมีมากกว่างานที่้ราต้องเรียนรู้ มีทั้งเพื่อนร่วมงาน มีทั้งเจ้านาย มีอีกหลายๆอย่างทั้งที่ดีและไม่ดีให้เราได้เรียนรู้ ซึ่งงานนี้ผมเชื่อว่ามันจะทำให้ผมตั้งใจเรียนขึ้น เพราะตอนนี้ผมรู้ว่าไม่มีอะไรสบายเท่าตอนที่เรากำลังเรียนอยู่ และผมมีเป้าหมายกับตัวเองแล้วว่าจบปี2นี่ ภาษาผมต้องคล่อง
และหากผมมีโอกาสหรือเวลาว่างผมคิดว่าผมจะหางานใหม่ที่ผมไม่เคยทำทำอีก ผมคิดว่าผมจะทำมันทุกครั้งที่ผมมีเวลาเพียงพอ และผมหวังว่าวันนึงมันอาจจะมีงานที่ดีกว่าและทำให้ผมชอบกว่างานที่ผมเคยทำ
ผมจะหาประสบการณ์การทำงานต่อไปครับ


MY WAY of Enjoying Life: Film making volunteer





Wake-mode Way has spent her summer volunteering to help make a short film which's filmed in Songkhla.
Let's see how enjoyable it is that till now she still does it and becomes a good friend with Mr. Ryan.

------------------------
From the end of May, I have volunteered to support Ryan, a German-American filmmaker, who has made a short film of Songkhla. I knew him via Aj. Nok. After I had a group discussion with him, I was excited that he was going to do the film in my hometown, Songkhla city. I decided to help him whatever I could till now:)
He has taught me a lot. How to be - a translator - a interviewer - a co-director – to deal with local people - learn English – more importantly to HAVE A LIFE.
I learnt that to learn English I have to PRACTICE, PRACTICE and PRACTICE. Do it again and again. Well, I have to read English books every day, too, although I don't understand it clearly. He told me to just read it for fun! Reading is the best way to learn something. Yes. Books are food for brain.
In addition, I shouldn't be worried about the way I speak.
Sometimes I said something wrong, but I didn't stop speaking. I fixed it.
Ryan told me that nobody is perfect.
Everyone makes mistakes.
I have to convince myself " I CAN DO IT".


Okay guys, you are English major. We have a lot of chances to learn English. We can use English in daily life to speak with friends, teachers, or foreigners. To read novels, news, text books or something else.
Above all, don't be shy! Working with foreign friends, like I have done with Ryan grow my self-confidence. Now I don’t be afraid to speak English anymore. Thanks tons Mr. Ryan, my teacher out of class.

-----------------

18th IMT-GT Varsity Carnival Experience: Kamonchanok







สวัสดีค่ะ ฉันชื่อนางสาวกมลชนก  กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่สี่ วิชาเอกภาษาอังกฤษ 
จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการเข้าร่วมสัมมนาในงาน The18th IMT-GT Varsity Carnival 
ระหว่างวันที่ 26-30 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา 
งานนี้มีผู้เข้าร่วมจากมหาวิทยาลัยจาก 3 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย โดยมีกิจกรรม 3 ด้านใหญ่ๆ คือ ฝ่ายสัมมนา กีฬา และศิลปวัฒนธรรม โดยฉันได้เป็นหนึ่งในตัวแทนของการสัมมนา ในการสัมมนาแต่ละประเทศมี 4 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม รวมทั้งหมด เป็น 12 ทีม โดยแบ่งเป็นทีมๆละ 3คน ซึ่งแต่ละทีมก็มาจากหลากหลายสาขาวิชาเรียน ประสบการณ์ในทุกๆวัน ทุกๆกิจกรรมเป็นสิ่งที่น่าจดจำและยังสามารถนำกลับมาพัฒนาตัวเองได้เป็นอย่างดี

                เริ่มต้นตั้งแต่การนำเสนอในหัวข้อหลักที่ว่าThe Roles of Youth In The Future of ASEAN ทีมเราได้หัวข้อย่อยเกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งฉันยอมรับเลยว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากและไม่ค่อยถนัดเลย เพราะการสัมมนาครั้งนี้เป็นรูปแบบเชิงวิชาการทั้งการเขียนตัวเล่มและรูปแบบการนำเสนอ รวมถึงเวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างที่จะน้อยยอมรับตรงๆจากใจว่ารู้สึกกลัว เครียดกังวลและรู้สึกกดดันมากๆ แต่พอมาถึงวันนำเสนอเราสามคนก็พยายามเต็มที่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจบการนำเสนอมีการให้ตั้งคำถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พอได้ยินคำถามฉันถึงกับอึ้ง ไม่ใช่เพราะความยากของคำตอบแต่เป็นเพราะสำเนียงที่ฟังยากและเราเองก็ขาดการเตรียมตัว ประกอบกับเราไม่ค่อยคุ้นชิน ตื่นเต้น ประหม่า เมื่อยืนอยู่ ณ จุดๆนั้น ยิ่งเขายิ่งอธิบายยิ่งพาสับสน ทำให้ไม่สามารถทำความเข้าใจกับคำถามได้แต่สุดท้ายแล้วคำถามที่เขาถามมา หลังจบการนำเสนอที่เขามาพูดคุยกับทีมเราอีกครั้งคำถามนั้นถามว่าเราตอบได้ไหม ตอบเลยว่าได้แต่ขณะนั้นจำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าโดยการบอกเหตุผลที่เราไม่สามารถตอบคำถามเขาได้ สิ่งที่ประทับใจที่สุดในตอนนั้น ทุกคนต่างปรบมือให้กำลังใจทีมเรา เป็นภาพแห่งความทรงจำที่ดี 

ภาพรวมของการนำเสนอทุกๆกลุ่มน่ายินดีมาก โดยเฉพาะเพื่อนจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งเขาได้เปรียบเรื่องภาษาอังกฤษมากกว่าเด็กไทยอยู่แล้ว การนำเสนอ การทำงานเป็นทีมของเขายอดเยี่ยมและน่าจดจำเป็นตัวอย่าง ทุกทีมเต็มที่กับการนำเสนอ ผิดบ้างพลาดบ้างเป็นสิ่งธรรมดา แต่อยู่ที่เราจะนำมาปรับใช้อย่างไรนั้นเอง

กิจกรรมที่สร้างมิตรภาพทั้งสามประเทศได้ดีนั่นคือ การแบ่งกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่มโดยคละนักศึกษาจากทั้งสามประเทศในทีมเดียวกัน คราวนี้ถึงคราที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารอย่างเดียวกับเพื่อนต่างชาติและเพื่อนไทย ดูเป็นสิ่งที่สนุกและท้าทายมาก โดยเฉพาะตอนที่มีกิจกรรมเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในสงขลา แต่ละทีมมีภารกิจที่ต้องหาคำตอบและถ่ายรูปแต่ละสถานที่ที่ได้รับมอบหมาย ฉันมีความสุขมากในฐานะที่เราเป็นคนสงขลาคนหนึ่งอย่างน้อยๆเราก็สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับบ้านเราได้อย่างภาคภูมิใจ ในวันนั้นเรียกว่าได้ว่าเป็นไกด์จำเป็นโดยปริยาย แต่เป็นสิ่งที่เต็มใจทำ การได้เห็นเพื่อนๆต่างแดนมีความสุขเราก็สุขใจไปด้วยหลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ต้องกลับมาทำงานนำเสนอ 


ยิ่งฉันได้สัมผัสการทำงานของเพื่อนต่างชาติและเพื่อนไทยในแต่ละคน ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองยิ่งต้องพัฒนา เพราะเขามีทั้งความกระตือรือร้น ความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการออกแบบการนำเสนอที่แตกต่าง บางสิ่งบางอย่างเราเองก็แทบไม่เคยทราบมาก่อน เราทุกคนที่เข้าร่วมงานครั้งนี้อยู่ร่วมกันจนกระทั่งวันสุดท้าย ในวันนี้พิธีปิดปิดได้อย่างอลังการตระการตา การแสดงของแต่ละมหาวิทยาลัยทั้งสามประเทศงดงามยิ่ง เราทุกคนได้นั่งพูดคุย รับประทานอาหารเย็น จนถึงเวลาที่ต้องร่ำลา บางคนถึงกับร้องไห้เพราะผูกพันกับประเทศไทย การเข้าร่วมครั้งนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ในชีวิตซึ่งไม่รู้จะหาแบบนี้ได้อีกไหม ฉันได้เรียนรู้ในหลายๆด้าน ทั้งในตอนแรกที่ฟังสำเนียงเพื่อนต่างชาติแทบไม่ค่อยออกเลย แต่พอยิ่งร่วมกิจกรรมด้วยกันยิ่งฟังถนัด ง่ายต่อเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งยังได้ผูกมิตรไมตรีกับเพื่อนใหม่ ดีใจและมีความสุขมากๆ ความทรงจำครั้งนี้จะไม่ลืมเลือนไปจากใจ

                สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์นกที่ให้โอกาส ขอบคุณพี่สาที่คอยช่วยประสานงาน ขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ให้การสนับสนุน ขอบคุณผู้ร่วมทีมทั้งต้นและน้องกิ๊กที่ร่วมกันทำงานลุล่วงไปด้วยดี